พฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่ ผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปรากฏการณ์ อ้างอิงตามรายงานจาก เฟดเอ็กซ์ พบว่า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เลือกดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ในระหว่าง วิกฤตโควิด-19 นั้น ละเลยความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างมากแต่ในปัจจุบันกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ได้เริ่มปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในประเด็นดังกล่าวแล้ว
ร้านค้าออนไลน์หลายเจ้าเชื่อว่าราคาและการจัดส่งอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ โดยรายงานพบว่า 88% ของกลุ่มธุรกิจ SMEs ระบุว่าลูกค้าของพวกเขาสนใจว่าจะได้รับสินค้าโดยเร็วที่สุดหรือไม่ มากกว่าการใส่ใจ ในเรื่องของความยั่งยืนในการช้อปปิ้ง
ในมุมมองที่ต่างออกไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อมาเจาะลึกถึงความรู้สึกของผู้บริโภค มุมมองกลับต่างออกไป สำหรับผู้บริโภคจำนวนมาก อนาคตของโลกเป็นเรื่องที่พวกเขาให้ความใส่ใจเป็นอย่างมากและไม่ต้องการผ่อนปรน จากรายงานพบว่าในประเทศไทย ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า70%เห็นตรงกันว่าเมื่อพูดถึงการช้อปปิ้งออนไลน์พวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าเท่ากับประเด็นทางด้านความยั่งยืน
ธุรกิจขนาดกลางและย่อม รับรู้ว่าผู้บริโภคคาดหวังให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน แต่มีธุรกิจมากถึง 85% ที่ยังกังวลในเรื่องต้นทุนที่เกี่ยวข้อง หรือไม่เชื่อว่าการลงทุนในเรื่องนี้จะทำให้พวกเขาได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
แต่ข้อมูลชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่ต่างออกไป รายงานของเฟดเอ็กซ์แสดงให้เห็นว่า 9 ใน 10 ของผู้บริโภคในประเทศไทย คาดหวังว่าบริษัทอีคอมเมิร์ซที่พวกเขาใช้บริการจะมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ข้อมูลเหล่านี้ได้รับการรับรอง โดยรายงานของ Bain & Company ซึ่งเปิดเผยว่า 90% ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกยินดีจ่ายราคาพิเศษสำหรับ สินค้าที่มีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมได้จริง2
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผู้บริโภคในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าจากบริษัทที่มีแนวทางการประกอบธุรกิจ ตามหลักความยั่งยืน (ESG) ที่เห็นผลจริง แต่จนถึงปัจจุบัน มีเพียง 40% ของธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่มี นโยบายดังกล่าว ดังนั้นการกำหนดนโยบาย ESG และการสื่อสารต่อสาธารณะว่าบริษัทมีการดำเนินนโยบายนี้ถือเป็นก้าวแรกของการให้ความสำคัญกับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อชนะใจ และมีโอกาสได้รับการสนับสนุนด้วยยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นจากลูกค้า
การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ตามแนวคิด Carbon net zero นั้น ไม่มีทางลัดหรือวิธีการที่ทำให้สำเร็จได้โดยง่าย เพราะการกำหนดกลยุทธ์ตามนโยบาย ESG ที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย การทำให้เกิดขึ้นจริงหรือแก้ปัญหาให้สำเร็จอย่างค่อยเป็นค่อยไปอาจสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญในที่สุด และนี่คือจุดที่บริการทางด้านการขนส่งสามารถเข้ามาช่วยเหลือได้
การส่งมอบสินค้าที่มีแนวโน้มไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น
ตามรายงานจาก McKinsey พบว่าองค์กรที่ต้องติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรงมีค่าใช้จ่ายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จากห่วงโซ่อุปทานมากกว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการภายในองค์กร โดยมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 80%1 การลดการใช้บรรจุภัณฑ์และการกำจัดพลาสติกจากแหล่งผลิตอาจช่วยลดผลกระทบของห่วงโซ่อุปทานในขั้นต้นได้ แต่กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลานาน
ธุรกิจขนาดกลางและย่อมสามารถลดค่าใช้จ่ายและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญในเวลาอันรวดเร็ว โดยคำนึงถึงเรื่องการขนส่งสินค้าไปสู่มือผู้บริโภค โดยมีผู้ให้บริการหลายเจ้าในตลาดอย่างเฟดเอ็กซ์เอง ที่กำลังศึกษาวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งสินค้า การลงทุนในรถขนส่งที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ตู้รับพัสดุสาธารณะเพื่อลดจำนวนครั้งในการจัดส่ง
นอกจากนี้ เทคโนโลยียังมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจโลจิสติกส์สามารถออกแบบโซลูชันทางการขนส่งแบบผสมผสาน กับระบบอีคอมเมิร์ซได้อย่างไร้รอยต่อและสามารถปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้นได้ การใช้ดิจิทัลโซลูชันส์ช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดการใช้เอกสาร และยังมีคุณสมบัติใหม่ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบและจัดการ การจัดส่งพัสดุของตนเองได้ โดยมีการแจ้งเตือนสถานะการจัดส่งแบบเรียลไทม์และมีตัวเลือกให้สามารถ เลื่อนวันจัดส่งหรือเปลี่ยนเส้นทางของพัสดุตามความสะดวกของผู้ใช้ได้ด้วย
เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงแค่ทางเลือกสำหรับธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่ต้องการขยายธุรกิจผ่านแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซอีกต่อไป ผู้บริโภคในประเทศไทยมองว่าความยั่งยืนมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่พวกเขาใช้เป็นเกณฑ์เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการดังนั้นสำหรับธุรกิจหรือร้านค้าออนไลน์แล้วการตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการในด้านความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้พวกเขาสามารถแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ