งบประมาณด้านไอที — เมื่อประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday April 9, 2008 15:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--คอร์แอนด์พีค
บทความที่น่าสนใจ "'งบประมาณด้านไอที เมื่อประวัติศาสตร์ซ้ำรอย" จากฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์
ดูเหมือนว่าปี 2551 กำลังจะเหมือนกับเหตุการณ์เมื่อปี 2544 ไม่ผิดเพี้ยน ถ้าคุณจำเหตุการณ์ในปี 2544 ได้ ในตอนนั้นถือเป็นปีทองของระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างมาก โดยมีอัตราเติบโตสูงมากกว่าปี 2542 ถึง 100% ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเติบโตของธุรกิจดอทคอมและการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ Y2K แต่แล้วในปลายปี 2544 อัตราการเติบโตดังกล่าวกลับลดลงเหลือ 38% และลดลงต่ำสุดในปี 2545 ที่ระดับ 26% เนื่องจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจของธุรกิจดอทคอม และหลังจากเหตุการณ์ Y2K ก็เริ่มมีการรวมระบบจัดเก็บข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ อย่าง Storage Area Network (SAN) ซึ่งช่วยให้ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบแยกต่างหาก (สแตนด์อะโลน) สามารถเชื่อมต่อกันและกันได้
เมื่อปีที่แล้ว เราได้เห็นการล่มสลายของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ และการขึ้นราคาของ น้ำมันเชื้อเพลิง และในปลายปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ด้านการเงินจากบริษัท โกลด์แมน แซคส์, บริษัท ยูบีเอส และบริษัท ซิตี้กรุ๊ป ต่างก็เริ่มเตือนนักลงทุนเกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านไอทีที่น้อยลงในปี 2551 และเมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าวรอยเตอร์สได้รายงานว่าบริษัท ฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช ได้ปรับลดระดับการเติบโตของการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีทั่วโลกในปี 2551 ว่าจะเหลือเพียง 1 ใน 3 โดยปัจจุบันบริษัท ฟอร์เรสเตอร์ได้คาดการณ์ว่าการซื้อเทคโนโลยีทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นราว 6% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 9% เมื่อกว่าสามเดือนที่แล้วดัชนีหลักทรัพย์ของตลาดหุ้นทั้งหมด ได้แก่ S&P 500, NASDAQ, NIKKEI 225, FTSE 100 และอื่นๆ ได้ลดลงอย่างมาก และดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะขาลงทางเศรษฐกิจอีกครั้ง
สถานการณ์ขาลงของเศรษฐกิจเคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 2544 ถึง 2545 ส่งผลให้รายได้ของอุตสาหกรรมด้านระบบจัดเก็บข้อมูลลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการลดงบประมาณด้านไอทีลง แต่โชคยังเข้าข้างอุตสาหกรรมนี้อยู่บ้าง ตรงที่ฝ่ายไอทีขององค์กรเลือกที่จะปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ของ Storage Area Network เพื่อรวมระบบจัดเก็บข้อมูลของพวกเขาที่มีขนาด 1 หรือ 2 เทราไบต์ เข้ากับระบบที่ใหญ่กว่า ซึ่งมีขนาด 10-20 เทราไบต์ ในลักษณะการเชื่อมต่อแบบ SAN ที่สามารถต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ได้หลายเครื่อง สถานการณ์เศรษฐกิจขาลงนี้ ยังช่วยให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยี FC SAN ได้อย่างไม่น่าเชื่อ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะต้องมีการลงทุนใหม่ในโครงสร้างพื้นฐาน SAN และการเดินสายเคเบิลของศูนย์ข้อมูลใหม่ แต่ข้อดีของการรวมระบบเข้าด้วยกันในลักษณะของเครือข่าย SAN ก็ให้ประโยชน์คุ้มค่ากว่าค่าใช้จ่ายที่เสียไป นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลยังพบว่าด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ช่วยให้พื้นที่ใช้สอยของศูนย์เริ่มมีที่ว่างเพิ่มขึ้น 1 ใน 4 ถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด และในช่วงเวลาดังกล่าวนั่นเองที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ มีรายได้และส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากอะเรย์ระบบจัดเก็บข้อมูล Lightning 9900 ที่ใช้สถาปัตยกรรมครอสบาร์สวิตช์ ทำให้เราสามารถใช้แทนที่อาร์เรย์บัสแบบใช้ร่วมกันของคู่แข่งได้มากถึง 6-8 ชุด ภายใต้ความมีประสิทธิภาพและการเชื่อมต่อที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานั้นการอัพเกรดระบบที่มีขนาด 1 และ 2 เทราไบต์เข้ากับระบบใหญ่โดยตรงจะต้องหยุดการทำงานของแอพพลิเคชั่นไว้ก่อนจึงจะสามารถดำเนิน การได้
แนวทางดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน เนื่องจากขณะนี้ระบบจัดเก็บข้อมูลมีขนาด 20, 40, 100 เทราไบต์ หรือมากกว่านั้น ที่ต่อเข้ากับแอพพลิเคชั่นนับสิบนับร้อยแอพพลิเคชั่นผ่านทางเครือข่าย SAN ดังนั้น การรวมระบบจัดเก็บข้อมูลเข้าด้วยกันจึงจะต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ไปหยุดการทำงานของแอพพลิเคชั่นหรือต้องส่งผลกระทบน้อยที่สุด วิธีเดียวที่ทำได้ก็คือจะต้องดำเนินการผ่านระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง (Storage Virtualization) ซึ่งนี่คงถึงเวลาที่เหมาะสมสำหรับของเทคโนโลยีเสมือนจริงแล้ว
ปัจจุบันการรวมระบบจัดเก็บข้อมูลเข้าด้วยกันไม่เพียงพออีกแล้ว เพราะเมื่อรวมแล้วก็จะต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้เพิ่มมากขึ้นด้วย การรวมระบบ 4 หรือ 5 ระบบที่มีการใช้ประโยชน์ 20% เข้ากับระบบขนาดใหญ่กว่าที่มีการใช้ประโยชน์ 20% นั้น สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและลดการใช้พลังงานได้บางส่วน ดังนั้น ระบบเสมือนจริงที่มีการจัดสรรพื้นที่ของระบบการจัดเก็บข้อมูลให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างเพียงพอและทันเวลา (Thin Provisioning) จึงเป็นที่ต้องการเพื่อที่จะช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์ระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ได้มากขึ้น นอกจากนี้ เรายังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูลได้ด้วยวิธีการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล บีบอัดข้อมูล เก็บข้อมูลไว้แค่ตัวอย่างเดียว และทำการคัดลอกเมื่อเขียน รวมทั้งแยกเก็บข้อมูลที่มีการเข้าถึงน้อยครั้งออกไปไว้ต่างหาก ซึ่งช่วยลดชุดการทำงานของข้อมูลเมื่อต้องค้นหา สำรอง และคัดลอก เทคโนโลยีทั้งหมดนี้มีพร้อมใช้งานแล้วในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเราได้ในกรณีที่เกิดสถานการณ์เศรษฐกิจขาลง และแม้ว่าจะไม่เกิดสถานการณ์ดังกล่าวขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ก็จะช่วยเราให้เตรียมพร้อมรับมือกับคลื่นลูกใหม่ของการเติบโตอย่างมหาศาลของข้อมูลได้ โดยในอีกห้าปีข้างหน้า เชื่อว่า เพตาไบต์ จะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และจะมีบริษัทขนาดใหญ่บางแห่งที่จะมีระบบจัดเก็บข้อมูลในระดับเอ็กซาไบต์ (Exabyte : 1024 เพตาไบต์ = 1 เอ็กซาไบต์)
บริษัท ไอดีซี ยังคงเชื่อว่าความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลจะเพิ่มขึ้น 60% ในปี 2551 พวกเขาเชื่อว่า “ประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูลจะเป็นประเด็นสำคัญตลอดปี 2551 และอุตสาหกรรมจะให้ความสนใจไปที่ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเสมือนจริงและแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเทคนิคการรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน อย่าง การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เป็นต้น”
ปี 2551 กำลังจะเกิดเหตุการณ์ที่คล้ายกับปี 2544 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เรามีเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยเรารับมือได้อย่างดี รวมทั้งยังช่วยให้เราสามารถเตรียมพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลในอนาคตได้ด้วย
เกี่ยวกับผู้เขียน:
นายฮิว โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นผู้ให้มุมมองด้านอุตสาหกรรมและแนวทางที่ดีที่สุดเกี่ยวกับระบบจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งนำเสนอโซลูชั่นที่สามารถใช้ได้จริง ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการในระบบจัดเก็บข้อมูลปัจจุบันได้ นายโยชิดะ เป็นที่รู้จักกันดีในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูล และเมื่อเร็วๆ บล็อกของเขาก็ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “สิบอันดับบล็อกที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด” ของอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลโดยเน็ตเวิร์คเวิลด์ นอกจากนี้ ในปี 2549 เขาได้รับยกย่อยให้เป็น “ซีทีโอแห่งปี” โดย Jon Toigo และในเดือนตุลาคม 2549 ไบต์แอนด์สวิตช์ ก็ได้ยกย่องให้เขาเป็นหนึ่งใน "ผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านเครือข่ายระบบจัดเก็บข้อมูล"
เยี่ยมชมบล็อกของฮิว ได้ที่: http://blogs.hds.com/hu/
สื่อมวลชน สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น
บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด
โทร. 02 439 4600 ต่อ 8300
อีเมล์ srisuput@corepeak.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ