วอเนอร์ เสนอเรื่องย่อภาพยนตร์ ROBOTS

ข่าวทั่วไป Tuesday March 8, 2005 11:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 มี.ค.--วอเนอร์ บราเธอร์ส
ผู้กำกับเลื่องชื่อ คริส เวจ (Chris Wedge) ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องสั้น “Bunny” ซึ่งได้รับรางวัลออสการ์ และการ์ตูนซึ่งได้รับความนิยมทั่วโลกเรื่อง ไอซ็ เอจ เจาะยุคน้าแข็งมหัศจรรย์ (Ice Age) กำลังจะนำความสามารถพิเศษของเขาในการสร้างภาพยนตร้ที่เป็นเอกลักษณ์มาสร้างภาพยนตร์เอนิเมชั่น เรื่อง โรบอทส์ (Robots) โดยการนำคอมพิวเตอร์มาสร้างภาพยนตร์ประเภมใหม่นี้เพื่อความตื้นเต้นใหม่ๆ เป็นครั้งแรกที่ภาพยนตร์เอนิเมชั่นนำเสนอโลกที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่หมดทั้งสิ้นและเป็นจักรวาลที่พำนักพักอาศัยของเครื่องจักรมีชีวิต
และเป็นครั้งแรกที่ทีมงานซึ่งประกอบไปด้วยผู้ซึ่งเคยได้รับรางวัลออสการ์จำนวน 5 คน รวมไปถึงรางวัล เอมมี่และรางวัลโทนี่ มารวมตัวกันสร้างภาพยนตร์เอนิเมชั่น ผู้ให้เสียงตัวละครนำได้แก่ อีวาน แม็คเกรเกอร์ (Ewan McGregor), ฮอลลี่ เบอร์รี่ (Halle Berry), เกรก คินเนียร์ (Greg Kinnear), เมล บรู๊คส์ (Mel Brooks), ดรูว์ แครี่ (Drew Carey), จิม บรอดเบน (Jim Broadbent), อแมนด้า ไบน์ส (Amanda Bynes) และ โรบิน วิลเลี่ยมส์ (Robin Williams) ส่วนตัวละครหลักต่างๆร่วมด้วย สเตนลี่ย์ ทุชชี่ (Stanley Tucci), เจนนิเฟอร์ คูลลิจ (Jennifer Coolidge), พอล จีมาติ (Paul Giamatti) และ ไดแอน ไวส์ท (Dianne Wiest)
ภาพยนตร์เรื่องโรบอทส์ ยังย้ำการกลับมาของโรบิน วิลเลี่ยมส์ สู่ภาพยนตร์เอนิเมชั่น อีกครั้งหลังจากบทบาทของเขาในเรื่องอะลาดิน เมื่อปี 1992
นอกจากนี้สำหรับ เมล บรู๊คส์ การให้เสียงในโรบอทส์เป็นการพากย์เสียงเรื่องแรกของเขาสำหรับภาพยนตร์ เอนิเมชั่นผู้ที่ให้เสียงรับเชิญกิตติมศักดิ์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แก้ เจ ลีโน Jay Leno (ซึ่งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ด้วย) แดน เฮดายา (Dan Hedaya), เจมส์ เอริล์ โจนส์ (James Earl Jones), อัล โรเคอร์ Al Roker (แห่งรายการ Today’s), สตีเฟ่น โทโบโลว์สกี้ (Stephen Tobolowsky) และ เทอรี่ แบรดชอว์ (Terry Bradshaw)
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ คุณจะได้พบกับหุ่นยนต์ที่คุณจะไม่มีวันลืมทีมีชื่อว่า ร็อดนีย์ คอปเปอร์บ็อททอม Rodney Copperbottom (อีวาน แม็คเกรเกอร์) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์หนุ่มนักประดิษฐ์อัจฉริยะที่ฝันว่าจะช่วยเหลือมวลหุ่นยนต์ทั้งหลายทั้งปวง; แค็ปปี้ Cappy (ฮอลลี่ เบอร์รี่) หุ่นยนต์สวยเช้งเฟี้ยวเต็มพิกัดผู้ซึ่งทำให้ Rodney ตกหลุมได้ทันทีทันควัน;แร็ทเชท Ratchet (เกรก คินเนียร์) หุ่นยนต์เจ้าพ่อธุรกิจชั่วร้ายที่จะมาเป็นคู่ปรับของรอดนี่ย์
บิ๊กเวลด์ Bigweld (เมล บรู๊คส์) ศาสตราจารย์หุ่นยนต์นักประดิษฐ์ที่ไม่ค่อยเต็มเตงเท่าไรนักและกลุ่มหุ่นยนต์นอกคอกทั้งหลายที่ชื่อว่า Rusties นำแก๊งค์โดย เฟนเดอร์ Fender (โรบิน วิลเลี่ยมส์) และ ไพเพอร์ พินวิลเลอร์ Piper Pinwheeler (อแมนด้า ไบนส์)
ชิ้นส่วนต่างๆเช่น หัว แขน หรือ ขา ของเฟนเดอร์ จะต้องมีอันหลุดออกจากกันในโอกาสไม่อันควรเสมอๆ ร็อดนี่ย์และเฟนเดอร์ กลายเป็นเพื่อนซี้กันอย่างรวดเร็วเพราะร็อดนีย์ทำหน้าที่ซ่อมส่วนที่สึกหรอให้กับเฟนเดอร์ ทุกๆเมื่ออยู่เสมอๆไพเพอร์เป็นน้องสาวห้าวคนเล็กของร็อดนี่ย์ซึ่งเธอจะทำให้ทุกคนตะลึงกับความมุ่งมั่นและพลังภายในตัวเธอผลลัพธ์จากการผสมผสานของตัวละครเหล่านี้นั้นเหนือคำบรรยาย ได้เป็นเรื่องราวที่ตลกขบขันซึ่งพาเราข้ามเขตแดนแห่งเอนิเมชั่นและในขณะเดียวกันยังนำเสนอตัวละครที่อุดมด้วยความขบขันจากจิตวิญญาณพร้อมกับเนื้อเรื่องที่กินใจ ทุกสิ่งนี้ทำให้หุ่นยนต์โดดเด่นเป็นสง่าได้ไม่ว่าเธอหรือเขาจะทำมาจากวัสดุอะไร
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราสร้างสรรค์โลกที่มีแต่หุ่นยนต์อาศัยอยู่ จะบริหารประเทศกันยังไง หน้าตาจะออกมาเป็นอย่างไร หุ่นยนต์จะมีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างไร
นี่เป็นคำถามส่วนหนึ่งซึ่งผู้กำกับ คริส เวจ สงสัยเมื่อเขากับนักประพันธ์และนักแสดงผลงาน วิลเลี่ยม จอยซ์ (William Joyce) ปรึกษากันช่วงแรกที่กำลังคิดสร้างภาพยนตร์เอนิเมชั่นเรื่องใหม่ ประธานฝ่าย เอนิเมชั่นของบริษัทเวนตี้ส์เซ็นจูรี่ฟ็อกซ์ คริส เมเลแดนดริ (Chris Meledandri) นั่นเองเป็นผู้นำพา จอยซ์เข้ามารวมทีมกับผู้กำกับเวจหัวหอกของเรื่อง “Ice Age” หนังสือเด็กซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของจอยซ์ได้แก่ Santa Calls, Dinosaur Bob, A Day with Wilbur Robinson และ Rollie Pollie Olie
เวจนั้นมีตำแหน่งผู้บริหารของสตูดิโอ บลู สกาย ด้วย (Blue Sky Studio) ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ผลิตภาพยนตร์เรื่อง ไอซ์ เอจ และ โรบอทส์ จอยซ์กับเวจเข้าขากันได้ดีเยี่ยมและหลังจากนั้นไอเดียก็เริ่มพรั่งพรู --- ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์โลกหุ่นยนต์ขึ้น
“ไอเดียเริ่มต้นจากสถานที่ก่อน” เวจกล่าวไว้ “และผมคิดว่าโลกจักรกล (Mechanical World) เป็นโลกที่ผมอยากจะไปเยี่ยมเยือน ในเชิงสร้างสรรค์” มีภาพยนตร์มากมายเกี่ยวกับโลกจักรกลซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องแต่งเชิงวิทยาศาสตร์ (Sci-fi) แต่บิล จอยซ์กับผมต้องการสร้างสรรค์อะไรที่แตกต่างออกไป: คือโลกของหุ่นยนต์ที่มีแปลกตาน่ารักมีสีสัน
“มันจะต้องเป็นโลกที่สร้างขึ้นมาใหม่มาทั้งสิ้น” เวจกล่าวต่อไป “ที่แน่ๆ หมายความว่า เราต้องรู้เลยว่าเราจะต้องคิดประดิษฐ์ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่มีฉากตั้งอยู่ในยุคน้ำแข็งหรือเรื่องเกี่ยวกับแมลงหรือปลาต่างๆ เราไม่มีเรื่องอะไรที่จะนำมาอ้างอิงได้”
เช่นเดียวกับเวจ จอยซ์พร้อมยอมรับความท้าทายที่จะสร้างโลกใบใหม่นี้ และในขณะเดียวกันก็รู้ว่าการบ้านนี้ชิ้นนี้จะต้องสนุกแน่นอน “ผมเคยบอกเพื่อนว่าสิ่งที่จะทำให้ผมมีความสุขที่สุดคือการที่จะมีโอกาสสร้างโลกใบหนึ่งขึ้นมาใหม่” จอยซ์เล่า “และในการสร้างภาพยนตร์เรื่องโรบอทส์นี้ทำให้ผมได้รับโอกาสนั้น”
ในขณะที่จอยซ์เริ่มต้นออกแบบขั้นต้น เวจทำหน้าที่คุมการทดลองการเคลื่อนไหวของตัวละครหุ่นยนต์ทั้งหลาย แต่ก่อนที่งานหนักของภาพยนตร์โรบอทส์จะเริ่มขึ้น คริส เมลแดนดริขอให้เวจกำกับภาพยนตร์ เอนิเมชั่นเกี่ยวกับช้างแมมมอธ เสือเซเบอร์ทูธ และนางอาย โดยมีฉากอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งก็คือเรื่อง ไอซ์ เอจ เจาะยุคน้าแข็งมหัศจรรย์ (Ice Age) นั่นเอง
เวจตอบตกลงโดยที่เข้าใจว่าโรบอทส์จะผลิตต่อจาก Iไอซ์ เอจ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ติดอันดับหนังยอดนิยมเมื่อปี 2002 (ปัจจุบันนี้ ภาคต่อ Ice Age 2: The Meltdown กำลังอยู่ระหว่างการผลิต)
หลังจากประสบความสำเร็จกับเรื่อง ไอซ์ เอจ เวจและจอยซ์จึงหันมาให้ความสนใจกับภาพยนตร์เรื่อง โรบอทส์ จอยซ์ซึ่งทำหน้าที่เป็น Executive Producer และ Production Designer ค้นคว้าหาไอเดียและศึกษาแนวความคิดจากสุสานของเก่า โรงงานต่างๆ ร้านมือสองทั้งหลาย --- หรือแม้แต่ครัวที่บ้าน ซึ่งเป็นที่ๆเขาได้รับแรงบันดาลใจจากเครื่องทำวาฟเฟิลและที่บดเนื้อ เขากล่าวย้ำว่า “เราจะศึกษาสถานที่ๆมีการใช้งานเครื่องจักรกล”
เวจและผู้กำกับร่วมของภาพยนตร์โรบอทว์ คาร์ลอส ซาลดาห์นา (Carlos Saldanha) ผู้ซึ่งร่วมรับผิดชอบหน้าที่ในการนำทีมผลิตเรื่อง โรบอทส์ ร่วมกันวางโครงเรื่องและกำหนดทิศทางของ โรบอทส์ ถึงแม้ว่าประสบการณ์จากเรื่อง ไอซ์ เอจ จะมีคุณค่า มีประโยชน์มากเพียงใด ก็ไม่สามารถเตรียมพวกเขาให้พร้อมรับมือกับความท้าทายของภาพยนตร์เรื่องใหม่นี้ได้ โรบอทส์ นั้นซับซ้อนมากกว่า ไอซ์เอจ หลายเท่า” ซาลดาห์นากล่าวถึง “เรื่องราว ตัวละคร ฉากต่างๆ ทุกๆอย่าง นั้นก้าวไปอีกระดับหนึ่งเหนือสิ่งที่เราเคยทำมา”
สำหรับเรื่อง ไอซ์เอจ พิ้นที่เบื้องหลังส่วนมากจะเป็นสีขาวและมีตัวละครหลักสามตัวเท่านั้น ส่วนเรื่องโรบอทส์ เราสร้างเมืองใหญ่โตมีหลายระดับด้วยกันและตัวละครมากมายก่ายกอง โดยที่ตัวละครแต่ละตัวนั้นมีรายละเอียดยิบย่อย จากจุดเล็กๆที่เป็นสนิมไปถึงส่วนที่มีสีถลอกตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อย”
คริส เมเลแดนดริ ซึ่งรับผิดชอบงานเอนิเมชั่นของฟ็อกซ์ มีความเห็นว่าโครงเรื่องหลักสะท้อนให้เห็นเรื่องราวของ โรบอทส์ “มันเกี่ยวกับสิ่งที่พ่อแม่ฝันไว้ให้กับลูกๆ” เขาว่า “ความรู้สึกลึกซึ้งเหล่านี้จะถ่ายทอดผ่านความตลก มันจะค่อยๆเผยโดยโครงสร้างความตลกซึ่งเป็นภาพที่น่าตะลึงและไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยเห็นมาก่อน”
ภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานของเทคโนโลยีอันล้าสมัยของสตูดิโอบลูสกาย (Blue Sky Studio) ไม้เด็ดของคือ Ray Tracing Renderer, CGI Studio โปรแกรม render ดังกล่าวซึ่งดีที่สุดในรุ่นตอนนี้ ทำให้คนทำหนังสามารถเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นเหมือนกับเวลาทำงานจริงๆในฉากจริงๆ สามารถทำงานกับอุปกรณ์ในสภาพที่เหมือนกับอยู่ในโลกจริงๆ
“สิ่งนี้สำคัญมากในเรื่องโรบอทส์” คาร์ล ลัดวิค (Carl Ludwig) ผู้ร่วมก่อตั้งบลูสกายกล่าว “เกือบทุกกระเบียดนิ้วในภาพยนตร์จะเป็นเงาสะท้อน เพราะมันเป็นโลกของเครื่องจักรกล”
ไมเคิล เจ เทรเวอร์ (Michael J. Travers) ผู้คุมภาพคอมพิวเตอร์กราฟฟิกของ โรบอทส์ เสริมว่า “สิ่งที่คุณจะเห็นในโรบอทส์คือการจัดไฟและความเข้มข้นจนทำให้คุณรู้สึกว่าคุณกำลังเห็นตัวละครที่เหมือนโลหะจริงๆ ซึ่งมีสีสัน รอยบุบอยู่ด้วย”
ในขณะที่เทคโนโลยีชั้นยอดทำหน้าที่ได้ภาพที่เป็นเอกลัษณ์ หัวใจของเรื่องและความตลกขบขันตกเป็นความรับผิดชอบของนักเขียนบทมือฉมังอย่าง โลเวล แกนซ์ (Lowell Ganz) และ บาบาลู แมนเดล (Babaloo Mandel) เขาทั้งสองเป็นทีมนักเขียนบทตลกชั้นแนวหน้าของฮอลลีวูด มีผลงานเด่นๆมากมายเช่น “Splash,” “A League of their Own,” “City Slickers,” “Parenthood,” และงานของฟ็อกซ์ที่กำลังจะออกฉายเร็วๆนี้เรื่อง “Fever Pitch” ซึ่งเรื่องโรบอทส์เป็นงานเอนิเมชั่นเรื่องแรกของพวกเขา
“เราสนุกกับการเขียนเรื่องราวระหว่างร็อดนีย์กับพ่อของเขา ไม่ว่าจะเป็นการที่ร็อดนีย์ออกจากบ้านพร้อมคำอวยพรของพ่อเพื่อที่จะตามหาฝันของเขา” แกนซ์กล่าว “ส่วนหนึ่งของผลงานมาจากประสบการณ์ของเราเองที่จากนิวยอร์คเพื่อไปเป็นนักเขียนที่แคลิฟอร์เนีย การเดินทางของร็อดนีย์สู่นครหุ่นยนต์เพื่อตามล่าฝันของเขาเป็นการสื่อถึงความเป็นไปได้ซึ่งทำให้เรานึกถึงการเดินทางของเราเอง”
“มันเป็นเรื่องราวที่ยอดเยี่ยมในหลายๆแง่” แมนเดลเสริม “มันเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตัวเองของ ร็อดนีย์และความพยายามที่ปรับตัวในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากวัยรุ่นสู่การเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ใครบ้างที่จะไม่เข้าใจเรื่องแบบนี้”
แกนซ์และแมนเดลรับสภาพกับขั้นตอนกลับไปกลับมาของการทำภาพยนตร์เอนิเมชั่น แกนซ์ชี้ให้เห็นว่า “กับภาพยนตร์ทั่วไป การปรับเปลี่ยนบทจะถูกจำกัดไว้เมื่อเริ่มขั้นตอนการผลิตไปแล้ว” “มันเป็นกับการขับรถลงเขาโดยไม่มีเบรก”
“แต่เมื่อเป็นภาพยนตร์เอมนิเมชั่น คนถ่ายหนังสามารถหยุดนึกแล้วคิดฉากออกมาใหม่ได้ เราก็เลยตกอยู่ในสถานการณ์ที่เราจะต้องเขียนฉากนั้นใหม่ --- แต่ในวิถีที่ต่างกันออกไป มันสนุกมากและก็แปลกใหม่สำหรับเราสองคน”
มาพบกับขบวนการหุ่นยนต์
หุ่นยนต์หน้าตาเป็นยังไง เราเห็นหุ่นยนต์มานับไม่ถ้วนในภาพยนตร์เชิงวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในรายการโทรทัศน์ หรือแม้แต่ในละครเวที บางตัวก็น่าเกรงขาม บางตัวก็ติ๊งต๊องซะไม่มี แต่สำหรับภาพยนตร์คอมพิวเตอร์เอนิเมชั่นเรื่องใหม่นี้ คริส เวจ ตั้งใจที่จะสร้างสรรค์หุ่นยนต์ในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
เวจทราบว่ามันจะต้องมีความสมดุลที่ละเอียดอ่อน เราต้องเคารพความเป็นหุ่นยนต์ของพวกเขา โดยที่ไม่พยายามทำให้พวกเขามีความเป็นมนุษย์มากเกินไป ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ตัวละครถ่ายทอดอารมณ์ให้ได้เหมือนมนุษย์ในภาพยนตร์ธรรมดา
วิลเลี่ยม จอยซ์ได้ออกแบบตัวละครหลักบางตัว ทำให้ตัวละครมีความสนุกสนานน่ารัก ความขี้เล่นของตัวละครบวกกับโปรแกรม rendering ของบลู สกาย สตูดิโอทำให้ภาพเหมือนจริง พร้อมกับความสามารถของนักแสดงและคนทำภาพเอนิเมชั่น ทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำคัญในการทำภาพของเวจให้เป็นความจริง
เรื่องราวของ “โรบอทส์” จะวนเวียนอยู่รอบตัวร็อดนีย์ ค็อปเปอร์บอททอม ตัวละครซึ่งเวจและทีมงานมองภาพไว้ให้เขาเดินทางผจญภัยสู่นครหลวงเพื่อทำฝันของเขาที่ต้องการเป็นนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ให้เป็นจริง คริส เวจกล่าวว่า “ร็อดนีย์เป็นหุ่นยนต์พื้นๆธรรมดาๆที่ทุกคนสามรถเข้าถึงได้”
ในการคัดเลือกผู้พากย์เสียงร็อดนีย์ เวจพยายามค้นหาคนที่มีเสน่ห์และตลก และอาจจะมีอะไรดีๆมากกว่านั้น ซึ่งเวจกล่าวว่า “อีแวน แม็คเกรเกอร์เป็นทุกสิ่งที่เราต้องการและมากกว่านั้น” “เขาทำให้ร็อดนีย์โดดเด่นขึ้นมาและทำให้ตัวละครมีมิติเพิ่มขึ้น เสียงของอีแวนซึ่งมีท่วงทำนองและสื่อความหมายได้นั้นเหมาะกับร็อดนีย์มากที่สุด”
“ร็อดนีย์มีความซื่อแบบคนบ้านนอกและพลังความรักที่ทำให้สนุกต่อการแสดงมาก” ตัวละครนี้ทำให้อีแวนสะท้อนเห็นตัวเองและกล่าวถึงตัวละครว่า “การเดินทางของเขาสู่เมื่อหุ่นยนต์ทำให้ผมนึกถึงตอนที่ผมไปลอนดอนครั้งแรก” ซึ่งอีแวนมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองคริฟ สก็อตแลนด์
ลักษณะพื้นธรรมดาๆของร็อดนีย์เห็นได้ชัดจากต้นแบบที่ใช้สร้างตัวละคร ซึ่งเป็นเครื่องยนตร์แบบถอดเก็บได้ (outboard motor) ของคุณปู่ของเวจนั่นเอง ซึ่งส่วนมากจะใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือตกปลาขนาดเล็กๆ เครื่องยนตร์ที่มีลักษณะที่ออกแบบมาเพื่อการใช้สอยโดยเฉพาะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างคอนเซ็ปของร็อดนีย์ “ผมไม่เคยใช้เครื่องยนต์เป็นต้นแบบของตัวละครมาก่อนเลย” เวจกล่าว “แต่เจ้าเครื่องยนต์เก่าแก่นี้ ที่ทั้งบุบบุโรทั่ง เป็นแรงบันดาลใจที่ดีมาก”
ร็อดนีย์ได้พบกับหลายๆอย่างที่นครหุ่นยนต์และหนึ่งในนั้นก็คือ ความรัก ที่มาในรูปลักษณ์ของโลหะที่มีชีวิตชีวาเปรี้ยวปรี๊ด ชื่อว่า แค็ปปี้ ถึงแม้ว่าภายนอกของเธอจะขัดมันมาวาบวับ แต่แค็ปปี้จริงๆแล้วก็มาจากครอบครัวชนชั้นแรงงานเหมือนกัยร็อดนีย์ (พ่อของเธอคือเครื่องดูดฝุ่นส่วนแม่เธอเป็นอุปกรณ์เสริมของเครื่องดูดฝุ่นซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาสองคนพบกัน) ร็อดนีย์หลงเสน่ห์แค็ปปี้ทันทีที่ได้เจอ เพราะเธอนั้นเงาวับจับตาร็อดนีย็เข้าอย่างจังเลยที่เดียว
การออกแบบแค็ปปี้นั้นท้าทายพอสมควรเพราะ “คำถามก็คือจะทำอย่างไรให้หุ่นยนต์ออกมาสวย” เหมือนกับที่ไมเคิล เธอร์เมียร์ (Michael Thurmeier) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมทีมงานเมนิเมชั่นกล่าวไว้
ฮอลลี่ เบอรรรี้เป็นคนให้เสียงแค็ปปี้ นักแสดงที่มีรางวัลออสการ์รับประกันท่านนี้พบว่าเธอชื่นชมหลายๆสิ่งในตัวละครที่เธอเป็นตัวตายตัวแทน “แค็ปปี้ชื่อสัตย์สุจริต” ฮอลลี่พูดถึงแค็ปปี้ “เธอจะไม่ก้มหัวให้กับหุ่นยนต์อิทธิพลชั่วร้ายเพื่อช่วยหุ่นยนต์ที่ด้อยกว่า” “ในเวลาเดียวกันร็อดนีย์ก็ช่วยให้เธอสำนึกได้ว่าเธอเป็นหุ่นยนต์ที่ดีกว่าส่วนต่างๆที่เริดหรูประกอบกันอีก”
“ฮอลลี่เป็นนักแสดงแดงที่ยอดเยี่ยมมากๆ” เวจกล่าวถึงเธอ “เธอมีพรสวรรค์มากๆรู้ได้เลยจากเสียงของเธอ”
ไม่มีอะไรจะขวางกั้นรักแท้ได้ สิ่งที่บันดาลใจให้ร็อดนีย์เดินทางมานครหุ่นยนต์คือความฝันที่จะได้เป็นนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่และตามหาบิ๊กเวลด์ผู้ซึ่งเป็นสุดยอดอัจฉริยะ เวจและทีมงานเอนิเมชั่นทำให้บิ๊กเวลด์มีบุคลิกที่โดดเด่นเกินจริงเพื่อให้เข้ากับภาพร่างตัวใหญ่ๆกลมๆที่วิลเลี่ยม จอยซ์เขียนเอาไว้ “บิ๊กเวลด์เป็นเหมือนปูชนียบุคคล แต่มีลักษณะอบอุ่น เราเลยต้องการนักแสดงที่น่าเลื่อมใสค่อนข้างเก๋ามาเล่นบทนี้” เวจพูดถึงบิ๊กเวลด์ “เมล บรู๊คส์มีลักษณะครบทุกอย่างสำหรับบทนี้ เขามีให้มากกว่านั้นอีกด้วยซ้ำ”
บรู๊คส์สนุกกับการทำงานเรื่อง ไอซ์ เอจและเข้าก็ดีใจมากที่จะรับความท้าทายอีกครั้งในการให้เสียงบิ๊กเวลด์ “บทของเรื่อง โรบอทส์ นั้นอบอุ่น มองโลกในแง่ดี และมีเอกลักษณ์ ผมรู้ว่าผมได้ทำงานคริส เวจนั้นสบายใจได้” และบรู๊คส์ยังเสริมต่อว่า “อีกอย่างหนึ่งคือหลานผมที่อายุหกขวบต้องดีใจแน่นอน”
บิ๊กเวลด์กับผมยึดปรัญชาชีวิตที่เหมือนกัน --- คือ อะไรก็เป็นไปได้” บรู๊คเล่าต่อว่า “เราทั้งสองเชื่อว่าถ้าเรามีศรัทธาและไม่ยอมแพ้ ขยันขันแข็งเข้าไว้ ฝันก็จะเป็นจริง”
ร็อดนีย์โดนขัดขวางการค้นหาบิ๊กเวลด์โดยหุ่นยนต์เจ้าพ่อธุรกิจชั่วร้าย แร็ทเช็ท ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัทอุตสาหกรรมบิ๊กเวลด์ แร็ทเช็ทให้คำจำกัดความหุ่นยนต์แบบร็อดนีย์ว่าเป็นพวก “เสื่อมสภาพ” พร้อมที่จะโดนโละเป็นเศษเหล็ก และความที่เขาเป็นโรคสะอาดชึ้นสมองทำให้เขาต้องการกำจัดหุ่นยนต์ที่ขึ้นสนิม (พวกรัสตี้ส์) ให้สิ้นซากไปจากนครหุ่นยนต์
ทีมงานเรื่องโรบอทส์สนุกกับการทำให้แร็ทเช็ทมีชีวิตขึ้นมา “ตั้งแต่ต้น เราก็ปล่อยให้ความคิดไหลไปกับตัวละครเลย” เจมส์ เบรสนาฮาน (James Bresnahan) ผู้คุมทีมเอนิเมชั่นกล่าวถึงตัวละครบิ๊กเวลด์ “มันเหมือนการปลดปล่อยพลังความเลวภายในตัวของพวกเรา”
เวจเห็นว่า เกรก คินเนียร์ ทำให้แร็ทเช็ทมีการผสมผสานระหว่างความตลกขบขันและน่าเห็นอกเห็นใจได้อย่างลงตัว “เกรกทำให้บทถ่ายทอดออกมาได้เต็มที่ เขาทำให้แร็ทเช็ทตลกและแสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้วเขาเป็นตัวละครที่ขาดความมั่นใจในตัวเองและเป็นลูกแง่ดีๆนี่เอง” ผู้กำกับกล่าวถึงแร็ทเช็ทอีกว่า “คุณจะเข้าใจว่าทำไมแร็ทเช็ทถึงกลายเป็นคนแบบนี้ เพราะไม่ว่าแร็ทเช็ทจะทำอย่างไรก็ไม่ดีสักทีในสายตาแม่ เกรกทำให้เขาเป็นตัวละครที่มีหลายมิติ”
“ผมคิดว่าคนเข้าใจแร็ทเช็ทผิดไป” คินเนียร์พูดถึงแร็ทเช็ทโดยแสดงท่าทีมุ่งมั่นมาก “เขาชั่วร้ายหรือเปล่า? ไม่เลย! เขาอาจแยกชิ้นส่วนหุ่นยนต์ที่เก่าเสื่อมสภาพแล้ว แต่เขาก็เป็นคนดีใช้ได้เมื่อคุณรู้จักเข้ามากขึ้น เขาเพียงต้องการเอาใจแม่ ซึ่งก็คือ จิม บรอดเบนท์ ใช่ครับจิม บรอดเบนท์เล่นเป็นแม่ผม ไม่นึกไม่ฝันว่าผมจะได้พูดแบบนี้....
“แต่มันสนุกมาเลยทีดีที่ได้เล่นเป็นแร็ทเช็ท” คินเนียร์พูดต่อ “ไม่มีอะไรมาตีกรอบว่าผมจะเล่นกับตัวละครอย่างไร เพราะไม่มีต้นแบบหุ่นยนต์ที่เป็นเจ้าของกิจการยักษ์ใหญ่ อย่างน้อยก็เท่าที่ผมรู้นะครับ”
เบื้องหลังของตัวร้ายคือ มาดามแกสเค็ท (Madame Gasket) แม่ของแร็ทเช็ทที่คอยบงการอยู่เบื้องหลัง เธอทำหน้าที่บริหารร้านชำแหละหุ่นยนต์ (Chop Shop) ซึ่งอยู่ใต้นครหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นสถานที่ๆเมื่อหุ่นยนต์เสื่อมสภาพหลงเข้าไปจะไม่ค่อยได้กลับออกมา เธอและลูกชายวาดภาพไว้ว่าโลกของหุ่นยนต์จะต้องมีแต่หุ่นยนต์ที่ทันสมัยมีแต่หุ่นยนต์รุ่นใหม่อยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ดีแกสเค็ทก็ประกอบมาจากชิ้นส่วนที่เก่า ขึ้นสนิม และมีชีวิตอยู่มาอย่างผิดๆ ในส่วนลึกลับของนครหุ่นยนต์
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า จิม บรอดเบนท์ เจ้าของรางวัลออสการ์นักแสดงสมทบยอดเยี่ยมผ่ายชายจากเรื่อง Iris เป็นผู้ให้เสียงแม่จอมบงการตัวแสบ “เราเคยเห็นจิมแสดงในเรื่อง Moulin Rouge ซึ่งตัวละครนั้นเว่อร์เกินจริง สนุกสนาน” เจอร์รี่ เดวิสผู้ผลิตร่วมพูดถึงจิม “เราต้องการให้มาดามแกสเค็ทมีพลังแบบนั้นซึ่งจิมก็ให้ทุกอย่างที่เราต้องการ”
“ผมใช้เสียงที่สูงขึ้น” จิมพูดถึงบท “ผมเพิ่มเสียงขึ้นสองสามคีย์ เติมสำเนียงอเมริกันนิดหน่อย ก็ได้มาดามแกสเค็ทแล้วครับ”
ร้ายชำแหละหุ่นยนต์ (Chop Shop) ของแกสเค็ทเป็นสถานที่สุดท้ายที่หุ่นยนต์ประเภทรัสตี้ส์ อยากจะไปพบจุดจบที่นั่น หุ่นยนต์กลุ่มนี้ใช้ชีวิตอยู่บนเส้นด้ายตลอดเวลา ซึ่งพวกรัสตี้ส์ต้องได้รับการซ่อมแซมอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ต่างกับเฟนเดอร์เท่าไรนัก ซึ่งเฟนเดอร์เป็นตัวละครที่บ้าระห่ำที่สุดของเรื่อง ชิ้นส่วนของเขาพร้อมหลุดตลอดเวลา แขน ขา หัวนั่นหลุดหล่นเป็นว่าเล่น
เวจเห็นว่ามีเพียงโรบิน วิลเลี่ยมส์เท่านั่นที่จะสามารถถ่ายทอดความบ้าระห่ำของเฟนเดอร์ได้ คริว เวจกล่าวถึงโรบินว่า “โรบินเป็นอัจฉริยะทางด้านความตลกขบขันซึ่งไม่เคยทำอะไรซ้ำกันสองครั้งเลยครับ” “เขาสดและตลกอยู่เสมอ ไม่แปลกเลยที่เขาแสดงบทตลกที่โดดเด่นออกมาอย่างชัดเจนในภาพยนตร์เรื่องนี้”
วิลเลี่ยมส์ดีใจที่ได้กลับมาเล่นภาพยนตร์เอนิเมชั่นอีกครั้ง “สิ่งที่สนุกสำหรับเรื่องโรบอทส์คือ ทุกๆคนไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือวัยรุ่น ก็สามารถสนุกกับมันได้ มันมีอะไรให้ทุกๆคนเลยครับ”
ตัวละครเฟนเดอร์นั้นเหมาะกับคุณสมบัติตลกขบขันของวิลเลี่ยมส์อย่างไร้ที่ติ วิลเลี่ยมส์กล่าวถึง เฟนเดอร์ว่า “เขามีลักษณะเหมือนส่วนประกอบทุกๆส่วนของตัวเขารวมกัน ซึ่งเป็นส่วนที่มักจะหลุดๆอยู่เสมอ” “เขาเป็นพวกขอทาน ต้องการชิ้นส่วนใหม่ตลอดเวลาเพราะชิ้นส่วนเก่าของเขาจะหลุดอยู่เสมอๆ เขาพยายามที่จะปรับปรุงสภาพตลอดเวลาเมื่อมีชิ้นส่วนใหม่ๆมาเพิ่ม อยากใช้คำว่า ยืม ชิ้นส่วนมาใช้มากว่าที่จะใช้คำว่า ขโมยมา”
วิลเลี่ยมส์ซึ่งจบมาจากโรงเรียนสอนดนตรี Juilliard ได้โอกาสใช้พื้นฐานด้านละครเวทีของเขามาใช้ ร้องเพลงฮาๆที่แปลงมาจากเพลง “Singin’ in the Rain” ซึ่งมีชื่อว่า “Singin’ in the Oil”
ตัวละครเด่นอีกตัวในแก๊งค์รัสตี้ส์ คือไพเพอร์ ซึ่งเป็นน้องสาวห้าวๆของเฟนเดอร์นั่นเอง มีนิสัยขี้หงุดหงิดเพราะไม่เคยมีใครใส่ใจกับคำพูดเธอเท่าไหร่ แต่ในที่สุดแล้วเธอแสดงให้หุ่นยนต์อื่นๆเห็นว่าเธอก็มีค่าเหมือนกัน นักออกแบบตัวละครก็สนุกกับการออกแบบตัวละครตัวนี้ไม่น้อย เธอมีผมแกละที่ทำมาจากหัวฝักบัวด้วย
นักแสดงรุ่นใหม่ไฟแรง อแมนด้า ไบนส์ (จากละครยอดฮิตของวอ์เนอร์ บราเธอร์ส “What I Like About You) เป็นผู้ให้เสียงไพเพอร์ ซึ่งไบนส์เห็นว่าไพเพอร์จะต้องกลายเป็นหุ่นยนต์ที่เด็กผู้หญิงทุกๆคนจะต้องใฝ่ฝันอยากจะเป็น “ไพเพอร์เข้มแข็งมาก แกร่งแต่ก็มีความอ่อนหวาน” ไบนส์พูดถึงตัวละครตัวนี้ “ฉันสนุกกับการให้เสียงเธอมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ฉันประทับใจในตัวเธอมากที่สุดก็คือเธอสื่อความหมายบางอย่างว่า คุณควรจะรักความเป็นตัวเอง และไม่ต้องพยายามเป็นอย่างที่คนอื่นๆอยากให้คุณเป็น ซึ่งเป็นสารที่มีความหมายมากๆ”
เวจเห็นว่า ไบนส์กับไพเพอร์นั่นเป็นคู่ที่ลงตัวอย่างไร้ที่ติ “เด็กผู้หญิงทุกคนจะเข้าใจไพเพอร์ได้อย่างดี และผมรู้ดีว่าการแสดงของอแมนด้านั้นมีส่วนช่วยอย่างมาก เธอช่างเป็นนักแสดงที่เด็กๆชื่นชมมากทีเดียว”
สมาชิกอื่นๆของแก๊งค์รัสตี้ส์ (Rusties) นั้นมี แคร็งเคซี่ (Crank Casey ให้เสียงโดยดรูว์ แครี่) หุ่นยนต์วิตกจริต มองโลกในแง่ร้ายเสมอ เห็นอะไรไม่ดีไปหมด และก็มี ลัก (Lug ให้เสียงโดยฮาร์แลนด์ วิลเลี่ยมส์) หุ่นยนต์ ยักษ์ใหญ่ใจดี และ ไซเลนท์ดีเซล (Silent Diesel) ผู้ซึ่งพยายามตามหากล่องเสียงของตัวเอง
แก๊งค์ รัสตี้ส์ อาศัยอยู่ในระแวกชนชั้นแรงงานที่มีสีสันมีชีวิตชีวา ที่บ้านอันอบอุ่นของป้าแฟนนี่ ป้าแฟนนี่ผู้ใจดี ได้ชื่อมาจากบั้นท้ายอันมโหฬารของเธอ เธอจะซุ่มซ่ามชนของตกหล่นอยู่เสมอๆเพราะเธอไม่รู้ตัวเลยว่าบั้นท้ายเธอนั้นใหญ่ขนาดไหน กล่าวสั้นๆก็คือบ้านของเธอนั้นเล็กไปสำหรับขนาดของบั้นท้ายเธอ
เจนนิเฟอร์ คูลลิจเป็นผู้ให้เสียงป้าแฟนนี่ซึ่งเป็นการให้เสียงครั้งแรกของเธอสำหรับภาพยนตร์เอนิเมชั่น “ฉันเหมือนเป็นเด็กอยู่ในร่างผู้ใหญ่ กำลังงงอยู่ว่าทำไมไม่มาเล่นภาพยนตร์เอนิเมชั่นตั้งนานแล้ว” นักแสดงจาก Legally Blond กล่าวถึงการทำงานครั้งนี้
“เจนนิเฟอร์ทำให้พวกเราอึ้งตะลึงไปเลย” เวจพูดถึงเจนนิเฟอร์ “เธอเขามาทดลองอ่านบทแล้วคุณก็เห็นทันทีเลยว่าเธอคิดอะไรอยู่ เธอเข้าถึงตัวละครได้ลึกซึ้งเลยทีเดียว ซึ่งทีมงานเอนิเมชั่นได้ประโยขน์อย่างมากจากการทำงานของเธอ”
เห็นได้ชัดว่า ทีมนักแสดงของเรื่องโรบอทส์ ไม่ว่าจะเป็นพวกที่มีรางวัลเป็นประกันหรือนักแสดงอื่นๆมีส่วนสำคัญในการให้ชีวิตแก่ตัวละครทั้งหลาย แต่ก็ไม่ควรลืมว่าความสามารถของทีมงานเอนิเมชั่นซึ่งนำโดย เจมส์ เบรสนาฮานและไมค์ ธูเมียร์ก็สำคัญพอๆกันในการสร้างสรรค์หุ่นยนต์ต่างๆ
“เราก็อยู่ในจุดที่เสียงพอๆกับนักแสดงในการพัฒนาตัวละครต่างๆ” เบรสนาฮานกล่าวถึงการทำงาน “นักแสดงให้เสียงเพื่อให้ตัวละครนั้นมีชีวิตขึ้นมา แต่ทีมงานเอนิเมชั่นเป็นผู้ให้จิตวิญญาณแก่หุ่นยนต์เหล่านั้น”
ทีมงานใช้เวลาเป็นเดือนๆทดลองการแสดงสีหน้าต่างๆของตัวละคร การเคลื่อนไหวต่างๆ และสำหรับ ร็อดนีย์ เราต้องไปศึกษาภาพยนตร์เก่าๆของจิมมี่ สตูวาร์ด (Jimmy Stewart) เพื่อดูวิธีการเคลื่อนไหวของนักแสดงชื่อดัง นอกจากนี้ทีมงานยังได้ศึกษาละครใบ้และหุ่นเชิดต่างๆเพื่อการพัฒนาตัวละครด้วย
งานของทีมงานเอนิเมชั่นจะได้รับการวิจารณ์อย่างสม่ำเสมอจากทีม Sweatbox ของสตูดิโอบลูสกาย ซึ่งจะเป็นการประชุมเพื่อผู้สร้างภาพยนตร์มารวมตัวกันเพื่อวิเคราะห์ฉากบางฉาก บางครั้งก็มานั่งวิเคราะห์ฉากๆเดียว เพื่อติชมเกี่ยวกับตัวละครต่างๆ “Sweatbox ช่วยได้มากในการเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนางานของพวกเรา” เบรสนาฮานเล่า
การทำงานเรื่องโรบอทส์นั้น เป็นงานที่ท้าทายมากสำหรับทีมเอนิเมชั่น ซึ่งหลายๆคนในทีมเคยทำเรื่องไอซ์ เอจ มาแล้ว ไมเคิล ธูเมียร์กล่าวว่า “โรบอทส์นั้นทำงานยากกว่าไอซ์ เอจหลายเท่า” “เพราะมันเป็นก้าวที่ใหญ่มากๆในการทำเอนิเมชั่นและตัวละครก็มีความซับซ้อนมากเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์อาจจะดูเหมือนไม่มีชีวิต ไม่มีความรู้สึกอะไรเลยถ้าคุณไม่ใส่ใจกับการขยับตาหรือปากให้ทุกต้อง”
ฝ่ายวัสดุอุปกรณ์ของสตูดิโอบลูสกายต้องใช้วัสดุต่างๆให้เป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างรูปลักษณ์ของหุ่นยนต์ ไมเคิล เอริงกิส (Michale Eringis) หัวหน้าฝ่ายวัสดุอุปกรณ์ของเรื่องโรบอทส์ กล่าวว่า “เราทำให้หุ่นยนต์แต่ละตัวมีเอกลักษณ์ทางรูปลักษณ์ภายนอกโดยการเพิ่มรายละเอียดต่างๆเช่น รอยบุบ รอยสีถลอก หรือรอยเปื้อนน้ำมัน รายละเอียดสำคัญๆต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดหุ่นยนต์และโลกของจักรกลขึ้นมาได้”
ทีมงานด้านวัสดุอุปกรณ์ได้ศึกษาค้นคว้าจากภาพถ่ายต่างๆ หรือการเสื่อมสภาพของเครื่องจักรกลและโลหะประเภทต่างๆเพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดรายละเอียดสำคัญๆเหล่านี้ได้ สุสานของเก่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าอย่างหนึ่งเลยทีเดียว โรเบิรต์ คาวาเลริ (Robert Cavaleri) หัวหน้าฝ่ายเอฟเฟคของเรื่องโรบอทส์กล่าวว่า “เราเรียนรู้มาว่าเครื่องจักรเก่าๆที่มีรอยถลอก เก่ากึ๊กนั้นมีลักษณะเฉพาะในตัวของมันเอง” “การทำให้เขาดูเก่านิดนึงก็เป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้เขา”
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ