ทราบหรือไม่ มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ ต้องทำเรื่องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และหากไม่วางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจจะทำให้ต้องเสียภาษีตามฐานภาษี 5% - 35% เลยก็ได้ แต่ถ้ามีสูตรการวางแผนภาษีที่ดีอย่างการคำนวณว่าในปีนี้เราต้องเสียภาษีเท่าไหร่ แล้วหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีเตรียมไว้ อาจจะทำให้ประหยัดภาษีได้หลักหมื่น หรือหลักแสนเลยทีเดียว
วันนี้ fintips by ttb ขอนำเสนอ รายการลดหย่อนภาษี ปี 2565 มีอะไรบ้าง สามารถอ่านครบ จบ ในที่เดียวได้เลย เริ่มจากพื้นฐานความรู้เรื่องการเสียภาษี ว่ารายได้เท่าไหร่จึงต้องเสียภาษี คำตอบคือ มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ทั้งปีตั้งแต่ 316,300 บาทขึ้นไป หรือประมาณ 26,359 บาทต่อเดือน แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นการ การันตีว่าการมีรายได้เท่านี้ต้องเสียภาษีเสมอไป เพราะในชีวิตจริงเราสามารถใช้ตัวช่วยลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เพื่อให้เราเสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลยได้ การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น สามารถยื่นแบบเอกสาร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 หรือจะยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ก็ได้เช่นกัน ซึ่งหากยื่นแบบออนไลน์จะสามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2566
ในกรณีที่ยื่นภาษีไม่ทันตามเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด สามารถยื่นภาษีย้อนหลังได้โดยต้องยื่นแบบกระดาษด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และต้องเตรียมเอกสารประกอบการยื่นแบบภาษี ได้แก่ แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90, หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี
โดยการยื่นภาษีย้อนหลัง ต้องชำระค่าปรับตามกำหนดตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่เกิน 2,000 บาท แต่สามารถขอลดค่าปรับได้ หากมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษีพร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ และหากไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเพียงค่าปรับตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากรอย่างเดียว
มาถึงตรงนี้หลาย ๆ คน อาจจะเห็นถึงความสำคัญ และสนใจเรื่องการลดหย่อนภาษีกันแล้ว ดังนั้น มาดูกันว่ารายการลดหย่อนภาษีในปี 2565 นั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
กลุ่มลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
กลุ่มประกัน และการลงทุน
- ระยะเวลาเอาประกัน 10 ปีขึ้นไป
- จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
- ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
- ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ และไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
- เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่อาศัย โดยเราต้องอาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย
- ต้องเป็นการกู้เพื่อซื้อ หรือสร้างที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง หรือกู้เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม
- ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ
- หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถรวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- กรณีกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน
- ซื้อสินค้า และบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หนังสือ (รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
- ใช้สำหรับการซื้อสินค้าในช่วงวันที่ 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 65
- ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเท่านั้น
กลุ่มเงินบริจาค
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีการวางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปี และหาตัวช่วยเพื่อลดหย่อนภาษีตามสิทธิ เช่น รายการด้านบน จะทำให้สามารถเสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลยได้
สุดท้าย !!! สำหรับผู้ที่ซื้อกองทุน SSF/RMF ในปี 2565 ซื้อกองทุนแล้ว อย่าลืม!!! แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้ บลจ. ที่ซื้อหน่วยลงทุนทราบ หากไม่แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อน ผู้ลงทุนจะเสียสิทธิในการลดหย่อนภาษี สามารถแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนผ่านธนาคารที่ซื้อหน่วยลงทุน โดยลงทะเบียนภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2565 สำหรับลูกค้า ทีทีบีดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://www.ttbbank.com/th/page/detail/mf-tax-amc
เพิ่มเติมข้อมูลความรู้ และเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ทั้งวันนี้และอนาคต ได้ที่ "fintips by ttb" เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจคลิก https://www.ttbbank.com/th/fin-tips-hm17 หรืออ่านบทความเต็มได้ https://www.ttbbank.com/th/fin-tips-tax65