ไซแมนเทครายงานสถานการณ์ของอีเมลขยะประจำเดือนเมษายน 2551 กฏหมายต่อต้านอีเมลขยะเริ่มแสดงผล ต้อน ‘ราชาแห่งอีเมลขยะ’

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday April 29, 2008 16:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--เอพีพีอาร์ มีเดีย
ไซแมนเทครายงานสถานการณ์ของอีเมลขยะประจำเดือนเมษายน 2551 กฏหมายต่อต้านอีเมลขยะเริ่มแสดงผล ต้อน ‘ราชาแห่งอีเมลขยะ’ จนมุม แต่จำนวนอีเมลขยะเดือนมีนาคม ยังคงพุ่งอย่างไม่ลดละ ยอดสูงสุดเกือบทะลุ 88 เปอร์เซ็นต์
ไซแมนเทครายงานสถานการณ์ของอีเมลขยะประจำเดือนเมษายน 2551 จำนวนอีเมลขยะขยับตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 81 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนอีเมลทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบ และยังคงพุ่งสูงขึ้นจนเกือบทะลุ 88 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกายังคงครองความเป็นต้นกำเนิดหลักของอีเมลขยะ ซึ่งมีอัตราส่วนของการแพร่กระจายสูงถึงหนึ่งในสามของการแพร่กระจายอีเมลขยะทั้งหมด
นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิค บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า “จำนวนอีเมลขยะยังคงขยายตัวอย่างไม่ลดละ ทำให้อีเมลขยะประจำเดือนมีนาคม 2551 พุ่งต่อเนื่องจนสูงถึงเกือบ 88 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา (กุมภาพันธ์ 2551) ในราว 9.5 เปอร์เซ็นต์ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ราชาสแปมเมลชื่อกระฉ่อน "โรเบิร์ต โซโลเวย์” (Robert Soloway) ได้ถูกฟ้องโทษฐานความผิดในการกระจายอีเมลขยะ รวมถึงกรณีของนายเจเรมี เจย์เนส (Jeremy Jaynes) ถูกศาลของรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 9 ปี ภายใต้กฎหมายการต่อต้านอีเมลขยะ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการทางกฏหมายเริ่มเข้ามาจัดการกับปัญหาเหล่านี้มากขึ้น”
นอกจากนี้ในรายงานยังได้ระบุถึงประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่
- การส่งสแปมแบบเด้งกลับ (Spammer Bounce Back) สิ่งที่ผู้ดูแลระบบรับส่งอีเมล (MTA) เริ่มให้ความตระหนักมากขึ้น ปัจจุบันสแปมเมอร์ได้ฉวยโอกาสจากรูปแบบการทำงานของโปรแกรมรับส่งอีเมล (MTA) ที่จะส่งคืนจดหมายที่ไม่ถึงผู้รับ โดยการปลอมแปลงนั้น เป็นได้ทั้งในรูปแบบปลอมผู้รับหรือปลอมผู้ส่ง เช่น คุณเคยได้รับอีเมลสแปมที่ถูกส่งจาก ผู้ส่งซึ่งเป็นอีเมลของคุณบ้างไหม? อีกกรณีหนึ่งก็คือ การสุ่มรายการอีเมลผู้รับ หากผู้รับไม่มีตัวตนอยู่จริงก็จะมีอีเมลแจ้งกลับไปยังสแปมเมอร์หรือหากมีตัวตนอยู่จริงก็จะไม่มีอีเมลเด้งกลับ ทำให้ผู้ส่งสแปมสามารถรับรู้ตัวตนของอีเมลดังกล่าวได้
- เหล่าสแปมเมอร์ในทวีปยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา จับกระแสสังคมออนไลน์ (EMEA Spammer Get Social) เหล่าบรรดาสแปมเมอร์ในทวีปยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกาบางแห่ง ได้พยายามส่งเสริมให้มีการสมัครเข้าร่วมเว็บไซต์สังคมออนไลน์ (Social Networking) ตัวอย่างเช่น อีเมลสแปมที่โปรโมท เวบไซต์ประเภทนี้พยายามถูกส่งถึงลูกค้าของไซแมนเทคกว่า 2 ล้านราย
- สแปมเมอร์แฝงไวรัสไว้ในอีเมลการจ่ายคืนภาษีรายได้ (Spammers offer Virus, Not tax day refund) ด้วยเวลาที่ใกล้ถึงวันที่ 15 เมษายน อันเป็นวันสุดท้ายที่จะยืนแบบเสียภาษีของอเมริกา, ไซแมนเทคพบข้อความอีเมลสแปมที่ปลอมตัวเองเป็นหน่วยงานสรรพากร (IRS) หรือโปรแกรมไวรัสที่อยู่ในรูปของโปรแกรมคำนวนภาษี
- อีเมลสแปมในรูปแบบไฟล์แนบพยายามกลับมา (Attachment Spam Makes a Weak Attempt a Comeback) เราได้พบเห็นความพยายามของสแปมเมอร์ที่จะกลับมาโดยใช้เทคนิคไฟล์แนบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไฟล์ประเภท zip เพื่อใช้หลบเลี่ยงการตรวจจับ แต่วิธีการดังกล่าวก็ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก โดยมีสัดส่วนเพียง 0.5% ของสแปมทั้งหมดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
- เทคนิค 419 Spammers มุ่งโจมตีจากฟุตบอลโลกปี 2010 ที่แอฟริกาใต้ (419 Spammers’ Aim for 2010 South African World Cup) เทคนิคการหลอกล่อในสแปมแบบ 419 Spam Scam ได้กลับมาอีกครั้ง แต่มีการปรับเปลี่ยนโดยอยู่ในรูปการแจ้งผู้รับว่าเป็นผู้โชคดีรับรางวัล 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากโครงการโปรโมทฟุตบอลโลกปี 2010 ที่แอฟริกาใต้ โดยผู้รับสิทธิต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อจัดส่งเงินรางวัลดังกล่าวให้
- ทำเนียบแห่งความอัปยศ - อีเมลขยะประเภทเสนอขายบริการทางเพศทางโทรศัพท์ (Hall of shame: Phone Sex Sells) ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา เหล่าสแปมเมอร์ในประเทศจีน ได้อาศัยความนิยมเกี่ยวกับ “การขายบริการทางเพศ” มาสร้างรูปแบบใหม่ในการโจมตีโดยคราวนี้ มุ่งเน้นที่การเสนอขายบริการทางเพศ ผ่านทางโทรศัพท์
เกี่ยวกับ ไซแมนเทค
ไซแมนเทค เป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่องค์กร ทั้งในระดับเอ็นเตอร์ไพร์ซและองค์กรส่วนบุคคลในเรื่องการใช้งานข้อมูลร่วมกัน รวมถึงความพร้อมในการเรียกใช้และความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่คิวเปอร์ติโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีศูนย์ปฏิบัติการอยู่กว่า 40 ประเทศ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.symantec.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด
คุณฐิติมา ราชสมบัติ 02-655-6633, 085-360-7224 thitima@apprmedia.com
คุณกณวรรธน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 02-655-6633, 089-990-1911 Kanawat@apprmedia.com
โทรสาร : 02-655-3560

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ