บมจ.โรงพยาบาล อินเตอร์เมดิคัล แคร์ แอนด์ แล็บ ("IMH") เดินเกมรุก ผุดเมกะโปรเจค บนพื้นที่ดินเกรดเอ ย่านแบริ่ง โดยผนึกกำลังกับ "พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์" อดีตนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ปูทางสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง สู่ การลงทุนเมกะโปรเจคยักษ์ ภายใต้ชื่อ "IMH Medical Hub" ยาน BTS แบริ่ง กว่า 12 ไร่ พร้อมส่งซิกจ่อเจรจาระหว่างเจรจากับ พาร์ทเนอร์ระดับโรงพยาบาล เบอร์ต้นๆ เข้าร่วมลงทุน - แบ่งกำไร หวังดัน "IMH" ติด TOP 3 กลุ่ม รพ.ชั้นนำของประเทศ
ดร.สิทธิวัตน์ กำกัดวงษ์ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มโรงพยาบาลอินเตอร์เมดิคัล แคร์ แอนด์ แล็บ ("IMH") เปิดเผยว่า ทางกลุ่มฯ ได้เตรียมปรับโครงสร้างกลุ่ม โดยแชร์ทรัพยากรร่วมกัน (synergy) ภายในกลุ่ม IMH ซึ่งประกอบด้วย (1) โรงพยาบาลอินเตอร์เมดฯ (2) โรงพยาบาล IMH ธนบุรี (3) โรงพยาบาล มเหสักข์ ย่านสีลม ที่เพิ่งซื้อกิจการเข้ามาใหม่ เพื่อปูทางสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งไปสู่ การลงทุนเมกะโปรเจคใหม่ ภายใต้ชื่อ "IMH Medical Hub" ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ กลางปี 2568 นี้ สู่การ ปูทางเพื่อก้าวเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจโรงพยาบาล TOP 3 ในกลุ่มรพ.ชั้นนำของปะเทศ
โดยล่าสุด กลุ่มโรงพยาบาล IMH ได้ลงนามในสัญญาเช่าพื้นที่ระยะยาว 30 ปี (ต่อได้อีก 30ปี รวม60ปี) ที่ดินเกรดเอ 12 ไร่ ติดสถานีรถไฟฟ้า BTS แบริ่ง (สายสุขุมวิท) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้นปี 2566 นี้ IMH จะเริ่มพัฒนาที่ดินแปลงนี้ ร่วมกับ กลุ่มคุณ พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ อดีตนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และ ประธานกฎบัตรไทย ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จในวงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพัฒนา เมกะโปรเจคใหม่ ภายใต้ชื่อ "IMH Medical Hub" ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 phase ดังนี้
โดย Phase 1 คาดว่า จะเปิดให้บริการในครึ่งปีหลังของปี 2568 ประกอบด้วย 1) โรงพยาบาล IMH แบริ่ง ขนาด 200 เตียง รองรับคนไข้เงินสด และสิทธิประกันสังคม (2) อาคาร Retail space (3) ศูนย์แพทย์เฉพาะทาง & Wellness Center
ส่วน Phase 2 คาดว่าจะเปิดให้บริการ ปี 2571 ประกอบด้วย1) โรงพยาบาล IMH International ขนาด 400 เตียง รับคนไข้เงินสด และต่างชาติ และ 2) ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยและกายภาพบำบัด
ทั้งนี้ ดร.สิทธิวัตน์ กล่าวเพิ่มเติม สำหรับ เมกะโปรเจค "IMH Medical Hub" มีจุดเด่นคือ (1) ที่ตั้งโครงการมีศักยภาพสูง และพื้นที่มีขนาดใหญ่ถึง 12 ไร่ จึงสามารถจะขยายธุรกิจทางการแพทย์ได้หลากหลาย และดึงดูด พาร์ทเนอร์ที่มีประสบการณ์ มาร่วมลงทุน-แบ่งกำไร ทำให้ธุรกิจแต่ละส่วนในพื้นที่โครงการ อยู่แบบพึ่งพิงกันได้อย่างครบวงจร ซึ่งจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนไข้เข้ามาใช้บริการในหลายรูปแบบ และ สามารถ cross -sell บริการต่าง ๆ ในโครงการได้เป็นอย่างดี ทำให้ได้เปรียบโรงพยาบาลอื่น ๆที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ ซึ่งทำให้การขยาย รพ. เป็นไปได้ยาก
(2) ที่ตั้งโครงการ อยู่ติด BTS แบริ่ง ไป-มาสะดวก สามารถรับคนไข้ได้ทั้งกรุงเทพ และสมุทรปราการ พร้อมที่จอดรถ กว่า 800 คัน และโครงการนี้ยังได้รับการ refer ฐานลูกค้าจาก รพ.อื่น ในเครือ IMH อีกด้วย
(3) การระดมลงทุนสำหรับโครงการนี้ เน้นการลงทุนทีละเฟส โดยใช้เงินทุนหมุนเวียน และเงินกู้จากสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบัน กลุ่ม IMH อยู่ระหว่างเจรจากับพาร์ทเนอร์ที่มีประสบการณ์ เช่น โรงพยาบาลเบอร์ต้นๆ ของประเทศ มาร่วมลงทุน-แบ่งกำไร ซึ่ง IMH จะได้รับส่วนแบ่งกำไร ตามส่วนธุรกิจที่พาร์ทเนอร์ เข้ามาลงทุน เพื่อรับรู้รายได้เร็วและคืนทุนเร็ว
(4) ทางด้านการแพทย์และจัดหาบุคลากรวิชาชีพ นั้น กลุ่ม IMH ได้มอบหมายให้ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย กรรมการ และ ประธานที่ปรึกษาของกลุ่มรพ.ฯ ผู้มีประสบการณ์ด้านการแพทย์/สาธารณสุข และปัจจุบันเป็น นายกแพทยสมาคมฯ เป็นผู้ดูแล ให้มีแพทย์และวิชาชีพ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและมีประสบการณ์สูง ให้เพียงพอกับจำนวนคนไข้ที่เพิ่มมากขึ้น
(5) ทางด้าน Retail space นั้น กลุ่ม IMH ได้มอบหมายให้ คุณบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร กรรมการกลุ่มรพ.ฯ ที่มีประสบการณ์ด้านการค้าการพาณิชย์ เป็นผู้ดูแล โดยเบื้องต้น IMH จะให้เช่าพื้นที่ Retail space ซึ่งอยู่ใกล้สถานที่รถไฟฟ้า BTS แบริ่ง ที่มีคนเข้า-ออกเป็นจำนวนมากทุกวัน จะออกแบบให้เป็นพื้นที่ Retail Mall จำหน่ายสินค้า/บริการ เกี่ยวกับสุขภาพทุกประเภท ตั้งเป้าให้เป็น Organic Market Place ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ และ จะเปิดให้บริการได้ทันที ระหว่างการก่อสร้างโรงพยาบาล โดยใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดินในส่วนที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง เพื่อให้เกิดการทำรายได้สูงสุด
"สำหรับรายได้ของ เมกะโปรเจค "IMH Medical Hub" ได้ตั้งเป้าไว้แตะ ระดับ 5,000 ล้านบาท ใน 5 ปี ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางนโยบายของภาครัฐ ที่จะดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ในระยะใกล้นี้" ดร. สิทธิวัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
ด้านนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า แนะนำ "ซื้อ" โดยได้ปรับมูลค่าพื้นฐานเป็น 21.60 บาท ที่ PER เพียง 11.3 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยกลุ่ม รพ. ที่ 24.2 เท่าโดยมีมุมมองเป็นบวกต่อผลการดำเนินงาน ในปี 66 ขณะที่ปี 67 ยังเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งจะรับรู้รายได้จาก รพ.มเหสักข์เต็มปี และยังมี Upside Potential ที่ยังไม่รวมในประมาณการจากแผน M&A รพ. เพิ่มอย่างต่อเนื่อง และแผนสร้างรพ.ใหม่ (เมกะโปรเจค IMH Medical Hub)