ท่ามกลางเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกการทำงานอย่างรวดเร็ว และแม้ว่า AI จะถูกพัฒนาให้ล้ำแค่ไหน หุ่นยนต์ก็ไม่สามารถทำทุกสิ่งที่มนุษย์ทำได้เสมอไป โดยเฉพาะความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์ด้วยกันเองอย่างลึกซึ้งหรือที่เรียกว่า "Empathy" ที่นับวันจะยิ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับองค์กรธุรกิจ การมี Empathy ถือเป็นแผนที่นำทางไปสู่การเข้าใจโลกของผู้บริโภคหรือลูกค้าอย่างตรงจุด ว่ากำลังต้องการสิ่งใด เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ ทั้งยังช่วยจุดประกายให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในองค์กร เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลที่หลายองค์กรต้องการปลูกฝัง Empathy ให้กลายเป็นค่านิยม และวัฒนธรรมขององค์กร โดยลงทุนซื้อคอร์สอบรมบุคลากรด้วยงบประมาณจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม จากสถิติทั่วโลกพบว่า มีพนักงานที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จริงได้เพียง 12% หมายความว่าอีก 88% เรียนแล้วไม่เกิดประโยชน์ เพราะเป็นเพียงการเรียนรู้ที่ทฤษฎี และขาดการลงมือฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายจึงกลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า
จะมี Empathy ไม่ใช่แค่เข้าใจ แต่ต้องลงมือทำจึงสำเร็จ
คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง SEAC (ซีแอค) กล่าวว่า "การมีทักษะเข้าใจความคิดคนอย่างลึกซึ้ง หรือการมี Empathy ไม่ใช่สิ่งที่จะเรียนรู้ได้จากหน้ากระดาษเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยการฝึกลงมือทำ และเข้าไปคุยกับผู้คนจริงๆ SEAC (ซีแอค) ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาศักยภาพผู้นำ บุคลากร และองค์กร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้พัฒนา 6 เครื่องมือเร่งให้เกิดการนำไปใช้จริง หรือ 6 Learning Labs หนึ่งในองค์ประกอบของนวัตกรรม SEAC's SMART Learning ที่จะช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ มาเสริมพลังทำให้การเรียนรู้ในองค์กรนั้นก้าวข้ามขีดจำกัดของหน้ากระดาษมาสู่การปฏิบัติจริงในชีวิต เราต้องเข้าใจว่าคนที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นได้ มักจะไม่เรียนให้จบแค่ในห้องเรียน แต่ต้องตระหนักรู้ว่าสามารถนำความรู้ไปใช้ต่อยอดและสอดคล้องกับชีวิตจริงได้อย่างไร ถ้าต้องการประสบความสำเร็จต่อเนื่อง เราจะต้องเรียนเพื่อนำไปใช้อย่างชาญฉลาด"
โดยเมื่อไม่นานมานี้ SEAC (ซีแอค) ได้จัดงานทีมีชื่อว่า Learning Labs Transforming Knowledges into Real-Life Application ศูนย์ทดลองการเรียนรู้สู่การนำไปใช้ได้จริง ให้กับฝ่ายพัฒนาบุคลากรจากองค์กรต่างๆ ได้มาสัมผัสการเพิ่มพูนทักษะ Empathy ผ่านการใช้เครื่องมือ 6 Learning Labs เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและนำไปใช้ในการทำงานได้จริง โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์กรินทร์ โปสาภิวัฒน์ และ ดร.สมชาติ วิศิษฐ์ชัยชาญ สองที่ปรึกษาอาวุโสของ SEAC (ซีแอค) เป็นผู้นำคลาส โดยอิงการออกแบบกิจกรรมจาก 3 ตัวเร่งสำคัญที่องค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้
หนึ่ง ให้เวทีฝึกซ้อมใช้ หรือ Skills Practice Lab หัวข้อหลักในกิจกรรมนี้เน้นไปที่ Empathy หรือการเข้าใจผู้คนอย่างลึกซึ้ง เริ่มต้นจากผู้เรียนระบุสิ่งที่ต้องการพัฒนา ที่สื่อถึงความเข้าใจและความร่วมมือ เช่น การฟังโดยไม่ตัดสินไปก่อน การตั้งคำถาม และการสังเกตอารมณ์ของอีกฝ่าย เป็นต้น จากนั้นเข้าสู่สถานการณ์จำลอง และบทบาทสมมติที่มีโจทย์เกี่ยวกับ Empathy Interview กับผู้ใช้จริง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกใช้ทักษะ Empathy ให้ชำนาญก่อนนำไปใช้ในการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สอง สร้างพื้นที่แบ่งปันความคิด และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง หรือ Community of Practice Lab เพื่อสร้างความมั่นใจที่จะลองใช้ทักษะ ที่ทำให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนข้อมูล แบ่งปันความคิด และแนวทางการปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นสำเร็จหรือล้มเหลว เพื่อนำไปสู่การแก้ไขที่มีประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดยให้สำคัญกับขั้นตอนต่อไปนี้ 1. มอบหมายภารกิจในการปฏิบัติจริง: ให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดโอกาสในการทดลอง และฝึกฝนก่อนมาแลกเปลี่ยนกัน 2. ทบทวนชุดเครื่องมือและชุดทักษะ: เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Empathy รวมถึงเครื่องมือและชุดทักษะที่เกี่ยวข้อง ผู้เรียนจะได้พัฒนาความเข้าใจของตนเองให้มากยิ่งขึ้น 3. แบ่งปันความท้าทาย และความสำเร็จ: ให้ผู้เรียนแบ่งปันประสบการณ์ที่พบเจอในการปฏิบัติจริง เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลว เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ และเรียนรู้ด้วย
สาม ตั้งเป้าหมาย และกำหนดแผนการประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้ ด้วย STAR Framework ที่ประกอบด้วย Situation (การกำหนดสถานการณ์), Try (กำหนดสิ่งที่พยายามจะเปลี่ยนแปลง), Actions (เลือกขั้นตอนปฏิบัติการ) และResult & Reflection (การสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากผลลัพธ์) เพื่อปิดท้ายกิจกรรมลงด้วยการตกผลึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ ว่าอะไรได้ผล และอะไรไม่ได้ผล เพื่อการประยุกต์ใช้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต
กิจกรรมเหล่านี้เป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ทักษะ Empathy ให้ได้ผล และเป็นสิ่งที่องค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาคนในองค์กรให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่ตั้งเป้าไว้
SEAC มุ่งออกแบบโซลูชันสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่จะช่วยให้องค์กรทำเทรนนิ่งแล้วเกิดผลลัพธ์อย่างแท้จริงขึ้นมา โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นไปในเรื่องของการฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือเป็นกลุ่ม การวางแผนการนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ และพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ที่ออกแบบมาเพื่อเร่งการสร้างความเข้าใจในเนื้อหา และการประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อเสริมสร้างให้พนักงานของท่านมีทักษะและกรอบความคิดใหม่ได้สำเร็จ
หากองค์กรใดต้องการเจาะลึกในรายละเอียดการสร้างเทรนนิ่งที่ได้ผลสัมฤทธิ์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3nxlgCd