งานประชุม Cybersecurity Weekend ครั้งที่ 9 ของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก เผยข้อมูลเจาะลึกว่า AI จะเข้ามาป่วนโลกได้อย่างไร และผู้เชี่ยวชาญจะกำหนดแนวทางปกป้องเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นได้อย่างไร
AI สามารถเอาชนะมนุษย์ได้หรือไม่? ChatGPT เป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบมนุษย์หรือไม่?
AI (Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์) ได้กลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และอื่นๆ การเปิดตัว ChatGPT ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ก่อให้เกิดการสนทนาและการถกเถียง เนื่องจาก AI ส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัดของเทคโนโลยีโครงข่ายประสาทเทียมนี้ และเผยให้เห็นศักยภาพของ AI ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก
แคสเปอร์สกี้จัดงานประชุมประจำปี Cyber Security Weekend สำหรับสื่อมวลชนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) เพื่อเจาะลึกเกี่ยวกับการทับซ้อนกันระหว่าง AI และอนาคตด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ การประชุมครั้งนี้มีชื่อว่า "Deus Ex Machina: Setting Secure Directives for Smart Machines" มีเป้าหมายเพื่อวางแบบแผนที่ปลอดภัยเมื่อโลกยอมรับการมาของ AI
แคสเปอร์สกี้เองก็ได้ดำเนินการปฏิวัติหลายๆ สิ่งมายาวนาน โดยการค้นหาวิธีพัฒนาระบบไอทีด้วยการป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม นั่นคือ "Cyber Immunity" หรือ ภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์
ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับ ChatGPT คือ การที่อาชญากรไซเบอร์สามารถใช้ประโยชน์จาก ChatGPT เพื่อเพิ่มการโจมตีแบบฟิชชิงและมัลแวร์ได้ แนวคิด Cyber Immunity ของแคสเปอร์สกี้บ่งชี้ว่าการโจมตีทางไซเบอร์ส่วนใหญ่นั้นจะไม่มีประสิทธิภาพ และจะไม่สามารถส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันที่สำคัญของระบบได้ หากเตรียมการไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบแรกเริ่ม
นายยูจีน แคสเปอร์สกี้ ซีอีโอของบริษัทแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "Cyber Immunity ของแคสเปอร์สกี้ได้รับเครื่องหมายการค้าทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วยระบบที่ปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ จึงทำให้สามารถสร้างโซลูชันที่จะไม่โดนรุกล้ำแทรกแซงได้เลย และยังลดจำนวนช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น ในยุคที่ทั้งคนดีและคนเลวสามารถใช้เทคโนโลยีได้เหมือนกัน การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์รูปแบบเดิมๆ จึงไม่เพียงพออีกต่อไป เราจำเป็นต้องปฏิวัติการป้องกันของเราเพื่อสร้างโลกดิจิทัลที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น"
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในระดับแนวหน้าของการปฏิวัติ AI การศึกษาล่าสุดของ IDC ระบุว่าการใช้จ่ายด้าน AI ของภูมิภาคนี้จะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในสามปี จาก 9.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566 เป็น 18.6 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2569
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการพึ่งพาทักษะทางเทคนิค เอ็นเทอร์ไพรซ์ระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกจึงตั้งค่าให้ฝัง AI ไว้ในเทคโนโลยีทางธุรกิจภายในเวลาสามปี ปัจจุบัน
ปัจจุบันขนาดของตลาด AI ในเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 22.1 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเติบโตเกือบสี่เท่าภายในปี 2571 ที่ 87.6 พันล้านดอลลาร์
นายเอเดรียน เฮีย กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "บริษัทต่างๆ ตระหนักถึงวิธีการใช้ประโยชน์จากพลังของ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์ ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงปรับปรุงซัพพลายเชนเพื่อผลกำไรที่ดีขึ้น รายงานของ IDC ระบุเน้นว่าจีน ออสเตรเลีย และอินเดียเป็นผู้นำหลักสามรายที่มีการใช้จ่ายด้าน AI ของภูมิภาค และผมเชื่อว่าประเทศอื่นๆ จะดำเนินตามเช่นกัน นั่นทำให้ขณะนี้แคสเปอร์สกี้จัดทำแผนกลยุทธ์ที่ปลอดภัยในการนำ AI ไปใช้และปรับใช้งานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์ของ AI โดยไม่กระทบต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์"
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Kaspersky Cyber Immunity โปรดไปที่เว็บไซต์
https://os.kaspersky.com/technologies/cyber-immunity/