บีเอเอสเอฟ (BASF) ส่งมอบเครื่อง trinamix(R) (ไทรนามิกซ์) โซลูชันนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับการคัดแยกพลาสติก ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนร่วมกัน
บีเอเอสเอฟ ประเทศไทย นำโดย คุณวายูน พูนเพิ่ม Country Development (ที่ 3 จากซ้าย) และ คุณปณินลดา มาวิจักขณ์ (ที่ 3 จากขวา) ผู้จัดการฝ่ายขาย ร่วมส่งมอบ "trinamiX NIR Spectroscopy" (Trinamix(R)) เครื่องคัดแยกพลาสติกให้กับภาควิชาสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภศิชา ไชยแก้ว (ที่ 4 จากขวา) หัวหน้าภาควิชา และรองศาสตราจารย์ ดร.นุตา ศุภคต (ที่ 4 จากขวา) ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการคัดเลือกจากแคมเปญ "Plastic Waste Challenge" ด้วยการนำเสนอโครงการการใช้เครื่อง Trinamix(R) ในการจัดการกับปัญหาพลาสติก ที่จัดขึ้นโดย ไทรนามิกซ์ (บริษัทในเครือของ บีเอเอสเอฟ) และ "Alliance to End Plastic Waste" เพื่อมุ่งมั่นในแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ทางจุฬาฯ จะนำเครื่องนี้ไปใช้ในโครงการ "Chula Zero Waste" ซึ่งเป็นการจัดการขยะในมหาวิทยาลัย รวมทั้งโครงการการจัดการขยะพลาสติก ณ เกาะสีชังอีกด้วย
Trinamix(R) คือนวัตกรรมเครื่องคัดแยกพลาสติกที่คิดค้นโดยกลุ่ม BASF Group สำนักงานใหญ่ในประเทศเยอรมนี โดยใช้เทคโนโลยีแบบใกล้อินฟาเรด หรือ Near Infrared- NIR-spectroscopy(R) ผสมผสานกับการศึกษาความแตกต่างของวัสดุผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สามารถตรวจจับและแยกประเภทของพลาสติกได้หลากหลาย ซึ่งเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงเหล่านี้สามารถเปลี่ยนห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ให้เป็นอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กได้ ส่งผลให้ Trinamix(R) สามารถพัฒนาประสิทธิภาพของการรีไซเคิลพลาสติกได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกอย่างมีคุณภาพสูง รวมทั้ง สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ขับเคลื่อนสู่เส้นทางเศรษฐกิจหมุนเวียนได้เช่นกัน