กรุงเทพฯ ประเทศไทย - เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (Thailand) หรือที่รู้จักกันในนาม HILL ASEAN Thailand สถาบันวิจัยที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับ "การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย" ทุก ๆ สองเดือน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 2020 ได้จัดกิจกรรมสัมมนาเปิดบ้านต้อนรับสื่อมวลชนและรูปแบบออนไลน์ ในหัวข้อ "เจาะลึก 6 บุคลิกนักช้อปไทย และ Brand Recommendation ที่โดนใจในปี 2023"
ซึ่งภายในงานนี้เอง คุณธีรเมศร์ นิติจรรยาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ HILL ASEAN Thailand ได้กล่าวถึง บทสรุปของปี 2022 ที่ได้จากผลสำรวจของสถาบันว่า 'ในปี 2022 ที่ผ่านมา จะสามารถแบ่งแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายของคนไทยได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามช่วงเวลา ต้นปีคือ Break การใช้จ่ายโฟกัสแต่ของจำเป็น กลางปีคือ Heal ฮีลใจตนเองจากความเหนื่อยล้า มีแนวโน้มช้อปแบบฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้น และปลายปีคือ Splurge กลับมาใช้ชีวิตอย่างเต็มที่มูฟออนจากโควิดอย่างเต็มตัว' ถึงแม้ว่าแนวโน้มนี้จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ แต่เมื่อดูผลลัพธ์จากการสำรวจนั้น จะทำให้เห็นว่าระดับคะแนนความต้องการใช้จ่ายสูงขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2022 แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีมุมมองที่เป็นบวกกับการใช้จ่ายถึงแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์โควิดหรือเศรษฐกิจที่ลำบาก และเมื่อดูจากผลสำรวจล่าสุดของเดือนกุมภาพันธ์ 2023 คุณธีรเมศร์ ได้กล่าวถึงจุดที่น่าสนใจคือ 'เมื่อสิ้นปีการเฉลิมฉลองแบบจัดเต็มได้พาการจับจ่ายไปถึงจุดพีคในรอบ 3 ปี ทำให้ต้นปีมีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายโดยรวมลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนต่างจังหวัดในทุกภูมิภาคที่เราทำการศึกษานั้นมีคะแนนลดลง แต่ในทางกลับกันคนกรุงเทพฯ กลับยังคงกล้าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นจุดที่น่าสนใจว่า คนกรุงเทพฯมีความมั่นใจในเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มที่จะพร้อมใช้จ่ายในปีนี้มากขึ้น'
และในการสัมมนาครั้งนี้ มีหัวข้อหลักที่น่าสนใจคือ 6 บุคลิกนักของนักช้อปไทยที่สรุปได้ในปี 2022 โดยจากการศึกษาผลสำรวจตลอดปี 2022 ที่ผ่านมา ทำให้สถาบันสามารถแบ่งกลุ่มบุคลิกของนักช้อปไทยได้ 6 กลุ่ม ได้แก่
คุณพร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยการตลาดและวางแผนกลยุทธ์ HILL ASEAN Thailand ได้กล่าวปิดท้ายกิจกรรมสัมมนาในครั้งนี้ไว้ว่า "สถาบันของเราจะยังทำการศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยทุก ๆ สองเดือนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการปล่อยตัวข้อมูลการศึกษามาในหัวข้อ 'เปิดประเทศครั้งใหญ่ ในรอบ 3 ปี เมืองหลวงคึกคัก คนกรุงยิ้มได้ คนต่างจังหวัดยิ้มสู้' เพราะเราเชื่อว่าการช้อปปิ้งไม่ใช่แค่การจับจ่ายเพื่อซื้อสิ่งที่ต้องการใช้ แต่สามารถสะท้อนให้เห็น ไลฟ์สไตล์ คุณค่า และการเติมเต็ม emotional needs ที่แตกต่างกันไป สามารถใช้เป็นข้อบ่งชี้ที่ใช้คาดการณ์ว่า คนไทยต้องการใช้ชีวิต หรือมีชีวิตอย่างไรต่อไป และนี่คือ ความเป็นเอกลักษณ์ ของเรา ที่ใช้แนวคิดแบบ Sei-katsu-sha หรือการมองผู้คนแบบองค์รวม ไม่ใช่แค่พฤติกรรมการจับจ่ายเท่านั้น'
ติดตามผลสำรวจเพิ่มเติมได้ที่
Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND)