15 กันยายน 2566 นางสาว ซาราห์ บินเย๊าะ ที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานพิธีเปิด-ปิดและมอบประกาศนียบัตร "โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนำร่อง เรื่อง การป้องกันการแสวงหาประโยชน์ในเด็กและเยาวชน ในบริบทประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน" ซึ่งจัดโดยศูนย์ฝึกอบรมอาเซียนด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม (ATCSW) ณ ห้องประชุมประชาบดี อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมี
ศูนย์ ATCSW ตระหนักว่าสถานการณ์การค้ามนุษย์ ในปัจจุบันมีการเพิ่มขยายขึ้นจากในอดีตที่ผ่านมา และมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป ซึ่งมีทั้งรูปแบบทางตรงและทางอ้อม และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยหนึงในการเพิ่มอัตตราการค้ามนุษย์ทางออนไลน์ เช่น การหลอกลวงเด็กและเยาวชน ผ่านสื่อโฆษณาออนไลน์ และ วิธีการดั้งเดิม
โดยที่วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะต่างๆ อาทิ การสอบสวนเด็กและเยาวชนแบบเป็นมิตรและเหมาะสมกับเด็ก การใช้คำต่างๆ วิธีการพูดและเขียนให้ครอบคลุมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย เยาวชน LGBTIQ การประยุกต์เทคนิคในการจำลองสถานการณ์ การโต้เวที การพูดคุยรอบวง และ ในแง่ทฤษฏี แนวคิด การค้ามนุษย์ ปัญหา บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ในการแก้ปัญหาดังกล่าว กฎหมายและความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันการค้ามนุษย์ กรณีศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ ไทย และ อินโดนีเซีย ในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากยุคโควิดในบทบาทของงานสังคมสงเคราะห์
โดยมีวิทยากรจากภาคีของทางศูนย์ATCSW ได้แก่ Dr.Melba L. Manapol หัวหน้าภาควิชาจากมหาวิทยาลัยในประเทศฟิลิปปินส์ Dr. S. Lopez นักสังคมสงเคราะห์และอาจารย์ จากประเทศฟิลิปปินส์ , Winrock/USAIDม Save the Children, สำนักงานอัยการสูงสุด โดย คุณเสฏฐศิริ เธียรพิรากุล และ สมาคมนักสังคมสงเคราะห์อินโดนีเซีย และวิทยากรอิสระ รวมทั้งวิทยากรจากศูนย์ ผอ.ATCSW คุณวรรณา สุขศรีบูรณ์อำไพ ที่มาร่วมกันถ่ายทอดความรู้ตลอด2วันเต็ม
การอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น นักสังคมสงเคราะห์ และ social service workforce อาทิ นักจิตวิทยา แพทย์ นักบัญชี นักระดมทุน อาสาสมัคร นักวิชาการ นักการศึกษา นักวิจัย เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับเยาวชนและCSR วิสาหกิจเพื่อสังคม จากภาครัฐ, IGO, NGO, INGO, Social Enterprise, เอกชน ทำให้ชั้นเรียนมีความหลากหลาย เชื่อมโยง เครือข่ายให้กว้างออกไป ทั้งทฤษฎี การปฎิบัติ การระดมทุน และทำให้เกิด impact ที่มากขึ้น การอบรมครั้งนี้ผู้เรียนตอบแบบสอบถามอย่างละเอียดและให้คะแนนความพึงพอใจต่อหลักสูตรร้อยเปอร์เซ็นต์ อยากให้มีการจัดอีก และ หลักสูตรยาวกว่านี้
ทางศูนย์ขอขอบพระคุณรัฐบาลไทยในฐานะประเทศผู้บริจาค/เจ้าภาพ โดยภาษีคนไทย และ ขอขอบคุณกระทรวง พม. ในการให้ใช้สถานที่อย่างดียิ่งในการฝึกอบรม ผู้เรียนได้กล่าวขอบคุณทุกฝ่าย และ หากท่านสนใจเป็นภาคีการอบรมกับ ATCSW โปรดติดต่อ adm.atcsw@outlook.com, FB/LinkedIn: ATCSW or Twitter: ASEANTCSW