ไม่มียุคใดที่ประเทศไทยมีการพัฒนาปฏิรูประบบคมนาคมขนส่งได้ก้าวหน้ามากเท่ายุคนี้ ทั้งรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟรางคู่ระหว่างเมือง รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง ทำให้ความต้องการวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรมีจำนวนสูงมาก ความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและภาคอุตสาหกรรมระบบรางจึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ และบ่มเพาะบุคคลากรเพื่อรองรับความต้องการและการพัฒนาประเทศ
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดย นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering)โดย รองศาสตราจารย์ ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมกันบูรณาการความร่วมมือครอบคลุมด้านการศึกษา ด้านการวิจัยพัฒนา ด้านการฝึกงานของนักศึกษา เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของประเทศไทย และสร้างความยั่งยืนให้ระบบรางของประเทศต่อไป โดยมี นายสุมิตร ศรีสันติธรรม ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ รองศาสตราจารย์ ดร. ธนภัทร์ วานิชานนท์ รองคณบดีฝ่ายการจัดการทุนมนุษย์ และองค์กรสัมพันธ์ และพร้อมคณะอาจารย์ และผู้บริหารบริษัทฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงจอดและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส คูคต
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 23 ปีที่ผ่านมา รถไฟฟ้าบีทีเอสนับเป็นระบบขนส่งมวลชนที่นอกจากให้บริการที่สะดวกสบาย และมีคุณภาพด้วยมาตรฐานสากล เป็นผู้นำในการให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ทันสมัย รวดเร็ว ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ ด้วยความเป็นเลิศในการให้บริการแล้ว เรายังให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาความก้าวหน้าทางวิศวกรรมขนส่งระบบราง และศักยภาพของบุคลากรคนรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง โดยสอดคล้องกับแนวนโยบายพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง และ Smart City ในประเทศไทย
รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากล มีวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็น World-Class Engineering และปัจจุบันได้รับการรับรองคุณภาพหลักสูตรการศึกษามาตรฐานโลกจากคณะกรรมการ Accreditation Board for Engineering and Technology หรือ ABET แห่งสหรัฐอเมริกา เปิดหลักสูตร ป.โท วิศวกรรมระบบขนส่งทางรางตั้งแต่ปี 2560 ดังนั้นความร่วมมือของสององค์กร ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ในครั้งนี้ ซึ่งมีระยะเวลา 5 ปี นับเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัยและบุคลากรสมรรถนะสูง สร้างเสริมวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง การพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยขอบเขตความร่วมมือกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน ดังนี้