สำหรับธุรกิจโรงงานและการผลิต การจัดซื้อถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความผันผวนของ Supply Chain ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และการตอบรับต่อกระแสด้านความยั่งยืนของธุรกิจในอนาคตที่จะทำให้ Landscape ของ Supply Chain เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง
ในบทความนี้ทาง NDBS Thailand ได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณพฤกษ์ วาดเขียน Group Procurement Manager Strategic บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับไทยน้ำทิพย์ในช่วงที่ผ่านมา ไปสู่การปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ในการจัดซื้อ ที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในการสร้างความยืดหยุ่น คล่องตัว และยั่งยืนให้กับไทยน้ำทิพย์ได้ในอนาคต จึงขอนำสรุปเนื้อหาที่น่าสนใจจากการพูดคุยในครั้งนี้เอาไว้ในบทความนี้คะ
ถ้าพูดถึงชื่อของบริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือไทยน้ำทิพย์ หลายๆ ท่านก็คงคุ้นเคยกันอย่างดีในฐานะของผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำหลายแบรนด์ที่จำหน่ายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นโค้ก สไปรท์ แฟนต้า ชเวปส์ มินิทเมด เอ แอนด์ ดับบลิว หรือน้ำดื่มน้ำทิพย์ ซึ่งเครื่องดื่มเหล่านี้ล้วนเป็นการผลิตและจัดจำหน่ายโดยทีมงานกว่า 7,000 ชีวิตของไทยน้ำทิพย์ทั้งสิ้น
คุณพฤกษ์ได้ขยายความให้เราเห็นภาพของอุตสาหกรรมนี้ว่าบริษัทอย่างไทยน้ำทิพย์นั้น จะถูกเรียกว่า Bottler ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายจดทะเบียนของเดอะโคคา-โคลา คอมปานี โดยจะมีลูกค้าทั้งกลุ่มของการจัดจำหน่ายไปยังตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่หรือภูมิภาคต่างๆ และกลุ่ม Modern Trade ที่นำสินค้าของไทยน้ำทิพย์ไปจัดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าสาขาต่างๆ ทางไทยน้ำทิพย์จึงไม่มีหน้าร้านเป็นของตนเอง
อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของไทยน้ำทิพย์ก็คือการทำ Localization ให้กับเครื่องดื่มแบรนด์ต่างๆ ในประเทศไทย เช่น ในแง่ของกฎหมายที่ไทยน้ำทิพย์จะต้องร่วมมือกับเจ้าของแบรนด์ในการปรับสูตรให้สอดคล้องกับกฎหมายสำหรับลดการบริโภคน้ำตาลในประเทศไทย เพื่อให้สูตรของเครื่องดื่มนั้นยังสอดคล้องกับข้อกฎหมายและยังมีรสชาติที่อร่อยถูกใจผู้บริโภคไปจนถึงการส่งเสริมด้านความยั่งยืน และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยการบริหารจัดการการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากระบวนการผลิต หรือการปรับปรุงตู้เย็นที่เป็นอุปกรณ์ส่งเสริมการขายตามร้านต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมถึงการเลือกใช้ บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ของสินค้าที่สามารถรีไซเคิลได้ เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้เอง ไทยน้ำทิพย์จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการปรับปรุงกระบวนการการทำงานภายในให้มีประสิทธิภาพ และการจัดซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าต่างๆ เข้ามาใช้ในการผลิตหรือดำเนินธุรกิจให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด และส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมไปในเวลาเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความยั่งยืน และสร้างผลกระทบเชิงบวกกับสังคมไทยได้นั่นเอง
คุณพฤกษ์ได้เล่าถึงภาพรวมของงานฝ่ายจัดซื้อในไทยน้ำทิพย์ ในฐานะของผู้ดูแลกลยุทธ์ด้านการจัดซื้อทั้งหมดของธุรกิจ และมีประสบการณ์การทำงานมาแล้วกว่า 8 ปี ว่าในมุมมองของผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำระดับโลกนั้น การจัดซื้อโดยรวมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
การจัดซื้อ Direct Material หรือสินค้าและวัตถุดิบที่สั่งซื้อมาเพื่อทำการผลิตโดยตรง
การจัดซื้อ Indirect Material หรือส่วนประกอบอื่นๆ ที่ต้องใช้ในธุรกิจ เช่น เครื่องจักร รถบรรทุก อุปกรณ์ส่งเสริมการขายการตลาด และอื่นๆ
ในเชิงกลยุทธ์ คุณพฤกษ์เผยว่าหน้าที่สำคัญของฝ่ายจัดซื้อก็คือ การกำหนดกลยุทธ์ในการจัดซื้อให้เหมาะสมสำหรับสินค้า วัตถุดิบ หรือส่วนประกอบต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการทำสัญญาในระยะสั้นหรือระยะยาว, การจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ และการมองหา Supplier ทั้งภายในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ คุณพฤกษ์ยังได้แชร์ประสบการณ์ด้วยว่าในช่วงปี 2020-2022 ที่ผ่านมานี้ซึ่งทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 ก็ทำให้งานของฝ่ายจัดซื้อยิ่งทวีความซับซ้อนขึ้นไปอีก จากเดิมทีที่ความผันผวนของ Supplier ต่ำ ทำให้งานของฝ่ายจัดซื้อที่เคยเป็นการปรับปรุงเพิ่มความคุ้มค่าในการจัดซื้อให้สูงขึ้น มาสู่การรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอด ทั้งสถานะการทำงานและความพร้อมของ Supplier ที่เปลี่ยนทุกวัน ไปจนถึงความผันผวนของราคาสินค้า วัตถุดิบ และค่าเงิน ทำให้โจทย์ของฝ่ายจัดซื้อในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงต้องมุ่งเน้นไปที่ความยืดหยุ่น รวดเร็ว แม่นยำ และการมองหา Supplier รายใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน
อย่างไรก็ดี เมื่อมองไปถึงอนาคตแล้ว คุณพฤกษ์ระบุว่างานของฝ่ายจัดซื้อเองก็มีแนวโน้มที่น่าสนใจในการมุ่งไปสู่ภาพของความยั่งยืน ที่จะต้องทำให้ธุรกิจจำนวนมากรวมถึงไทยน้ำทิพย์เองที่ต้องมองหา Supplier ซึ่งมีสินค้าหรือวัตถุดิบ Recycle หรือมีความยั่งยืนในแง่มุมอื่นๆ ไปจนถึงเรื่องของ Carbon Credit ด้วย ซึ่งถึงแม้ที่ไทยน้ำทิพย์จะมีการใช้สินค้าหรือวัตถุดิบ Recycle มาอย่างยาวนานอยู่แล้ว แต่ด้วยกระแสแนวโน้มใหม่ที่เข้ามานี้ก็ทำให้ยิ่งเกิดความตื่นตัวด้านนี้มากขึ้นไปอีก นับเป็นความท้าทายใหม่ที่เชื่อว่าฝ่ายจัดซื้อของทุกธุรกิจต้องเผชิญ
ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานของฝ่ายจัดซื้อนั้นจึงมีความซับซ้อนที่สูงมาก และมีทั้งทีมงานภายในไปจนถึง 3rd Party หลายราย ดังนั้น การปรับปรุงกลยุทธ์ กระบวนการ และเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อให้สอดคล้องต่อ Landscape ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปนี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
อนาคตของการจัดซื้อ ต้องเปลี่ยนการทำงานสู่การทำงานเชิงรุก และใช้เทคโนโลยีสำหรับงานเชิงรับ
เพื่อปรับกระบวนการทำงานในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และตอบรับต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในทุกด้านไทยน้ำทิพย์จึงมีแผนปรับกลยุทธ์การจัดซื้อใหม่ เพื่อเปลี่ยนการทำงานของฝ่ายจัดซื้อจากเชิงรับ ไปสู่เชิงรุกที่สามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจของไทยน้ำทิพย์ได้ดีขึ้น และสร้างความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นกับ Supplier แต่ละราย
คุณพฤกษ์เห็นว่าหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ก็คือการมี Platform ที่ดีที่สามารถรองรับการบริหารจัดการการจัดซื้อที่มีความซับซ้อนสูงสามารถจัดการกับข้อมูลและกำหนดกระบวนการต่างๆ ให้เป็นระบบได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำ Platform มาใช้ในกระบวนการจัดซื้อนี้ จะช่วยลดภาระงานเอกสารและการตรวจสอบความถูกต้องสอดคล้องกันของเอกสารแต่ละชุดให้กับฝ่ายจัดซื้อได้เป็นอย่างมาก รวมถึงยังสามารถผสานระบบ Automation เพื่อปรับให้กระบวนการจัดซื้อบางส่วนเป็นอัตโนมัติได้ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลการจัดซื้อทั้งหมดมารวมกับข้อมูลจากระบบ ERP หรือข้อมูลจากภายนอก สำหรับทำการวิเคราะห์ประมวลผล หรือทำนายแนวโน้มเพื่อเป็นอีกปัจจัยในการตัดสินใจวางแผนในระยะยาวได้อย่างเหมาะสม
คุณพฤกษ์เล่าว่า อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือระบบสำหรับให้ Supplier เสนอราคาหรือประมูลสินค้า เนื่องจากไทยน้ำทิพย์เองก็เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ความโปร่งใสจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และการเชิญชวนให้ Supplier รายใหม่ๆ สามารถเข้ามาทำการเสนอราคาหรือร่วมประมูลได้อย่างคล่องตัว ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ไทยน้ำทิพย์ได้มีโอกาสร่วมงานกับ Supplier รายใหม่และมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางสถานการณ์ความผันผวนของ Supply Chain ทั่วโลก และการมาของเทรนด์ด้านความยั่งยืน
ทั้งนี้เมื่อทีมงานฝ่ายจัดซื้อของไทยน้ำทิพย์ที่มีมากกว่า 30 คน สามารถใช้ระบบ Platform จัดซื้อช่วยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การทำงานของฝ่ายจัดซื้อจะเป็นเชิงรุก มองหา Vendor รายใหม่ๆ, มองหาสินค้าหรือวัตถุดิบใหม่ๆ ที่มีคุณภาพดีขึ้นหรือราคาที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการพัฒนาระบบหรือแนวทางการทำงานเพิ่มเติม เป็นการพลิกโฉมการทำงานของงานจัดซื้อเพื่อเร่งสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของไทยน้ำทิพย์ได้อีกทางหนึ่ง
ปรับกลยุทธ์การจัดซื้อใหม่ เสริมความคล่องตัว เข้าถึง Supplier ให้มากขึ้นด้วย SAP Ariba
เมื่อคุณพฤกษ์ตัดสินใจที่จะปรับกลยุทธ์ของการจัดซื้อแล้ว สิ่งแรกที่คุณพฤกษ์มองหานั้นก็คือ Platform ระบบที่จะสามารถตอบโจทย์ของงานด้านการจัดซื้อที่มีหลากหลายให้ได้ครบถ้วนในระบบเดียว และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ ERP ที่มีอยู่เดิมอย่าง SAP ECC 6.0 ให้ได้อย่างไร้รอยต่อ
ความสามารถของ Platform ดังกล่าวที่คุณพฤกษ์คาดหวังนี้ ก็ได้แก่ระบบสำหรับการบริหารจัดการ Sourcing, Supplier, การประมูล, การจัดการเอกสารการจัดซื้อ และการจัดทำรายงานวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงเชื่อมต่อกับระบบ e-Tax Invoice
ด้วยความต้องการเหล่านี้ ทำให้ไทยน้ำทิพย์ได้มีโอกาสพิจารณาซอฟต์แวร์ระบบจัดซื้อจากผู้ผลิตที่หลากหลาย ก่อนจะตัดสินใจเลือกใช้ SAP Ariba ซึ่งเป็น Procurement & Supply Chain Solution แบบครบวงจรจาก SAP ที่นอกจากจะมีความสามารถทุกส่วนอย่างครบถ้วน และปรับแต่งได้อย่างยืดหยุ่น รวมถึงทำงานร่วมกับ ERP ที่มีอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว อีกส่วนที่สำคัญก็คือการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับไทยน้ำทิพย์ได้ด้วย Supplier Network ที่มีอยู่ในระบบ SAP Ariba ซึ่งจะเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้ไทยน้ำทิพย์มีโอกาสได้รู้จักกับ Supplier รายใหม่ทั่วโลกได้ทันที
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญต่อการเลือกใช้ SAP Ariba นั้น ก็คือการมองหา Implementer ที่ไว้วางใจได้ ซึ่งไทยน้ำทิพย์ก็เลือกใช้บริการในส่วนนี้จาก NTT Data Business Solution Thailand หรือ NDBS Thailand ซึ่งเป็นผู้ติดตั้งและดูแลระบบ SAP ECC 6.0 มาให้ไทยน้ำทิพย์มาเป็นเวลากว่า 10 ปีจนกลายเป็น Partner ทางธุรกิจกันไปแล้ว จึงเชื่อมั่นว่าทีมงานของ NDBS จะเข้าใจในธุรกิจและระบบงานของไทยน้ำทิพย์เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีประสบการณ์กับ SAP Ariba มาก่อน ทำให้โอกาสที่โครงการจะประสบความสำเร็จนั้นสูงกว่าการใช้ผู้ให้บริการรายอื่นๆ
อีกจุดเด่นที่ทำให้ NTT DATA Business Solutions Thailand มีความโดดเด่นเหนือ Implementer อื่นๆ นั้นก็คือแนวทางการทำงานของ NDBS Thailand ที่จะมาร่วมทำงานด้วยกันเพื่อทำความเข้าใจในความต้องการของไทยน้ำทิพย์ในทุกมิติ พร้อมค้นหาแนวทางหรือคำแนะนำที่จะช่วยให้ไทยน้ำทิพย์สามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสมมาโดยตลอด รวมถึงยังมีการช่วยปิดช่องว่างด้านความไม่เข้าใจในเทคโนโลยีหรือมุมมองต่างๆ ได้ดี ทำให้ NDBS Thailand เป็นมากกว่า Supplier และก้าวสู่การเป็น Partner ในสายตาของไทยน้ำทิพย์อย่างเต็มตัว
การสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมโรงงานและการผลิตไทย ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจไทยเพื่อจับเทรนด์ความยั่งยืนสำหรับแข่งขันในตลาดโลกคือสิ่งสำคัญ
สุดท้าย คุณพฤกษ์ได้ทิ้งท้ายถึงอนาคตของวงการจัดซื้อในภาคอุตสาหกรรมโรงงานและการผลิตว่า หนึ่งในสิ่งที่คุณพฤกษ์ร่วมผลักดันให้เกิดขึ้นนั้น ก็คือการสร้างความร่วมมือกันภายในอุตสาหกรรมและภาคจัดซื้อ เพื่อสร้าง Ecosystem ใหม่ๆ ที่จะทำให้ธุรกิจไทยมีความเข้มแข็งเติบโตร่วมกันไปได้ อย่างเช่นในกลุ่มวัตถุดิบ Recycle-based ที่จะเกิดขึ้นได้ยากมาก หากธุรกิจในไทยไม่เกิด Demand ที่มากพอจนอุตสาหกรรมสามารถเติบโตได้ ดังนั้นหากธุรกิจโรงงานและการผลิตแห่งต่างๆ มองหาวัตถุดิบ Recycle-based ไปใช้งานกันมากขึ้น ก็จะเกิดผู้ผลิตวัตถุดิบในกลุ่มนี้มากขึ้น และเกิดการแข่งขันทางราคามากขึ้น ทำให้ในอนาคตประเทศไทยก็จะมีกลุ่มธุรกิจนี้เกิดขึ้นมา สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย และกลายเป็นอีกขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกต่อไปได้
ทั้งนี้ในมุมของไทยน้ำทิพย์เองที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง คุณพฤกษ์ก็ได้ชี้ให้เห็นว่าจริงๆ แล้วประเทศไทยนั้นมีศักยภาพอย่างมากในด้านวัตถุดิบ Recycle อย่างเช่นพลาสติกที่ประเทศไทยถือว่ามีผู้เชี่ยวชาญอยู่หลายราย แต่ตลาดนี้ก็ยังไม่เติบโตเท่าที่ควร ซึ่งเป็นเพราะกระบวนการในการจัดเก็บและการคัดแยกขยะยังไม่มีประสิทธิภาพหรือความคุ้มค่ามากนัก ซึ่งประเด็นนี้ก็คงไม่ได้มีแต่เพียงภาคเอกชนที่จะผลักดันได้จากการหันมาใช้วัตถุดิบ Recycle-based กันมากขึ้นเท่านั้น แต่ภาครัฐเองก็ต้องมีนโยบายหรือข้อกำหนดที่จะช่วยผลักดันด้วย รวมถึงภาคประชาชนเองก็ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และจัดการกับขยะที่เกิดจากการบริโภคให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อไป เพื่ออนาคตของสิ่งแวดล้อม ลูกหลาน และประเทศไทยที่ยั่งยืน