โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ ชุมชนบ้านทุ่งบ่อจัดกิจกรรม "ผูกเสี่ยวป่า" ประเพณีเก่าแก่ของชาวอีสาน เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนกับต้นไม้

ข่าวทั่วไป Wednesday July 5, 2023 09:25 —ThaiPR.net

โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ ชุมชนบ้านทุ่งบ่อจัดกิจกรรม

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา หัวหน้าโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และ คุณนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน (อกย.) ร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และประชาชนบ้านทุ่งบ่อ รวมถึงชุมชนใกล้เคียง นักเรียน ครูอาจารย์ ร่วมกิจกรรมผูกเสี่ยวป่า ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เพื่อร่วมกันสร้าง ฟื้นฟู อนุรักษ์ป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว บริเวณรอบหนองขุมดิน รวมทั้งยังได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาสร้างกิจกรรม "ผูกเสี่ยวป่า" ซึ่งมีความหมายว่า "เพื่อน" กันตลอดไป นำมาสู่การสร้างความสัมพันธ์ เพื่อยึดเหนี่ยวความเกื้อกูลกันระหว่างคนกับต้นไม้

ในอดีตบ้านทุ่งบ่อ พื้นดินเป็นดินขุดมาจากก้นบ่อ มีสภาพเป็นดินเค็มหรือดินดาน ระบายน้ำไม่ดี แห้งแล้ง โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพ (สพศอ.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จึงได้พัฒนาขุดบ่อ สร้างถังเก็บน้ำ แก้ไขดินจนเป็นรูปธรรม ปลูกต้นไม้ที่ทนแล้ง พัฒนาจนเป็นป่าชุมชน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากความประสงค์ของชุมชนที่ต้องการจะพัฒนาพื้นที่รอบหนองขุมดิน ที่เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 120 ไร่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่สีเขียว สร้างแหล่งอาหาร และแหล่งนันทนาการ หรือเป็นลานวัฒนธรรม เพื่อให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์

ในอดีตบ้านทุ่งบ่อ พื้นดินเป็นดินขุดมาจากก้นบ่อ มีสภาพเป็นดินเค็มหรือดินดาน ระบายน้ำไม่ดี แห้งแล้ง โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพ (สพศอ.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จึงได้พัฒนาขุดบ่อ สร้างถังเก็บน้ำ แก้ไขดินจนเป็นรูปธรรม ปลูกต้นไม้ที่ทนแล้ง พัฒนาจนเป็นป่าชุมชน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากความประสงค์ของชุมชนที่ต้องการจะพัฒนาพื้นที่รอบหนองขุมดิน ที่เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 120 ไร่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่สีเขียว สร้างแหล่งอาหาร และแหล่งนันทนาการ หรือเป็นลานวัฒนธรรม เพื่อให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์

ดังนั้นการ "ผูกเสี่ยวป่า" จึงเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความรักความผูกพันของคนในชุมชนให้มีส่วนร่วมดูแลรักษาป่า ร่วมกันพัฒนาพื้นที่ป่าชุมชนให้สามารถใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย กลายเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นแหล่งอาหาร และเป็นแหล่งนันทนาการของชุมชน ตามแนวทางการปลูก "ป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์หลายอย่าง" ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของโครงการพลังชุมชนฯ ที่ส่งเสริมให้ชุมชนเป้าหมายที่ขับเคลื่อนงานป่าชุมชนทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านโคกศรี จังหวัดอุดรธานี ป่าชุมชนบ้านนางิ้วนาโพธิ์ จังหวัดขอนแก่น และป่าชุมชนบ้านทุ่งบ่อ จังหวัดขอนแก่น ได้มองเห็นความสำคัญนอกเหนือจากการปลูกหรือสร้างป่า เพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว หัวใจสำคัญ คือ การดูแลป่า ให้ยั่งยืน สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน และเกิดประโยชน์แก่สังคมโลกได้ในระยะยาว

โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ CEIS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ (สพศอ.) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ให้ความสำคัญในการสร้าง และส่งเสริมให้ชุมชนภายใต้โครงการฯ เกิดความยั่งยืน โดยใช้พลังชุมชนและนวัตกรรม รวมถึงการหนุนเสริมจากภาคีต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น มาบูรณาการ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการวิจัยและพัฒนา และนำมาปรับใช้กับภูมิปัญญาดั้งเดิม ให้เหมาะสมในในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนแก่ชุมชนต่อไป.

ติดตามข้อมูลข่าวสาร D community ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/GoodforCommunityYou tube : https://www.youtube.com/@dcommunity2023


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ