เชื่อเหลือเกินว่าหลายๆคน คงยังไม่เคยทราบว่า SOA B-UNIT คืออะไร ตั้งมาเพื่ออะไร วันนี้เราจะพาทุกท่านไปส่องความเจ๋งของ SOA B-UNIT บริษัทจำลอง ของ DEKSOA SPU จากปากของ อาจารย์ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตย์กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ว่าบริษัทจำลองดังกล่าวมีอะไรกันบ้าง ตามมาฟังกันได้เลยครับ.
จุดเริ่มต้นของ B-UNIT By... SOA
อาจารย์ธีรบูลย์ : สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องบอกว่าเราไม่ได้เรียก SOA B-UNIT ว่าเอเจนซี่ แต่เราเรียกว่า Business B-UNIT ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2559 ด้วยความรู้สึกที่ว่า คณะการออกแบบและสถาปัตย์ฯ เป็นคณะที่เรียนอ้างอิงจากการทำงานจริง แต่ด้วยความที่งาน ที่เราเข้าใจว่ามันเป็นงานจริงๆคือเป็นงานสมมติที่อาจารย์เป็นคนตั้งโจทย์ขึ้นมา ดังนั้นคำถามของผมก็คือ เราจะทำยังไงให้นักศึกษาเรา ได้รับงานและทำงานจริง จากโจทย์จริงๆ ของลูกค้า ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดจริงๆ ได้ อย่างที่สองคือผมเห็นว่า ส่วนใหญ่นักศึกษาของเราทำงานระหว่างเรียนไปด้วย มันอาจเป็นการเสียโอกาสที่เขาไม่ได้ใช้ทักษะที่เรียนในการทำงาน ผมว่านี่คือโจทย์ที่เราตั้งขึ้นมาก่อน จัดตั้ง B-UNIT
ความตั้งใจของ B-UNIT กับการเรียนรู้ข้ามศาสตร์
อาจารย์ธีรบูลย์ : ความยากคืองานทางด้านสถาปัตย์ฯนั้น จำเป็นต้องใช้วิชาชีพที่เฉพาะทางเราจึง ต้องใช้คนที่มีทักษะเฉพาะด้าน เข้ามาทำงานบางส่วน ซึ่งต้องใช้นักสถาปนิกจริงๆเท่านั้น แต่ในส่วนงานอื่นๆที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะเฉพาะด้าน ในอนาคตก็จะมีการเปิดรับนักศึกษาข้ามคณะครับ ซึ่งเรามองว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในอนาคตแน่ๆ สำหรับการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ข้ามคณะ
B-UNIT รับทำงานอะไรบ้าง?
อาจารย์ธีรบูลย์ : เรามีสตูดิโอ 3 กลุ่ม ซึ่งแบ่งตามงานที่จะได้รับ
B-UNIT ทำงานกันยังไง?
อาจารย์ธีรบูลย์ : ภาพรวมในการทำงานของเราคือ เรามีเว็บไซต์ที่ให้ลูกค้าของเราทั้งกายในและภายนอกเข้ามาติดต่อกับเรา ซึ่งสามารถติดต่อผ่านเว็บไซต์หรือผ่านช่องทางส่วนตัวก็ได้ เมื่อได้รับงานจากลูกค้าก็จะมีอาจารย์สองท่านที่ทำหน้าที่เป็น Director คือ อาจารย์จรรยา ผลประเสริฐ และ ผศ.อานนท์ พรหมศิริ ซึ่งจะคอยดูว่างานที่ได้รับนั้นเหมาะกับทั้ง 3 กลุ่มสตูดิโอของเราอย่างโร ดูความต้องการของลูกค้า และเลือกนักศึกษาเข้ามารับชิ้นงานนั้นๆ จากนั้นถึงจะ ให้นักศึกษาเข้ามาร่วมพูดคุยกับลูกค้า พัฒนาผลงาน นำเสนองานจนเสร็จสิ้นกระบวนการและส่งมอบงานให้ลูกค้า
ความเจ๋งของการทำงานกับลูกค้าจริงๆ
อาจารย์ธีรบูลย์ : เด็กที่ทำงานผ่านบริษัท อาจขาดทักษะในหลายๆเรื่อง เพราะอาจได้คุยกับดีไซน์เนอร์ ไม่ได้คุยกับเจ้าของงานโดยตรง แต่ที่ B-UNIT เด็กๆ จะได้คุยกับเจ้าของบ้านที่มาจ้างงาน ข้อดีคือจะได้ทักษะอย่างความเข้าใจผู้คน ได้ฝึกทักษะด้านสื่อสาร ทักษะในด้านการต่อรอง ทักษะในเรื่องของการฟัง ทักษะในด้านของการจัดการ และเรื่องของ Service Design ซึ่ง เด็กที่เข้ามาจะได้ฝึกฝนทักษะเหล่านี้ทั้งหมดก่อนทำงานจริง
B-UNIT เปิดรับใครเข้าทีมบ้าง?
อาจารย์ธีรบูลย์ : ตอนนี้เรา เปิดรับเด็กสถาปัตย์ฯ ทั้งที่เรียนอยู่ หรือเรียนจบไปแล้ว ซึ่งสามารถสมัครได้จากทั้ง 3 ช่องทาง คือ ติดต่อมาทางโปสเตอร์ที่ติดประชาสัมพันธ์อยู่ ทางอาจารย์ผู้ดูแลทั้งสองท่าน หรืออาจารย์ท่านใดก็ได้ในคณะ สุดท้ายคือช่องทางที่เราได้เพิ่มเติมเข้าไปคือ Open House ของ อาจารย์จรรยา ผลประเสริฐ ซึ่งเปิดให้นักศึกษาที่ไม่รู้ กล้าเข้ามาลองทำงานกับเรามากขึ้น
สนใจมาร่วมทีม.. มาเลยเก่งขึ้นแน่!
อาจารย์ธีรบูลย์ : ผมมองว่า B-UNIT เป็นเหมือน โอกาส และเมื่อเรามีโอกาส เราไม่ควรตั้งเงื่อนไข ที่จะหยิบโอกาสให้กับตัวเอง ดังนั้นถ้าคุณรู้สึกว่าโอกาสเป็นสิ่งที่คุณควรคว้าให้กับตัวเอง คนที่มี Passion ทำงานระหว่างที่เรียนอยากมีประสบการณ์ระหว่างเรียน และมองว่านี่คือพื้นที่ซึ่งเป็นโอกาสการทำงานจริง มีผลงานที่ปรากฎขึ้นจริง หรือใครที่ต้องการรายได้ที่จะช่วยผู้ปกครองแบ่งเบาภาระ คนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ สามารถเดินเข้ามาสมัครได้เลยครับ เพื่อให้ตัวเรามีโอกาสที่จะ พัฒนาตัวเองมากขึ้น เพราะผมไม่สนว่าคุณจะมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน ยังไงโครงสร้างของ B-UNIT นั้นถูกออกเบบมา เพื่อจัดกลุ่มการทำงานเป็นเลเวล และฝึกฝนให้เก่งขึ้นอยู่แล้วครับ