ธุรกิจเอกชนไทยไม่หวังโตด้วยการซื้อกิจการหรือจดทะเบียนมหาชน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 25, 2008 11:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--แกรนท์ ธอร์นตัน
จากรายงานธุรกิจนานาชาติซึ่งจัดทำโดยแกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล พบว่าธุรกิจเอกชนเกือบครึ่ง (44%) มีการวางแผนขยายตัวด้วยการซื้อกิจการในอีก 3 ปีข้างหน้า และร้อยละ 23 ของธุรกิจเหล่านี้หวังว่าจะมีการซื้อกิจการข้ามประเทศ แม้ว่าจะมีความผันผวนในตลาดเงินโลกก็ตาม ธุรกิจเอกชนมองการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) ทั้งในประเทศและข้ามประเทศว่าเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ที่ช่วยขับเคลื่อนการขยายตัว ร้อยละ 22 ของบริษัทเอกชนของโลกวางแผนจดทะเบียนมหาชนในอีก 3 ปีข้างหน้าอีกด้วย
มร. ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กรรมการอาวุโส แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า “ในขณะที่ธุรกิจเอกชนอาจจะไม่ทำการซื้อกิจการอย่างโจ่งแจ้ง แนวโน้มของโลกแสดงให้เห็นความมั่นใจว่าจะมีการซื้อขายกิจการทั้งในประเทศและข้ามประเทศอย่างประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจเอกชนในประเทศเศรษฐกิจเติบโตเร็วอย่างประเทศจีน และอินเดีย มองการควบรวมและซื้อกิจการข้ามประเทศเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะพัฒนาลูกโซ่มูลค่าด้วยการซื้อตราสินค้าและช่องการขายในทวีปเอเซีย อเมริกาเหนือ และยุโรป”
อันประกอบไปด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน กำลังนำการควบรวมและการซื้อกิจการมาใช้ โดยร้อยละ 59 ของธุรกิจในประเทศเหล่านี้วางแผนซื้อกิจการในอีก 3 ปีข้างหน้า ในภูมิภาคเอเซีย ธุรกิจเอกชนในมาเลเซีย ฮ่องกง และเวียดนามแสดงความต้องการค่อนข้างสูงในการซื้อกิจการ โดยร้อยละ 36, 29 และ 29 ตามลำดับ วางแผนขยายธุรกิจโดยการซื้อกิจการในอีก 3 ปีข้างหน้า ผลสำรวจนี้เป็นไปในทางเดียวกันกับผลสำรวจรายงานธุรกิจระหว่างประเทศก่อนหน้านี้ในเรื่องทัศนคติซึ่งบ่งชี้ว่าเจ้าของธุรกิจในประเทศเหล่านี้มีทัศนคติที่ดีต่อสภาวะเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก
มร. ปัญกาจ คาร์นา กรรมการ แกรนท์ ธอร์นตัน อินเดีย เชื่อว่าผลสำรวจนี้แสดงทัศนคติด้านบวกในหมู่เจ้าของธุรกิจในประเทศเศรษฐกิจเติบโตเร็ว “ปัจจัย 3 ประการที่ผลักดันในธุรกิจเอกชนอินเดียซื้อกิจการข้ามประเทศคือ ประการแรก พวกเขาต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระดับโลกและขยายเข้าใกล้ลูกค้ามากขึ้น ประการที่สอง พวกเค้าต้องการซื้อเทคโนโลยี และประการสุดท้ายคือพวกเค้าต้องการให้การประเมินมูลค่าธุรกิจดูดี การเพิ่มทุนทำได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อ 5-10 ปีที่แล้ว ทำให้ธุรกิจเอกชนในอินเดียมีความมั่นใจมากขึ้น”
ในทางกลับกัน เจ้าของธุรกิจเอกชนไทยไม่เห็นว่าการซื้อกิจการเป็นกลไลที่ช่วยในการขยายธุรกิจในปัจจุบัน ไม่มีผู้ตอบการสำรวจคนใดให้ข้อมูลว่ามีแผนซื้อกิจการในอีก 3 ปีข้างหน้า
มร. ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ให้ความเห็นว่า “นี่อาจเป็นอีกสิ่งบ่งชี้ถึงความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันกับผลการสำรวจในเรื่องทัศนคติก่อนหน้านี้ หรือความกังวลพื้นฐานเรื่องความสามารถในการดำเนินการซื้อกิจการที่ซับซ้อนได้ แน่นอนเราเห็นการควบรวมและซื้อกิจการของธุรกิจมหาชนและธุรกิจข้ามชาติที่ลงทุนในประเทศไทย แต่ธุรกิจเอกชนไทยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กและบริษัทเหล่านี้ไม่มีแผนในการขยายธุรกิจด้วยการซื้อกิจการในขณะนี้
รายงานธุรกิจระหว่างประเทศมีการสำรวจแผนของเจ้าของธุรกิจเอกชนที่จะจดทะเบียนบริษัทมหาชนในอีก 3 ปีข้างหน้าอีกด้วย ซึ่งร้อยละ 22 ของเจ้าของธุรกิจทั่วโลกระบุว่าพวกเขามีแผนจดทะเบียนบริษัทมหาชน ในจำนวนนี้ จีน อินเดีย มาเลเซีย และเวียดนาม มีสัดส่วนสูงที่สุด คือ ร้อยละ 60, 37, 37 และ 30 ตามลำดับ แนวโน้มความเชื่อมั่นที่ลดลงของไทย ทำให้เจ้าของธุรกิจเอกชนเพียงร้อยละ 1 ระบุว่ามีแผนที่จะจดทะเบียนบริษัทมหาชนในอีก 3 ปีข้างหน้า
มร. ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กล่าวว่า “ผลที่ได้จากเจ้าของธุรกิจเอกชนไทยขี้ให้เห็นทัศนคติด้านลบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และความกังวลเกี่ยวกับความซับซ้อนและความเสี่ยงในการเป็นบริษัทมหาชนในประเทศไทย”
มร. วอล์คเกอร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นชัดเจน 3 อย่างที่เห็นได้จากผลการสำรวจเหล่านี้คือ ประเด็นแรก รัฐบาลและเจ้าของธุรกิจไทยจำเป็นต้องทำงานหนักขึ้นในการเสริมสร้างความเป็นผู้นำและการประกอบธุรกิจให้เป็นสากลมากขึ้น ประเด็นที่สอง การเพิ่มความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของเจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องมาจากภาครัฐ ประเด็นสุดท้าย กฏเกณฑ์ในการจดทะเบียนบริษัทมหาชนสำหรับธุรกิจขนาดเล็กกว่าต้องมีการพัฒนาเพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจขยายตัวด้วยวิธีนี้มากขึ้น กฏเกณฑ์ในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ MAI ในประเทศไทยอาจจะตามแบบอย่าง ตลาดหลักทรัพย์ AIM ในกรุงลอนดอนที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีนโยบายสร้างสรรค์เพื่อช่วยลดความซับซ้อน ความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนบริษัทมหาชนลงอย่างมาก”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
มร. ปีเตอร์ วอล์คเกอร์
โทรศัพท์ : 02-205-8251
Email: peter.walker@gt-thai.com
คุณพรทินา ตั้งสัจจะวิฑูรย์, Senior Manager, ฝ่ายการตลาด แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย
โทรศัพท์: 02-205-8142
Email: porntina.tangsajjavitoon@gt-thai.com

แท็ก เนชั่น  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ