อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ประกาศเตรียมพร้อมจัด 2 งานใหญ่แห่งปี "ProPak Asia 2023" (โพรแพ็ค เอเชีย 2023) วันที่ 14 - 17 มิถุนายน 2566 และ "FI Asia 2023" (ฟู้ด อินกรีเดียนส์ เอเชีย 2023) วันที่ 20 - 22 กันยายน 2566 ภายใต้การผนึกความร่วมมือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมร่วมเป็นหนึ่งในการกระตุ้นตลาด MICE เติบโตตามนโยบายภาครัฐดันไมซ์ไทยสู่ไมซ์โลก พร้อมมั่นใจศักยภาพดึงต่างชาติเข้าร่วมแสดงนวัตกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สำหรับทั้ง 2 งาน
นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า เป็นการกลับมาอีกครั้งของงานใหญ่ภายใต้ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ โดยในครั้งนี้ถือเป็นการครบรอบปีที่ 30 ของงาน ProPak Asia 2023 งานแสดงสินค้าและนวัตกรรมในกระบวนการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ และปีที่ 26 ของงาน FI Asia 2023 งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านส่วนผสมอาหารแห่งเอเชีย ซึ่งแน่นอนว่าการครบรอบในโอกาส 30 ปี ของงาน ProPak ในปีนี้ เรานำความพิเศษมามอบให้กับทั้งเหล่า Exhibitor และผู้เข้าร่วมชมงานอย่างแน่นอน โดยยังคงเน้นย้ำถึงหัวใจหลักในเรื่องของ Ecosystem ของการผลิตและแปรรูปอาหารทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการการผลิต (Processing) ตลอดไปจนถึงการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) เพื่อผลักดันให้กลุ่ม M-SMEs สามารถแข่งขันและก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดโลกได้ รวมทั้งผลักดันให้ไทยกลายเป็น Hub แห่งนวัตกรรมใหม่ๆในกระบวนการผลิต
นางสาวรุ้งเพชร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้เนื่องด้วยสภาวะสถานการณ์โรคอุบัติโควิด-19 ที่ผ่อนคลายลงแล้ว ทำให้เราสามารถผลักดันในแง่การสร้างการรับรู้สู่กลุ่มต่างชาติและการเดินทางมาได้เต็มรูปแบบ ดังนั้น แน่นอนว่าในปีนี้เราผลักดันและสนับสนุนกลยุทธ์ในการเป็นหนึ่งในงานที่จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรม MICE ให้เติบโตตามนโยบายภาครัฐ โดยตั้งเป้าในการมีผู้แสดงงานจากต่างชาติกว่าร้อยละ 50 สำหรับงาน ProPak Asia 2023 และ ร้อยละ 60 สำหรับงาน FI Asia 2023 นอกจากนั้น การจัด Exhibition สร้างให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง จากการใช้จ่ายเงินของทั้งต่างชาติและในประเทศที่เดินทางเข้ามา โดยมีการเก็บสถิติโดยเฉลี่ยมีการใช้เงินต่อคนประมาณ 76,000 บาท ต่อการเข้ามาในประเทศ 5 วัน อีกทั้งเกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้น ทั้งการนำเสนอเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมอาหารขึ้น รวมไปถึงการเกษตรครบวงจร เพราะภาคเกษตรในประเทศจะได้ประโยชน์ในแง่การนำเทคโนโลยีนำไปใช้แปรรูปเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นต่อไป
ภายในงานแถลงข่าว ยังแถลงความร่วมมือกับภาครัฐ และสภาอุตสาหกรรมที่มีความร่วมมือกันมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจากเหล่าพันธมิตร อาทิ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), ดร. วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย, คุณเจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมให้ข้อมูลในประเด็นต่างๆ
โดย ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า ทางเราเองเน้นในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผู้ประกอบการ M-SMEs ตลอดทั้ง Ecosystem ตามพันธกิจของเราในการวิจัยพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ ตอบสนองการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศอยู่แล้ว ตลอดจน Value Chain การผลิตสินค้า และการเป็น Total Solution ในการช่วยผู้ประกอบการ ให้เดินหน้าต่อไปในอุตสาหกรรมได้อย่างเข้มแข็ง นอกจากนั้น เรายังเน้นย้ำในการเป็น Thailand Packaging Center ที่จะช่วยเป็นที่ปรึกษาในเรื่องของ Innovation และการวิจัยพัฒนา รวมทั้ง Scale up จากการผลิตของผู้ประกอบการระดับกลาง ที่มี Volume การผลิตในจำนวนไม่มาก สู่การผลิตในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นสู่ท้องตลาด
ด้าน ดร. วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบัน และพฤติกรรมผู้บริโภคภายหลังสถานการณ์โควิด ไว้อย่างน่าสนใจว่าหากย้อนกลับไปช่วงสถานการณ์โควิด ในช่วงปี 2565 การส่งออกทำได้ดีโดยเฉพาะของฝั่งอาหาร ทำตัวเลขได้ทะลุประวัติศาสตร์เติบโต 22% เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะหมวดแปรรูป เพราะสามารถเก็บได้นาน โดยไม่ต้องแช่เย็น ซึ่งตอบโจทย์เรื่อง Food Security ส่วนในช่วงปลายปีที่ผ่านมารวมถึงปีนี้ มีปัจจัยเรื่องความขัดแย้งในกลุ่มประเทศรัสเซีย ยูเครน ทำให้ยุโรปขาดแคลนน้ำมันพืช ส่งผลให้มีการสั่งน้ำมันชนิดอื่นทดแทน โดยเฉพาะน้ำมันปาล์มจากไทยที่ส่งออกได้ดีขึ้น นอกเหนือจากสถานการณ์ ยังมีปัจจัยเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าออนไลน์สูงถึง 50% ด้านทิศทางอาหารไทย มีตัวเลขที่น่าสนใจ คือ 52% ของผู้บริโภคมองหากลุ่มโปรตีนช้อยส์ เป็นทางเลือกมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าสูงมาก ทางสมาคมฯ จึงมีการทำแคมเปญ เว้นเดย์ วัน Wednesday เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมให้คนโฟกัสการบริโภค Future Food มากยิ่งขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ สัปดาห์ละ 1 วัน ได้แก่ วันพุธ
คุณเจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงมูฟเม้นต์ของตลาดอาหารในปัจจุบันว่า อาหารของไทยเติบโตไปพร้อมกับการท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศมากขึ้น ตัวเลขการเติบโตจึงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงเปิดประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีนที่เข้ามาในไทย ทำให้ฝั่งเอเชียเติบโตขึ้น แต่การที่เราต้องเตรียมพร้อมคือการจัดการ supply chain ให้สมดุล นอกจากนั้น คาดการณ์นักท่องเที่ยวจะทะลุ 30 ล้านคนในปี 2566 นี้ นอกจากนั้นมองไว้ว่าการที่ไทยส่งออกเป็นอันดับที่ 11 และ 13 จะไม่หนีไปกว่านี้ โดยยังเน้นย้ำในเรื่องการใช้ BCG Model ให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพในห่วงโซ่การผลิตเพื่อความยั่งยืนในการทำธุรกิจต่อไป
สำหรับการจัดงาน โพรแพ็ค เอเชีย 2023 (ProPak Asia 2023) งานแสดงสินค้าและนวัตกรรมในกระบวนการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ ครั้งที่ 30 เตรียมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 17 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงาน Pre-Registered ได้ที่ www.propakasia.com และ งานฟู้ด อินกรีเดียนส์ เอเชีย 2023 (Fi Asia 2023) งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านส่วนผสมอาหารแห่งเอเชีย ระหว่างวันที่ 20 - 22 กันยายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ https://lnk.bio/FiAsia