ในวันที่ 13 มกราคม 2566 นายภูนัช ธนาเหล่าพานิช นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ (ตอนบน) ได้หารือสถานการณ์แรงงานในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการจังหวัดเชียงใหม่ กับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ ว่ามีความต้องการแรงงานในตำแหน่งแม่บ้านโรงแรม พนักงานต้อนรับ และภาษาต่างประเทศ ที่ขาดแคลนเป็นการเร่งด่วน ซึ่งในขณะนี้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ได้มีการจ้างงานตามสถานการณ์วิถีใหม่หลังวิกฤตโควิด 19 จ้างแบบชั่วคราวไม่ประจำ
สมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ (ตอนบน) ได้ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ และภาคการศึกษา ได้สนับสนุนผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมให้แรงงานใหม่ เข้าสู่ตลาดแรงงาน และแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงาน มีคุณภาพพร้อมรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ ได้ประสานข้อมูลตำแหน่งงานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ มีตำแหน่งงานว่างในเดือน ธันวาคม 2565 ทั้งสิ้น 1,913 อัตรา
ตำแหน่งงานที่นายจ้างมีความต้องการจ้างงานมากที่สุด คือ ตำแหน่งอาชีพงานพื้นฐาน จำนวน 1,156 อัตรา รองลงมาคือตำแหน่ง พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด จำนวน 280 อัตรา และตำแหน่งเสมียน/เจ้าหน้าที่ จำนวน 237 อัตรา ในส่วนของการบรรจุงาน ในเดือนธันวาคม 2565 มีผู้สมัครงานทั้งสิ้น 166 คน ตำแหน่งงาน ที่ได้รับการบรรจุมากที่สุด คือตำแหน่ง ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 56 คน รองลงมา คือ ตำแหน่งอาชีพงานพื้นฐาน จำนวน 41 คน ตำแหน่ง พนักงานเสมียน เจ้าหน้าที่ จำนวน 28 คน และ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เตรียมแผนการรองรับสถานการณ์การว่างงาน และรองรับแรงงานใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานซึ่งเป็นนิสิต นักศึกษา ที่จะจบการศึกษาในปี 2566 ราว 1,600 คน เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงานด้านธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ใน 2 ภารกิจหลัก รวมจำนวน 10,161 คน และมีแผนพัฒนากำลังคนจังหวัดเชียงใหม่ด้านอุตสาหกรรมธุรกิจบริการ ปี พ.ศ. 2566 - 2570 จำนวน 7,648 คน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 17,809 คน
โดยในด้านส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ร่วมมือกับภาคศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินการฝึกอบรมแล้วในหลักสูตรพนักงานผสมเครื่องดื่ม ระหว่างวันที่ 13 - 16 ธันวาคม 2565 จำนวน 20 คน โดยร่วมกับวิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการเชียงใหม่ และมีแผนดำเนินการฝึกอบรมภาษาจีนให้กับนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ จำนวน 30 คน ในวันที่ 25 - 31 มกราคม 2566 และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 30 คน วันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2566
ทั้งนี้ ในส่วนภาคเอกชนได้ประสานงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ ชมรมแม่บ้านโรงแรม สมาคมท่องเที่ยวฮาลาลไทย และสมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ จัดฝึกอบรมให้แรงงานในสถานประกอบการ โดยดำเนินการแล้วในหลักสูตรพนักงานต้อนรับส่วนหน้า จำนวน 20 คน ระหว่างวันที่ 22- 30 พฤศจิกายน 2565 โดยร่วมกับสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ และ มีแผนดำเนินการใน หลักสูตรผู้ประกอบอาหารฮาลาล จำนวน 30 คน ระหว่างวันที่ 23 - 26 มกราคม 2566 ร่วมกับสมาคมท่องเที่ยวฮาลาลไทย หลักสูตรแม่บ้านโรงแรม ให้ผู้ว่างงาน ป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน จำนวน 30 คน ระหว่างวันที่ 24 - 27 มกราคม 2566 และหลักสูตรภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในงานบริการ ให้กับแรงงานในสถานประกอบกิจการด้านโรงแรม จำนวม 30 คน ระหว่างวันที่ 26 - 3 กุมภาพันธ์ 2566 โดยร่วมกับสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ และชมรมผู้บริหารงานแม่บ้านโรงแรมเชียงใหม่ในส่วนของการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงาน มีแผนการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงานในสาขาพนักงานผสมเครื่องดื่ม ระดับ 1 ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จำนวน 142 คน ในวันที่ 26 - 27 มกราคม 2566 และในด้านการกำกับดูแลศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงาน จำนวน 17 แห่ง ได้มีการกำชับให้ดำเนินการในสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการ โดยมีผลดำเนินการแล้ว รวม 158 คน และมีแผนดำเนินการอีกจำนวน 500 คนในอีกภารกิจหนึ่ง
ด้านส่งเสริมสถานประกอบการการดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตาม พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ได้ ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของตน รวม 79 แห่ง จำนวน 9,171 คน ในส่วนหน่วยงานภาครัฐ สพร.19 เชียงใหม่ ร่วมกับหน่วยงานในเครือข่ายอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.) ตามแผนพัฒนากำลังคนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2566 - 2570 ประเด็นการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เน้นคุณค่าที่ปรับตัวตามสถานการณ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น จำนวน 7,648 คน