หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินโรคปวดศีรษะไมเกรน หรืออาจจะเคยมีอาการปวดศีรษะกันมาบ้าง แต่ไม่ได้รู้จักจริง ๆ ว่าโรคปวดศีรษะไมเกรนคืออะไร? เรามาหาคำตอบจาก นพ.ชยานุชิต ชยางศุ แพทย์อายุรศาสตร์ประสาทวิทยา ประจำศูนย์โรคระบบสมอง โรงพยาบาลนวเวช ได้เล่าอธิบายความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคปวดศีรษะไมเกรน (Migraine headache)
จริง ๆ แล้วปวดศีรษะไมเกรนเป็นการปวดศีรษะที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของสมองโดยตรง เช่น เกิดจากเส้นเลือดสมองตีบ เลือดออกในสมองหรือเนื้องอกในสมอง แต่เกิดจากความผิดปกติของโปรตีนชนิดหนึ่งในสมอง (CGRP) ซึ่งมีหน้าที่ทำให้เราเกิดอาการปวดศีรษะมีความไวต่อตัวกระตุ้นมากเกินไป
CGRP (Calcitonin Gene Related Peptide) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งอยู่ในสมองของทุกคนหน้าที่ของโปรตีนชนิดนี้ คือ กระตุ้นให้เรามีอาการปวดศีรษะเปรียบเทียบคล้าย ๆ กับการใช้สัญชาตญาณของสัตว์ชนิดอื่น เนื่องจากมนุษย์ไม่ได้ใช้สัญชาตญาณแล้วเราจึงต้องมีระบบในการป้องกันตนเอง โดยเวลามีสิ่งกระตุ้นจะทำให้เรามีอาการปวดศีรษะแทนเพื่อให้เราหนีออกมาจากสิ่งกระตุ้นนั้น ๆ ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นได้ตลอด ส่งผลให้อาการปวดศีรษะมากขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้ายแล้วทำให้อาการปวดศีรษะรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้
ตัวกระตุ้นอาการปวดศีรษะมีหลายชนิด ดังนี้
- แสงจ้าทั้งจากแสงแดด จอคอมพิวเตอร์ iPhone iPad
- กลิ่นบางอย่าง เช่น กลิ่นบุหรี่ กลิ่นควันรถยนต์ กลิ่นน้ำหอมแรง ๆ รวมทั้ง PM 5
- อาหารบางชนิด เช่น ชา กาแฟ ชีส ช็อกโกแลต ผงชูรส
- นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่หลับ นอนกรน หยุดหายใจกลางคืน
- ความเครียด
- อากาศร้อน
- ผู้หญิงมักจะมีอาการก่อนมีประจำเดือนหรือตอนประจำเดือนรอบนั้นกำลังจะหมด
ตัวกระตุ้นเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ทุกคนเพียงแต่คนที่เป็นโรคคือ มีความไวต่อตัวกระตุ้นมากกว่าบุคคลอื่นทั่วไป
การรักษาอาการปวดศีรษะ ที่ถูกต้องคือการทานยาให้เร็วที่สุด ตั้งแต่ตอนที่มีอาการน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ ปรับยาจนสามารถคุมอาการได้ นอกจากนั้นในบางรายต้องใช้ยาเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะไม่ให้เป็นบ่อย ซึ่งยากลุ่มนี้ก็จะมีหลายชนิดแล้วแต่การตอบสนองของแต่ละบุคคล ทั้งยารับประทาน Botox หรือยาฉีดเพื่อป้องกันการปวดศีรษะ (ยาพุ่งเป้าเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะ-Targeted Therapy for Migraine)
ในปัจจุบันยาชนิดนี้ใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งเป็นยาที่ไปออกฤทธิ์ในการยับยั้งโปรตีนที่กระตุ้นให้เรามีอาการปวดศีรษะ (CGRP antagonist) โดยเป็นยาฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง เพื่อควบคุมไม่ให้มีอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ ซึ่งยากลุ่มนี้ได้ผลดีกว่ายารับประทานโดยสามารถ ลดความถี่ในการปวดศีรษะได้ค่อนข้างมากถึงเกือบ 60% เทียบกับยารับประทานที่ได้ผลประมาณ 30 % (ความหมายของคำว่าได้ผล (Response rate) ใช้หลักการว่าสามารถลดความถี่ของการปวดปวดศีรษะได้อย่างน้อย 50 %)รวมทั้งผลข้างเคียงพบได้น้อยมาก และไม่รุนแรง
อีกประเด็นที่มีคนไข้ถามบ่อยมากครับ "ว่าจะรู้ได้อย่างไร? ว่าการปวดศีรษะ เป็นการปวดศีรษะธรรมดา หรือปวดศีรษะไมเกรน หรือเป็นจากมีอะไรผิดปรกติของสมอง" จริง ๆ
ผมมองว่าสิ่งที่สำคัญกว่าคือ ต้องทราบว่าการปวดศีรษะแบบไหน ที่มีโอกาสเสี่ยงของการจะมีสิ่งผิดปรกติของสมอง มากกว่าการจะวินิจฉัยด้วยตนเองว่าเป็นโรคไมเกรนหรือไม่ ประเด็นนี้อยากให้มาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคมากกว่าครับ
อาการหรือสิ่งบ่งชี้เหล่านี้ เป็นตัวช่วยในการสังเกตว่าการปวดศีรษะ อาจจะมีภาวะที่อันตรายที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ถ้ามีอาการหรือภาวะเหล่านี้ แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อทำการวินิจฉัยแยกโรค
ท้ายสุดนี้อยากให้เห็นความสำคัญของการมาพบแพทย์เพื่อรักษาอาการปวดศีรษะ มากกว่าการรับประทานยาเองครับ เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยแยกโรคที่อันตรายหรือรุนแรงออกไป รวมทั้งได้รับการรักษาและแนะนำที่ถูกต้องในการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนครับ
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์โรคระบบสมอง (Neurology Center)) โรงพยาบาลนวเวช โทร. 02 483 9999 I Line: @navavej I www.navavej.com