นอกจากแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอันสวยงาม วัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และอาหารรสชาติอร่อยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยยังมีความโดดเด่นอีกหลาย ๆ ด้านที่ล้วนดึงดูดให้ชาวต่างชาติมาเยี่ยมเยือนและอยู่พักอาศัยมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อค้นดูสถิติจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานประเทศไทย (International Organization for Migration (IOM) Mission in Thailand) พบว่า ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 3.7 ล้านคนในปี 2557 เป็น 4.9 ล้านคนในปี 2561 และมีแนวโน้มเพิ่มทุกปี ข้อมูลดังกล่าวยังสอดคล้องกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยยอดเงินโอนเพื่อซื้ออาคารชุดไทยจากชาวต่างชาติ ที่พุ่งสูงขึ้นหลังการคลี่คลายของสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 63,197 ล้านบาท นอกจากนี้หลังจากที่ รัฐบาลไทยได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ ทำให้ชาวต่างชาติที่ผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดจะสามารถซื้อและเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้ โดยต่างชาติที่มีเงินโอนสูงสุด ได้แก่ ฮ่องกง 12,106 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 11,607 ล้านบาท สิงคโปร์ 7,827 ล้านบาท สหราชอาณาจักร 5,509 ล้านบาท ไต้หวัน 2,353 ล้านบาท ญี่ปุ่น 1,043 ล้านบาท และจีน 900 ล้านบาท
ทั้งนี้ ประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร มี 5 ปัจจัยหลักที่ดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน และเลือกให้เป็นบ้านหลังที่สองของพวกเขา ดังต่อไปนี้:
- ประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางการแพทย์และการบริการด้านการดูแลรักษาระดับโลก ซึ่งข้อมูลจาก CEOWORLD Magazine 2564 ระบุว่า ประเทศไทยมีระบบการแพทย์ที่ดีที่สุดเป็นลำดับที่ 13 ของโลกตามหลังประเทศในเอเชียด้วยกันเพียงเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น เท่านั้น ในขณะเดียวกัน รายงานจาก Medial Tourism Association 2562 เกี่ยวกับค่ารักษาทางการแพทย์ ระบุว่าประเทศไทยมีค่ารักษาพยาบาลที่ถูกที่สุด เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ในการผ่าตัดเฉพาะทาง เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด การทำบายพาสหัวใจ การผ่าตัดมดลูก การทำเลสิค การทำรากฟันเทียม และการปลูกถ่ายเต้านม เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าค่ารักษาโรคต่าง ๆ ในไทยมีราคาถูกกว่าประเทศแถบยุโรปถึง 30% และสหรัฐอเมริกากว่า 70%
- นอกจากเรื่องราคาแล้ว บุคลากรทางการแพทย์ในไทยยังมีคุณภาพสูง เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคเฉพาะทางในศาสตร์ต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังโด่งดังด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) เพราะประเทศไทยเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนเพื่อรักษาตัวจากอาการป่วยหรือหลังการผ่าตัด เนื่องจากมีการให้บริการอย่างสะดวกสบายและครบครัน โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนในไทยที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้พักผ่อนในโรงแรมหรู
- กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาแบบนานาชาติได้กว่า 80 แห่ง ซึ่งสังคมของโรงเรียนนานาชาติมีทั้งเด็กไทยและบุตรหลานของผู้ปกครองชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยในประเทศ โดยโรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพฯ ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ตามหลักสูตรแบบ British English 46% American English 28% IB 15% Singapore 6% International 6% และแบบนานาชาติอื่น ๆ 30% ซึ่งถือเป็นหลักสูตรมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ในเรื่องภาษา โรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพฯ สอนโดยใช้ภาษาอังกฤษกว่า 90% ตามด้วยภาษาไทย 8% ภาษาจีน 8% ญี่ปุ่น เยอรมัน และอื่น ๆ 1% ทำให้มั่นใจได้ว่าเด็ก ๆ จะได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษและภาษาที่ 2 3 หรือ 4 ได้ตามความต้องการ นอกจากนี้เมื่อนักเรียนถึงระดับชั้นที่กำหนดไว้ แต่ละโรงเรียนจะมีการจัดเรียน IGCSE และ A-Level การจัดสอบ SAT/ACT รวมถึงวิชาบังคับตามกลุ่มการศึกษาต่าง ๆ ที่สามารถใช้ยื่นรับรองเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศได้อีกด้วย
- อีกปัจจัยหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือค่าเล่าเรียน เมื่ออ้างอิงข้อมูลจาก International School Database 2564 พบว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีอัตราเฉลี่ยด้านค่าเล่าเรียนเป็นลำดับที่ 14 ของภูมิภาค เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น ปักกิ่ง ที่มีอัตราค่าเทอมสูงเป็นอันดับ 1 ตามด้วยเซี่ยงไฮ้(2) โซล(5) สิงคโปร์(6) โตเกียว(8) ไทเป(11) เกียวโต-โอซาก้า-โกเบ(13) เป็นต้น โดยราคาเฉลี่ยของโรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ 485,122 บาท โดยค่าเทอมต่อปีอยู่ระหว่าง 260,000-760,000 บาท ดังนั้นกรุงเทพฯ จึงถือเป็นเมืองที่เหมาะสำหรับการศึกษาของบุตรหลานชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยคุณภาพระดับมาตรฐานสากลในราคาย่อมเยากว่าประเทศอื่นในเอเชีย
- หลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้วีซ่าแบบใหม่เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเศรษฐกิจในประเทศ Long-term Residence VISA (LTR) จึงได้ถูกประกาศใช้เพื่ออนุญาตให้ชาวต่างชาติกลุ่มที่เข้าเกณฑ์สามารถเข้ามาพำนักในไทยได้ ซึ่งได้แก่ 1. Wealthy Global Citizens (บุคคลที่มีทรัพย์สินอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญสหรัฐ) 2. Wealthy Pensioners (ผู้เกษียณที่มีอายุ 50 ปี หรือมากกว่า โดยมีเงินบำนาญรายปี หรือ passive income ที่มั่นคง) 3. Work-From-Thailand Professionals (ผู้ที่ทำงานให้บริษัทใหญ่ในต่างประเทศที่สามารถทำงานจากที่ใดก็ได้) 4. Highly skilled professionals (ผู้ชำนาญการที่ทำงานให้บริษัท สถาบันการศึกษาขั้นสูง ศูนย์วิจัย สถาบันการอบรมพิเศษในประเทศไทย หรือเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย) และ 5. ครอบครัวของผู้ถือวีซ่าข้างต้นจะได้สิทธิประโยชน์แบบเดียวกันกับผู้ถือ โดยวีซ่า LTR รูปแบบใหม่นี้ ชาวต่างชาติจะได้สิทธิ์ในการทำวีซ่าเป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อพำนักในประเทศไทย (การยื่นครั้งแรกจะได้สิทธิ 5 ปี สามารถขยายเวลาต่อได้อีก 5 ปี หากมีคุณสมบัติครบถ้วน) รวมถึงช่วยเอื้อผลประโยชน์ในด้านภาษี 17% สำหรับผู้ชำนาญการ และการยกเว้นภาษีสำหรับรายได้จากต่างประเทศ
- ดังนั้นการอนุมัติวีซ่าดังกล่าวจะเพิ่มความสนใจจากกลุ่มบุคคลต่างชาติที่มีศักยภาพสูง ให้เข้ามาทำงาน อยู่อาศัย และลงทุนซื้ออสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของไทยมากขึ้นอย่างแน่นอน โดยรายงานจาก U.S. News & World Report 2565 ระบุว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลกสำหรับประเทศที่น่าเริ่มต้นธุรกิจ และอันดับที่ 19 ของโลกด้านประเทศที่ดีที่สุดสำหรับการทำงาน
- ข้อมูลจาก International Living 2566 พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการพำนักหลังเกษียณเป็นลำดับที่ 9 ของโลก และเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ติดลำดับในรายงานฉบับนี้อีกด้วย ซึ่งตัวกระตุ้นหลักสำหรับการอยู่อาศัยระยะยาวในต่างแดนคงหนีไม่พ้นปัจจัยเรื่องคุณภาพชีวิตที่คุ้มค่ากับการอยู่อาศัย ยิ่งไปกว่านั้นเมื่ออ้างอิงผลสำรวจจาก Holidu บริษัทผู้ให้บริการค้นหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ในปี 2564-65 พบว่า กรุงเทพฯ ครองตำแหน่งสูงสุดในการเป็นเมืองที่เหมาะสำหรับ 'workation' (work + vacation) หรือเมืองที่เหมาะกับการทำงานและท่องเที่ยวที่สุดในโลก เนื่องจากกรุงเทพฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมที่หลากหลาย ค่าครองชีพที่เอื้อมถึง สิ่งอำนวยความสะดวกคุณภาพสูง คนในเมืองจำนวนมากสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างเชี่ยวชาญ และกรุงเทพฯ ยังมีสำนักงานของบริษัทต่างชาติหลายแห่งในเมืองอีกด้วย
- อีกทั้งผลสำรวจ InterNations 2022 ที่ทำการสำรวจชีวิตคนที่ย้ายไปทำงานต่างประเทศ พบว่ากรุงเทพฯ ได้รับคะแนนด้านการเงินและที่พักอาศัยยังสูงเป็นลำดับที่ 4 โดยหากดูจากสถิติของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ตามจากเว็บไซต์ Onelifepassport พบว่า ค่าครองชีพในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ถูกกว่าการใช้ชีวิตในนิวยอร์กซิตี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ถึง 5 เท่า หรือสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียงใช้จ่ายประมาณ $630 ถึง $2,100 ต่อเดือน ในขณะเดียวกันยังสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมอย่าง เชียงใหม่ หัวหิน ภูเก็ต และหมู่เกาะอันงดงามต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วในราคาถูกแต่บริการชั้นยอด ดังนั้นกรุงเทพฯ จึงถือเป็นแหล่งรวมของชาวต่างชาติและผู้เกษียณอายุที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตในราคาที่คุ้มค่าที่สุด
- สำหรับชาวต่างชาติแล้วคงไม่มีที่ไหนน่าลงทุนในที่อยู่อาศัยมากกว่าไปว่ากรุงเทพฯ ที่พร้อมด้วยความคุ้มค่าของการอยู่อาศัยใกล้สวนสาธารณะกลางเมือง วิวอันสวยงาม การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกครบทุกด้าน ซึ่งอาจนำไปสู่มูลค่าการขายต่อที่สูงขึ้น โดยหากเจาะลึกด้านทำเลทองแล้ว นักลงทุนต่างชาติอาจมองเห็นศักยภาพในการสร้างรายได้จากค่าเช่าที่มั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือตั้งอยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง
- รายงานของ Knight Frank พบว่าที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ที่ติดสวนสาธารณะ และมีทิวทัศน์น่าดึงดูดจะเป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยที่มีวิวสวนสาธารณะหลักของเมือง จะมีราคาโดยเฉลี่ยสูงกว่า เมื่อเทียบกับที่อยู่อาศัยในระดับเดียวกันที่ไม่มีวิวสวนถึง 34% โดยที่อยู่อาศัยพร้อมวิวสวนสาธารณะไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต นอกจากนี้ผลการสำรวจจาก The Urban Land Institute The Case for Open Space ยังพบอีกว่า 85% ของผู้อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ระบุว่าความใกล้ชิดกับสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น พื้นที่เปิดโล่ง เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยของพวกเขา ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเหตุใดอสังหาริมทรัพย์ริมสวนสาธารณะอย่าง Hyde Park ลอนดอน Central Park นิวยอร์ก Hickson Park ซิดนีย์ หรือแม้กระทั่ง The Botanical Garden ที่สิงคโปร์ จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้หากเปรียบให้เห็นภาพมากขึ้นกับกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้นสวนลุมพินี ซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่อันเปรียบเสมือนปอดของกรุงเทพฯ พร้อมด้วยแหล่งกิจกรรม การท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ และถือเป็นตัวแทนของพื้นที่สีเขียวและความงดงามของเมืองกรุงอย่างแท้จริง
คุณละเอียด โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิมานสุริยา จำกัด ผู้พัฒนาโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค กล่าวถึงการเข้ามาลงทุนในอสังหาฯ ไทยของต่างชาติว่า "หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ชาวต่างชาติเล็งเห็นถึงข้อดีของการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเพื่ออยู่อาศัยในระยะยาวมากขึ้น เพราะผู้คนทั่วโลกให้ความสำคัญถึงการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดีต่อกายและใจให้ตัวเองและครอบครัว ซึ่งกรุงเทพฯ สามารถตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเพราะการที่เรามีระบบสาธารณะที่ครอบคลุม ใกล้ตัว และคุณภาพสูง เช่น สถานพยาบาลและสถานศึกษาที่ล้วนคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการบริการที่ได้รับและเหมาะกับการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั้งหมดนี้จึงเป็นปัจจัยที่น่าดึงดูดสำหรับชาวต่างชาติ และยังสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทยได้อีกด้วย"
โครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เมกะโปรเจกต์รูปแบบมิกซ์ยูส พร้อมแล้วที่จะมาเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่บนพื้นที่หัวมุมถนนสีลม-พระราม 4 เพื่อตอบสนองความต้องการของการอยู่อาศัยในใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยในส่วนของโรงแรมดุสิตธานีโฉมใหม่ระดับ 6 ดาว จะพร้อมเปิดให้บริการเป็นเฟสแรกในช่วงกลางปี 2567 และโครงการที่พักอาศัย ดุสิต เรสซิเดนเซส และ ดุสิต พาร์คไซด์ จะทยอยเริ่มโอนในช่วงปลายปี 2568 เพื่อเป็น "Here for Bangkok" ที่เอื้อต่อไลฟ์สไตล์ของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในกรุงเทพฯ ทุกคน