ดร.กิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท Temple Generation Intermediate Holdings II, LLC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ BPP ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น (Purchase and Sale Agreement) กับบริษัท CXA Temple 2 Holdco, LLC เพื่อเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 100 ในบริษัท CXA Temple 2, LLC ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple II ("Temple II") ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการลงทุนรวม 460 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเทียบเท่า 16,060 ล้านบาท (เป็นเงินลงทุนของ BPP ตามสัดส่วนการลงทุน 230 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเทียบเท่า 8,030 ล้านบาท) โดยรายการดังกล่าวได้ทำเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม2566
Temple II เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดกำลังการผลิต 755 เมกะวัตต์ (คิดเป็นกำลังการผลิตของ BPP ตามสัดส่วนการลงทุน 377.5 เมกะวัตต์) เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนสิงหาคม 2558 ตั้งอยู่ติดกับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ("TempleI") ในรัฐเท็กซัสซึ่งเป็นรัฐที่มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจ การขยายตัวของเมือง (Urbanization) และการเติบโตของจานวนประชากร ทั้งยังเป็นรัฐที่เป็นแหล่งทรัพยากรพลังงานมากมาย โดยโรงไฟฟ้าแห่งนี้ใช้เทคโนโลยี Combined Cycle Gas Turbines หรือ CCGT ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง มีความยืดหยุ่นในการเดินเครื่อง อยู่ในลำดับการเรียกจ่ายไฟฟ้า (merit order) ที่ดี ซึ่งสอดรับกับสภาพและการแข่งขันในตลาดซื้อขายไฟฟ้าเสรีของ Electric Reliability Council of Texas หรือ ERCOT นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการควบคุมการปล่อยมลภาวะ ทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา
BPP ได้เข้าลงทุนใน Temple I เมื่อปลายปี 2564 และเริ่มดำาเนินธุรกิจค้าปลีกไฟฟ้าในรัฐเท็กซัส ซึ่งการลงทุนใน Temple II ในครั้งนี้นับเป็นการต่อยอดธุรกิจไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาของบริษัทฯ และช่วยสร้างการผนึกกำลังร่วม (Synergy) โดยได้ประโยชน์จากสถานที่ตั้งของโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่ง ทำาให้สามารถบริหารจัดการโรงไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความยืดหยุ่นและเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าทำาให้สามารถสร้างโอกาสในการทำกำไรในตลาดซื้อขายไฟฟ้าที่มีการแข่งขันเสรี และสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันให้ได้ประโยชน์สูงสุดทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) นอกจากนี้ การมีกำลังผลิตเพิ่มเติมยัง ช่วยเพิ่มข้อได้เปรียบในการบริหารจุดคุ้มทุน ช่วยกระจายความเสี่ยงด้านนธุรกิจไฟฟ้าที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ อปุทาน อีกทั้งโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติแห่งนี้เป็นโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วจึงสามารถสร้างกระแสเงินสดได้ทันที ถือเป็นการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับกลยุทธ์ Greener & Smarter ของบริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ บรรลุ เป้าหมายกำลังการผลิต 5,300 เมกะวัตต์ภายในปี 2568