กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
“แนวโน้มเทคโนโลยีแห่งอนาคต คือ การทำให้เทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายต่อการนำไปใช้”คำกล่าวจาก ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น เราอาจจะนั่งจิบกาแฟใน
ร้านโปรดหรือรับประทานไปพร้อมๆ กับใช้เทคโนโลยีไว-ไฟเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการได้ทันที หรือฟังเพลงสุดฮิตจากไอพอด เครื่องเล่นเพลงเอ็มพี 3 หรือเลือกฟังผลการแข่งขันฟุตบอลนัดเมื่อคืนระหว่างขับรถมาออฟฟิศ เราต่างเกาะกระแสเหตุการณ์ หรือ ความคิดฝันเบื้องลึกของผู้คนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาพสวยๆ ของสมาชิกในครอบครัว และเพื่อนฝูงได้อย่างง่ายๆ ด้วยกล้องดิจิตอล ส่งผ่านระบบอีเมล์ ในขณะเดียวกันเพื่อนๆ ที่กำลังท่องราตรีก็สามารถส่งภาพ MMS ผ่านทางโทรศัพท์มือถือมาให้เราดูได้เช่นกัน
ในปี 2549 นี้ หลังจากที่เราสั่งซื้อหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ และเครื่องเล่นดีวีดีให้หลานสาวตัวจิ๋วผ่านระบบออนไลน์จากเว็บไซต์ของอะเมซอนดอทคอม หรือเลือกแชตเพื่อฟังข่าวในห้องแชต หรือท่องอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บกูเกิ้ล เอิร์ธ เพื่อค้นหาแผนที่บ้านของเราแล้ว เรายังสามารถสนุกกับการเล่นเกมส์แบบมัลติยูเซอร์ พร้อมๆ กับเพื่อนทางอินเตอร์เน็ต และใช้โทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต สไคป์ (skype) ไปหาเพื่อนๆ ที่ต่างประเทศได้ด้วย
ในมุมของผู้ใช้ทั่วไป การใช้อุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ เป็นเรื่องง่าย แถมยังสนุก และอินเทรนด์ สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ
แต่สำหรับองค์กร เทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานทั้งหมดขององค์กร การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นไม่เกี่ยวข้องกับการเกาะกระแสแฟชั่น หรือเลือกใช้เทคโนโลยีใดๆ เพียงชั่วครู่ชั่วยาม คำว่า “เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด” หรือ “เทรนด์แห่งอนาคต” สำหรับบรรดาซีไอโอ (ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี) ก็อาจกังวลถึงโปรเจ็คท์ใหม่ๆ ที่อาจมีปัญหาไอทีขัดข้อง การจัดหาทีมงาน และการประเมินค่าใช้จ่ายและการวัดผลที่ต้องคุ้มค่ากับการลงทุน
ในทุกวันนี้ เทรนด์ หรือ กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านไอทีขององค์กรจะมุ่งไปสู่ การทำระบบไอทีให้มีความเรียบง่าย สามารถเปลี่ยนหรืออัพเกรดระบบอย่างง่ายดาย และต้องวัดผลได้ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ทำได้ง่าย ไม่มีเรื่องยุ่งยากให้ปวดหัว สามารถนำไปใช้ได้ทันทีและราคาไม่แพง แต่กุญแจสำคัญของเทรนด์ทางเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีสำหรับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การรวมระบบเป็นหนึ่งเดียว (หรือ Consolidation)
การรวมระบบเป็นหนึ่งเดียว (Consolidation) - ฐานข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ และซอฟต์แวร์ ปี 2548 นับเป็นปีแห่งการเชื่อมโยงและรวบรวมระบบ ทั้งการรวบรวมข้อมูล (Data consolidation) การเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องแม่ข่าย (Server consolidation) และการควบรวมกิจการของบริษัทต่างๆ (Consolidation of companies) โดยในปี 2548 ที่ผ่านมา มีการเข้าซื้อและควบรวมกิจการของอุตสาหกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในทวีปยุโรป ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมากที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ (จากรายงาน “มาร์เก็ต วอตช์” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2548)
ในส่วนของเทคโนโลยีก็มีการเปลี่ยนแปลงที่เราสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน โดยในช่วงปลายทศวรรษ 90 ซึ่งเป็นยุคของอุตสาหกรรมด้านฮาร์ดแวร์ แต่ในปัจจุบัน เป็นยุคของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อาจสงสัยได้ว่า ทำไมการควบรวมซอฟต์แวร์จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน? อาจเป็นเพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงยุคบูมของกระแส dotcom เราได้เห็นผลิตภัณฑ์ประเภทซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นสำหรับกลุ่มผู้ใช้แต่ละกลุ่ม (niche) เข้าสู่ตลาดมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานในวงแคบๆ มีลูกเล่นหรือฟีทเจอร์นับร้อยๆ ซึ่งล้วนใช้โมเดลข้อมูล (data model) ที่แตกต่างกัน ปัญหานี้ก่อให้เกิดความยุ่งยากและในบางครั้งก็ยากที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ หรือซอฟต์แวร์ใด ซอฟต์แวร์หนึ่ง เพราะผู้ใช้อาจต้องตัดสินใจไม่ใช้ฟีเจอร์บางอย่าง เพื่อแลกกับสิ่งที่ต้องการใช้งานจริงๆ บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมถึงภาครัฐ ที่ต้องพบปะพูดคุยกับบริษัทจำหน่ายซอฟต์แวร์นับสิบบริษัท ล้วนต้องพบกับปัญหาความยุ่งยาก และการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ต่างๆ เหล่านี้เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ในราคาสูง
ความกดดันเหล่านี้ส่งผลให้ลูกค้าให้ความสนใจในการเลือกเฟ้นพันธมิตรที่สามารถนำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ และสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เหล่านี้จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้เห็นช่วงเวลาของยุคการ ควบรวมซอฟต์แวร์โซลูชั่นต่างๆ เนื่องจากลูกค้ามีข้อเรียกร้องให้ผู้จำหน่ายลดความยุ่งยากซับซ้อน (complexity) ลดการใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเฉพาะเจาะจงมากเกินไป (less customization) และลดต้นทุน
2549 ปีทองสำหรับการสร้างสถาปัตยกรรมแบบใช้งานได้ทันที (Hot-pluggable)แนวโน้มไอทีที่น่าจับตาอีกประการหนึ่ง คือ การทำให้ไอทีเป็นเรื่องง่ายขึ้น นั่นคือ การเคลื่อนไปสู่การใช้มาตรฐานสากล (common standard) หากจะให้กล่าวถึงแนวโน้มของไอทีปี 2549 แบบย่อๆ คงไม่พ้นเรื่องของ hot-pluggable เพราะนี่เป็นคำตอบสำหรับข้อกังวลต่างๆ ของซีไอโอทั้งหลาย เกี่ยวกับการติดตั้งวางระบบใหม่ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงาน เพราะประเด็นนี้จะช่วยบรรเทาข้อกังวลในการนำเทคโนโลยีไปใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม สถาปัตยกรรมแบบใช้งานได้ทันที หรือ hot-pluggable ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถมิกซ์และแมทช์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่เดิม และซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ของผู้จำหน่ายต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ แนวทางนี้ช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมโยงและขยายระบบต่างๆ ในแนวกว้างและลึกขึ้น ทั้งยังได้ใช้ประโยชน์จากการลงทุนด้านไอทีทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างคุ้มค่า Hot-pluggable เป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ทางเทคโนโลยีที่จะก้าวไปสู่ความเป็นมาตรฐานในการทำงานร่วมกัน (interoperability) และในปี 2549 คาดว่าคงจะได้เห็นการยอมรับและการใช้สถาปัตยกรรมนี้มากยิ่งขึ้น
กริดคอมพิวติ้ง (Grid Computing) เติบโตขึ้น
เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของกริดคอมพิวติ้ง จากดัชนี “ออราเคิล กริด” ล่าสุด (เดือนพฤศจิกายน 2548) ดัชนีการใช้กริดคอมพิวติ้งทั่วโลกขึ้นไปที่ระดับ 5.2 จาก 4.4 ในการสำรวจเมื่อเดือนเมษายน 2548 สำหรับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก 51% ของบริษัทที่ได้ทำการสำรวจการใช้กริด ปรากฎว่า ค่าดัชนีกริด เพิ่มขึ้นจาก 4.4 เป็น 4.9 โดยบริษัทเหล่านี้ได้ยอมรับว่าได้มีการนำกริดคอมพิวติ้งมาใช้งาน หรือเตรียมพร้อมที่จะใช้กริดคอมพิวติ้ง ทั้งนี้ อัตราการนำกริด คอมพิวติ้งในระดับองค์กรมาใช้ร่วมกับเซิร์ฟเวอร์อย่างเต็มพิกัดมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะมีการใช้กริดคอมพิวติ้งอย่างแพร่หลายในปี 2549
อย่างไรก็ตาม การใช้กริดไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะทำได้ เนื่องจากระบบฐานข้อมูลออราเคิล 10g ได้มีการกำหนดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นไว้ทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ผู้ใช้ระดับองค์กรเริ่มมีความเข้าใจและยอมรับประโยชน์ของเทคโนโลยีเสมือนจริง (virtualisation technologies) และการวางโครงสร้างระบบไอทีเพื่อรองรับการบริการ (service oriented architecture) สามารถช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่น และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ภายใต้การทำงานในรูปของเทคโนโลยีกริด ทั้งนี้ กริดเริ่มต้นจาการถูกนำไปใช้งานในองค์กรธุรกิจที่มีความซ้บซ้อน เช่น อุตสาหกรรมการเงิน และขยายไปสู่การทำงานในรูปของคลัสเตอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
RFID เทคโนโลยีรับส่งสัญญาณ รองรับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ งานด้านบุคลากร และโรงงานรหัสคลื่นความถี่วิทยุ หรือ อาร์เอฟไอดี (radio frequency identification : RFID) คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีการเติบโตอย่างเด่นชัดในปี 2548 ปัจจุบัน อาร์เอฟไอดีได้รับการพัฒนาให้เป็นชิปสำหรับใช้ติดตั้งบนสิ่งต่างๆ บริษัททุกขนาดใช้เทคโนโลยีส่งสัญญาณ เพื่อตรวจสอบสินทรัพย์ของบริษัทได้แบบอัตโนมัติ รวมทั้งใช้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิ การเคลื่อนไหว การกำหนดตำแหน่ง และสภาวะทางกายภาพอื่นๆ ทั้งนี้ ประโยชน์ที่แท้จริงของอาร์เอฟไอดี คือ การเชื่อมโยงข้อมูลสัญญาณเข้าไว้กับแอพพลิเคชั่นระดับองค์กร อาทิ ระบบบริหารจัดการสินค้า
คงคลัง ระบบคลังสินค้า และระบบการผลิต เพื่อสร้างความเป็นอัจฉริยะทางธุรกิจแบบเรียลไทม์
นอกเหนือจากการใช้งานเพื่อการพาณิชย์แล้ว เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดียังนำมาใช้งานด้านอื่นๆ อีกด้วย หน่วยงานด้านสาธารณสุขในภูมิภาคยุโรปเริ่มใช้ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อการติดต่อสื่อสารอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บริการผู้ป่วยได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้น อุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบเคลื่อนที่สามารถนำมาติดตั้งที่ตัวผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยได้ตลอดเวลาจากระยะไกล นอกจากนี้ เครื่องรับส่งสัญญาณยังสามารถตรวจหาการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปรากฏอาการเด่นชัดของระบบเผาผลาญในร่างกายและส่งข้อมูลที่ตรวจพบไปยังแพทย์ผ่านโทรศัพท์มือถือ สำหรับโครงการนำร่องการใช้ระบบอาร์เอฟไอดีอื่นๆ ได้แก่
การตรวจหาและกำหนดตำแหน่งของผู้ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด การตรวจสอบและติดตามการทำงานของเครื่องมือในห้องผ่าตัด เช่น การปลูกถ่าย การตรวจสอบกลุ่มเลือดโดยใช้ระบบอาร์เอฟไอดีที่วัดด้วยระดับอุณหภูมิ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการปลูกถ่ายร่องรอย และตรงตามมาตรฐานเกี่ยวกับขีดความสามารถและคุณภาพในการตรวจสอบการถ่ายถุงเลือด
มีบางคนเชื่อว่า การพูดคุยกับพืชจะทำให้พืชเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน พืชสามารพูดคุยกับมนุษย์ จากการศึกษาของหน่วยงานของรัฐในกรุงปารีสเกี่ยวกับวิธีการดูแลไม้ประดับที่ปลูกอยู่ริมถนนสายหลักของกรุงปารีส ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ต้นไม้ที่ปลูกบนท้องถนนในสภาพแวดล้อมแบบชุมชนเมืองต้องการการดูแลเอาใจใส่มากกว่าต้นไม้ที่ปลูกในฟาร์มและพื้นที่ชนบท ปัจจุบัน ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ริมถนนสายต่างๆ ในกรุงปารีสซึ่งมีอยู่รวมทั้งสิ้น 95,000 ต้นได้ติดชิปอาร์เอฟไอดี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมของนครปารีสสามารถรู้ตำแหน่งของต้นไม้แต่ละต้น และเข้าใช้ข้อมูลการดูแลรักษาตามข้อมูลวงจรชีวิตของต้นไม้แต่ละต้นได้อย่างถูกต้องผ่านโทรศัพท์มือถือ
เปรียบเทียบกับในอดีตที่ผ่านมาที่เจ้าหน้าที่ต้องออกไปเริ่มนับต้นไม้ที่ปลูกเป็นแถวยาวรวม 400 ต้นตั้งแต่จุดเริ่มต้น เพื่อหาต้นไม้ต้นที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน ต้นไม้สามารถพูดกับเจ้าหน้าที่ว่า “ฉันอยู่นี่จ้ะ”
เกี่ยวกับเทคโนโลยีการกำหนดความหมาย (Semantics Technology)
เทคโนโลยีการกำหนดความหมาย (semantics technology) มีแนวโน้มที่จะเป็นจริงได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซีแมนติดส์เว็บหรือในบางครั้งได้รับการขนานนามว่าเป็นระบบบริหารจัดการข้อมูลหลัก หรือเอ็มดีเอ็ม (master data management : MDM) มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบต่างๆ ทั้งนี้ ไอดีซีคาดการณ์ว่า ตลาดเอ็มดีเอ็มจะมีรายได้สูงถึง 10,400 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2552 สำหรับเอ็มดีเอ็มเป็นโซลูชั่นที่มุ่งสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ให้มีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า พันธมิตรหรือซัพพลายเออร์สที่ถูกต้องและมีมาตรฐานเดียวกัน โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่กระจัดกระจายทั่วองค์กรเข้าไว้ด้วยกัน และด้วยเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานเดียวกันจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้เทคโลยีดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จเป็นจริงได้
สำหรับปี 2549 ทิศทางใหม่ของเทคโนโลยีไอที คือ การพัฒนาระบบไอทีระดับองค์กรให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นและคุ้มทุนมากขึ้น ด้วยการผนวกรวมโซลูชั่นต่างๆ ไว้ด้วยกัน รวมทั้งมีการแบ่งปันการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูล และการเข้าใช้ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์โดยใช้ชิปรับส่งสัญญาณ ภายใต้หลักการของการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เป็นเวลานานหลายปี แต่ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ hot-pluggable ของออราเคิลในวันนี้ ทำให้ปี 2549 เป็นปีที่มีการผนวกรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีอันทันสมัยทั้งหมดอย่างครบวงจร
นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ๆ จากทั่วโลกทยอยเข้าสู่ประเทศไทยอย่างรวดเร็วมากกว่าที่เคยมีมา โดยปี 2549 จะเป็นปีที่น่าท้าทายอีกปีหนึ่งสำหรับออราเคิล องค์กรธุรกิจ และเทคโนโลยีแบบเฉพาะเจาะจงที่จะเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและไลฟ์สไตล์มากขึ้น
ท้ายที่สุดนี้ ผมขอให้ปี 2549 เป็นปีแห่งความสำเร็จของทุกท่านครับ--จบ--