จากจุดเริ่มต้นการเป็นแอปพลิเคชันที่ต้องการช่วยเรื่องการสื่อสารและเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันสู่แอปพลิเคชันโครงสร้างพื้นฐานเพื่อชีวิตในยุคดิจิทัลที่ปัจจุบันมีผู้ใช้ในไทยกว่า 54 ล้านคน ถือได้ว่า LINE เป็นแอปพลิเคชันที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษของ Digital Transformation จนปัจจุบันที่คนไทยเป็นพลเมืองดิจิทัลเต็มตัว มี LINE อยู่ในทุกช่วงจังหวะชีวิต ไม่ว่าจะทั้งไลฟ์สไตล์ การสื่อสาร การทำธุรกิจ ฯลฯ
ย้อนดู 6 คำสำคัญที่บอกเล่าบทบาท LINE ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา
- ก่อนหน้านั้นคนไทยคุ้นชินกับการแชทผ่านโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ที่ต้องนัดเวลาเพื่อพบปะพูดคุย LINE เข้ามาในยุคที่คนไทยเริ่มใช้โทรศัพท์มือถือแพร่หลาย โดย LINE ได้นำเสนอมิติใหม่ของการสื่อสารให้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยการแชทพูดคุยแบบ instant messaging ที่โดดเด่นด้วยฟีเจอร์ LINE STICKERS สติกเกอร์นำเอาภาษากายมาถ่ายทอดเป็นงานศิลปะน่ารักและแฝงด้วยอารมณ์ขัน รวมถึงวิดีโอคอลและโทรด้วยเสียง เพิ่มความสนุกด้วยบริการเสียงรอสายและเสียงเรียกเข้าอย่าง LINE MELODY ที่ช่วยปิดช่องว่างความสัมพันธ์ที่เกิดจากการสื่อสาร ไม่ว่าจะอยู่ห่างจากครอบครัว คนรัก หรือใช้ LINE เพื่อสร้างมิตรภาพกับเพื่อนได้ในทุกสังคม
- นอกจากการสื่อสาร LINE พัฒนาแพลตฟอร์มตัวเองสู่การเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลที่สร้างโอกาสให้ผู้ใช้กลายเป็นผู้ประกอบการธุรกิจมามากมาย เช่น LINE MAN ที่นอกจากจะทำให้การสั่งอาหารเดลิเวอรีให้เป็นที่แพร่หลาย ยังส่งเสริมให้คนทั่วไปสามารถเปิดร้านอาหารบนแอปโดยไม่ต้องมีหน้าร้าน ซึ่งปัจจุบันมีร้านอาหารบน LINE MAN ทั้งหมดกว่า 1 ล้านร้าน ทั้งยังสร้างอาชีพไรเดอร์ถึง 1 แสนราย ขณะที่ LINE SHOPPING ผู้นำด้านบริการแชทคอมเมิร์ซของไทยก็ได้ให้บริการภายใต้วิสัยทัศน์ "Liberty to Win" ที่ต้องการทะลายข้อจำกัดและสร้างโอกาสให้ร้านค้าออนไลน์กว่า 540,000 ร้าน สามารถแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซได้อย่างเท่าเทียม
- LINE STICKERS ถือว่าเป็นบริการที่บุกเบิกสร้างอาชีพครีเอเตอร์ในเมืองไทย ผลักดันให้คนไทยปลด
ล็อกความคิดสร้างสรรค์ออกแบบชิ้นงานมากมาย ทั้ง สติกเกอร์, ธีม, อิโมจิ, อวาตาร์ ซึ่งปัจจุบันมีครีเอเตอร์กว่า 1.16 ล้านราย สร้างสรรค์สติกเกอร์ถึง 5.7 ล้านชุด ขณะที่ LINE VOOM บริการวีดีโอสั้นบนแอป LINE ที่วางตัวเองเป็น Utilitainment Platform ให้สาระและความสนุก ก็ส่งเสริมครีเอเตอร์หน้าใหม่ๆ ด้วยแคมเปญที่สร้างสรรค์ อย่าง "ใครไม่เกิด บ้านเกิด" ชวนคนไทยแชร์ของดี ของเด็ด วัฒนธรรมเด่นในจังหวัดบ้านเกิด ด้าน LINE WEBTOON เองก็ไม่น้อยหน้า ผลิตนักเขียน "เว็บตูน" สัญชาติไทย ไปโด่งดังในต่างประเทศมากมาย
- อีกบทบาทสำคัญของ LINE คือการสร้างการเติบโตให้กับโลกธุรกิจ ด้วย LINE FOR BUSINESS ศูนย์รวมโซลูชันส์เพื่อธุรกิจดิจิทัล ปูทางให้ภาคธุรกิจไทยบนเส้นทาง Digital Transformation มากว่าสิบปี จากการทำให้ภาคธุรกิจไทยตื่นตัว ปรับตัวสู่โลกดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ จนกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญและจำเป็น เพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้ด้วยแชทคอมเมิร์ซ โดยปัจจุบัน ธุรกิจทุกขนาดและทุกประเภท มีการใช้งาน LINE OFFICIAL ACCOUNT สร้างลูกค้าติด ธุรกิจโตมาแล้วถึง 6 ล้านบัญชี พร้อมใช้เครื่องมือหลากหลาย ต่อยอดการทำแชตคอมเมิร์ซบน LINE อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น MyCustomer, Business Manager, MyRestaurant, MyShop รวมถึงการลงโฆษณาดิจิทัลอย่าง LINE Ads
- นอกจากด้านการสื่อสารระดับบุคคล LINE ก้าวไปมากกว่านั้นด้วย LINE OPENCHAT คอมมูนิตี้ออนไลน์ที่รวบรวมผู้คนที่มีความชื่นชอบสนใจในเรื่องเดียวกันด้วยแนวคิด #เปิดตัวเองในพื้นที่สำหรับคุณ ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 17 ล้านราย มีกรุ๊ปหลากหลายประเภทให้ได้ปลดปล่อยความชอบโดยไม่ต้องเผยตัวตน ทั้งสายแฟนคลับ สายแฟชั่น สายหามิตรภาพใหม่ๆ สายการเรียน สายการเงินธุรกิจ สายท่องเที่ยว และอีกมากมาย พร้อมเปิดโอกาสให้ตั้งกรุ๊ปใหม่เพื่อความสนใจเฉพาะ เรียกได้ว่าสนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ไหน ในโอเพนแชทมีกรุ๊ปรองรับไว้แน่นอน
- นอกจาก LINE TODAY ที่ผู้ใช้ LINE จะสามารถพึ่งพาเป็นแหล่งอัปเดตคอนเทนต์และข่าวสาร ยังสามารถกดเพิ่มเพื่อนบัญชีทางการจากภาครัฐที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น LINE ALERT ช่วยแจ้งเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ, หมอพร้อม ศูนย์รวมการจัดการด้านสุขภาพ, M-Flow ใช้ชำระค่าผ่านทาง, MEA Connect เข้าถึงบริการไฟฟ้านครหลวง, การประปาส่วนภูมิภาค ช่วยตรวจสอบและชำระค่าน้ำ, Thailand Post ติดตามพัสดุและบริการจัดส่งของ และ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ช่วยตรวจสอบข่าวปลอมที่กำลังเป็นกระแส ซึ่งทุกบัญชีต่างทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้คนไทยในยุคดิจิทัลได้อย่างรอบด้าน
ทั้ง 6 บทบาทสำคัญเหล่านี้ได้ประกอบกันออกมาเป็นคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ LINE ในยุคดิจิทัลที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาของ LINE ต่อไปในอนาคต
หมายเหตุ : จำนวนผู้ใช้ LINE ในประเทศไทย ปัจจุบันมีจำนวน 54 ล้านคน (ณ มิถุนายน 2566)