Lenovo ร่วมกับ AMD เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ของ InfoBrief หัวข้อ 'CIO Technology Playbook 2023' เพื่อเน้นย้ำถึงโอกาส ความท้าทายและข้อที่ควรตระหนักสำหรับ CIO ในระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในปัจจุบัน เพื่อช่วยในการลงทุนด้านไอทีอย่างแม่นยำ เอกสารจาก IDC ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Lenovo และ AMD เปิดเผยว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้องค์กรต่างๆ คาดการณ์ว่าภายในปี 2570 จะสามารถสร้างรายได้มากขึ้นถึง 43% จากผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าที่เชื่อมต่อกันด้วยดิจิทัล
CIO Technology Playbook เป็นการศึกษาจากเหล่า CIO และผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอทีกว่า 900 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (AP) ผลลัพธ์แสดงให้เห็นถึงความกังวลของ CIO ต่อเศรษฐกิจมหภาคที่ส่งผลต่อการเติบโตทางธุรกิจในปี 2566 และในช่วงต้นปี 2567 โดย 53% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่า 'อัตราเงินเฟ้อสูง' เป็นเรื่องน่ากังวลที่สุดในปี 2566 และครึ่งหนึ่งของ CIO ที่ตอบแบบสอบถาม (50%) จัดอันดับให้ "ราคาของพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น" และ "ราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น" เป็นความท้าทายที่สำคัญ
สุเมียร์ บาเทีย ประธานประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท Lenovo ISG กล่าวว่า "คาดการณ์ว่าปีนี้จะเป็นปีที่เผชิญกับความท้าทายด้านความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้นำด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญมากขึ้นกับการปรับปรุงกระบวนการการทำงานและนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านทรัพยากรและความคล่องตัวทางธุรกิจ ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อตลาดที่กำลังเติบโต ธุรกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ทันสมัย ด้วยบริการด้านระบบคลาวด์ของ Lenovo ISG ทำให้เรามีความพร้อมและมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจสมัยใหม่บรรลุความสำเร็จในด้านความยืดหยุ่นในการดำเนินงานที่มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
ปีเตอร์ แชมเบอร์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศญี่ปุ่น บริษัท AMD กล่าวว่า "เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำธุรกิจจะต้องเท่าทันเทรนด์ด้านเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถแข่งขันในสภาพแวดล้อมที่มีการเติบโตสูงในปัจจุบันได้ AMD เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงขององค์กรหลาย ๆ แห่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ 'CIO Technology Playbook 2023' ร่วมกับ Lenovo ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับ CIO และผู้นำธุรกิจอื่น ๆ ในด้านข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2566 ช่วยให้ผู้นำธุรกิจต่าง ๆ สามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีความพร้อมสำหรับอนาคตเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการขับเคลื่อนข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมเทคโนโลยีสำคัญต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์/แมชชีนเลิร์นนิ่ง ไฮบริดคลาวด์/มัลติคลาวด์ และโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูล เราหวังว่า CIO จะพร้อมรับมือกับการแข่งขันและสภาพทางธุรกิจที่มีความผันผวนในปัจจุบัน"
ข้อมูลจากการศึกษายังเผยอีกว่า ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีกำลังมองหาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพด้านซัพพลายเชนในองค์กร และปรับปรุงการใช้สินทรัพย์ ความคล่องตัว และความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เมื่อพูดถึงลำดับความสำคัญด้านธุรกิจ มี CIO ในภูมิภาคเอเชียถึง 36% ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการเติบโตทางด้านรายได้และผลกำไรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และ 32% ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและการประหยัดต้นทุนการดำเนินงาน
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ขับเคลื่อนผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสามารถช่วยให้ธุรกิจทำงานได้อย่างอัตโนมัติ ปรับปรุงกระบวนการทำงาน และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน 85% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเห็นด้วยว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ การมีเทคโนโลยีมัลติคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานเอดจ์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ CIO มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความซับซ้อนในการดำเนินงานด้านไอทีที่เพิ่มขึ้น และความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านการตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (DX) และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้มีความทันสมัย CIO ได้เรียกร้องให้มีการเตรียมความพร้อมทางด้านไซเบอร์ (อันดับที่ 1 หรือคิดเป็น 49% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชีย) และการจัดการระบบอัตโนมัติในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (อันดับที่ 2 หรือคิดเป็น 47% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชีย) เป็นลำดับความสำคัญสูงสุดในการลงทุนปี 2566
ให้ความสำคัญมากขึ้นกับเทคโนโลยีไฮบริด/มัลติคลาวด์สำหรับเวิร์คโหลดที่มีความสำคัญ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ได้ตระหนักว่าพับบลิคคลาวด์ไม่ได้มอบประสบการณ์และประสิทธิภาพการทำงาน หรือลดภาระค่าใช้จ่ายจากเวิร์คโหลดงานบนระบบคลาวด์ที่เพิ่มขึ้นได้ดีที่สุดเสมอไป อีกทั้งความความกังวลด้านความปลอดภัยได้กระตุ้นให้ 68% ขององค์กรในภูมิภาคอาเซียน+ ส่งเวิร์คโหลดงานจากพับลิคคลาวด์กลับไปยังไพรเวทคลาวด์และ/หรือดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ไฮบริดคลาวด์หรือมัลติคลาวด์มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชียในอีก 2 ถึง 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกว่า 50% จะยังคงดำเนินงานด้านเวิร์คโหลดที่สำคัญต่อภารกิจบนโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีอยู่ หรือบนระบบและแพลตฟอร์ม และโครงสร้างพื้นฐานไพรเวทคลาวด์ โดยไฮบริดหรือมัลติคลาวด์จะมอบประสิทธิภาพในระดับสูงสุดและเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของข้อมูลและมีการปฎิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
สร้างความตระหนักรู้ให้มากขึ้นและการนำโมเดล As-a-Service ที่ยืดหยุ่นเข้ามาใช้
การใช้โมเดลแบบ As-a-Service เป็นที่รู้จักและนิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เพื่อให้ก้าวทันกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูง และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์กรต่าง ๆ ใน AP ระบุว่าการหาเหตุผลในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการต้นทุนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของโครงสร้างพื้นฐาน As-a-Service โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้งานตามการบริโภคจะมอบความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการทำงาน ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินให้กับ CIO และสามารถนำไปลงทุนเพิ่มเติมในด้านนวัตกรรมทางธุรกิจได้ 85% ขององค์กรในภูมิภาคอาเซียน+ ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีในรูปแบบ As-a-Service ที่มีความยืดหยุ่นอยู่แล้ว หรือกำลังมีแผนที่จะนำเข้ามาใช้ในองค์กรภายใน 12 เดือนข้างหน้า
การจัดการข้อมูลแบบครบวงจรหมายถึงนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาแล้ว
การล็อกข้อมูลไว้บนคลาวด์แต่ละคลาวด์ (cloud silos) เป็นการขัดขวางความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของทุกองค์กร และนั่นหมายถึงเป้าหมายในทางธุรกิจ การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพต้องสามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลได้อย่างลื่นไหล มีความปลอดภัยสูง ตามการใช้งานที่แตกต่างกัน ในขณะที่การใช้งานแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ระหว่างกันมีมากขึ้นนั้น มีเพียงแค่ 8% ของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่านั้นที่ใช้แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลเพียงตัวเดียว และอีก 78% ขององค์กรใช้แพลตฟอร์มและระบบการจัดการข้อมูลหลายระบบ
แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลแบบครบวงจรนำเสนอการเคลื่อนย้ายข้อมูลที่ไร้รอยต่อผ่านระบบคลาวด์ที่หลากหลาย และรวบรวมข้อมูลข้ามคอนเทนเนอร์และเทคโนโลยี edge โดยแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลแบบครบวงจรที่ล้ำสมัยสำหรับการจัดการข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายจะเป็นรากฐานที่สำคัญของนวัตกรรมองค์กรไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่ง CIO ที่ลงทุนในแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีสำหรับบริหารจัดการข้อมูลที่กำลังขยายตัวได้อย่างเหมาะสมจะเป็นส่วนเสริมที่แข็งแกร่งในการสร้างความเป็นผู้นำในตลาด
การพัฒนาประสบการ์ของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ CIO
กลุ่มธุรกิจ เช่น การผลิต ค้าปลีก โลจิสติกส์ การขนส่ง และพลังงาน ต่างให้ความสำคัญกับการมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าเพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จในเศรษฐกิจดิจิทัล
เทคโนโลยี AI จะเป็นกระแสหลักในปี 2566: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้ากำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ CIO ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กว่า 88% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังใช้หรือวางแผนที่จะนำแอปพลิเคชั่น AI/ML มาใช้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ยังพบว่า 91% ขององค์กรมีการใช้งานหรือวางแผนที่จะใช้แอปพลิเคชั่นด้าน AI ในปีหน้า และจะมีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคอาเซียน+
องค์กรต่าง ๆ ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีการนำแอปพลิเคชั่นที่ขับเคลื่อนด้วย AI เข้ามาใช้กับการดำเนินงานและฟังก์ชั่นทางธุรกิจที่หลากหลายในอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยในภูมิภาคอาเซียน+ มีธุรกิจชั้นนำที่มีการนำเทคโนโลยี AI และ ML เข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านไอที การขายและการจัดจำหน่าย ไปจนถึงด้านการเงินและบัญชี
นวัตกรรม Edge จะเป็นด่านหน้าของเส้นทางสู่ดิจิทัล: มีการนำเทคโนโลยี edge ไปใช้งานอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชีย 88% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียมีการใช้งานหรือวางแผนที่จะใช้เทคโนโลยี edge computing ในการดำเนินธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ธุรกิจต่าง ๆ สามารถพัฒนาการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสินทรัพย์และปรับปรุงภาพรวมประสบการณ์ของลูกค้าผ่านเทคโนโลยี edge ขณะเดียวกันทำให้มั่นใจในความเสถียรได้มากขึ้น หนึ่งในหลาย ๆ รูปแบบการใช้งาน edge มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าแบบเรียลไทม์เพื่อให้ได้รับประสบการณ์อย่างครบถ้วน การควบคุมคุณภาพและแก้ไขงานแบบอัตโนมัติ และการติดตามสินทรัพย์ การใช้เครือข่ายดาวเทียมเพื่อระบุตำแหน่ง (geo fencing) และการบริหารจัดการ
การทำแบบสำรวจนี้จัดทำขึ้นผ่าน 12 ตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชีย รวมถึง อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ไทย, ฮ่องกง, มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
About Lenovo
Lenovo (HKSE: 992) (ADR: LNVGY) is a US$70 billion revenue global technology powerhouse, ranked #171 in the Fortune Global 500, employing 75,000 people around the world, and serving millions of customers every day in 180 markets. Focused on a bold vision to deliver smarter technology for all, Lenovo has built on its success as the world's largest PC company by further expanding into key growth areas including server, storage, mobile, solutions and services. This transformation together with Lenovo's world-changing innovation is building a more inclusive, trustworthy, and sustainable digital society for everyone, everywhere. To find out more visit https://www.lenovo.com, and read about the latest news via our StoryHub.
LENOVO, THINKSYSTEM, THINKAGILE, THINKSHIELD, NEPTUNE and TRUSCALE are trademarks of Lenovo. AMD, the AMD Arrow logo, EPYC, and combinations thereof, are trademarks of Advanced Micro Devices, Inc. All other trademarks are the property of their respective owners. (C)2022 Lenovo
เกี่ยวกับ AMD
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ AMD ขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งในส่วนของการประมวลผลกราฟฟิก และเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับวงการเกม เป็นแพลตฟอร์มระดับมืออาชีพ และเป็นศูนย์กลางข้อมูล ผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน องค์กรธุรกิจชั้นนำที่จัดอยู่ในกลุ่ม Fortune 500 และหน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทั่วโลก ต่างใช้เทคโนโลยีของ AMD เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต การทำงาน และความบันเทิง พนักงานของ AMD ทุกคนทั่วโลกล้วนมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะก้าวข้ามขอบเขตของข้อจำกัดทั้งหลาย ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AMD (NASDAQ: AMD) และกระบวนการสร้างสรรค์ต่างๆ ที่เราทำในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ที่เว็บไซต์ website, blog, Facebook และ Twitter