สองผู้นำด้านการจัดงานแสดงสินค้าระดับโลก เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประกาศความร่วมมือ ผนึกกำลังจัดงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมพลาสติกและยางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปักหมุด จัด 3 ซีรีส์ ของงานพลาสติกแอนด์รับเบอร์ ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป โดยเริ่มจากประเทศไทย งาน 'พลาสติกแอนด์รับเบอร์ไทยแลนด์ 2024' กำหนดจัดวันที่ 15 ถึง 18 พฤษภาคม 2567 ณ ไบเทค กรุงเทพฯ ต่อด้วย "พลาสติกแอนด์รับเบอร์อินโดนีเซีย' และ 'พลาสติกแอนด์รับเบอร์เวียดนาม'
การจัดงานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง ให้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์โดย เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จะช่วยเสริมความพร้อมแก่นักอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจสีเขียว พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงการผลิตแห่งความยั่งยืน ผ่าน 3 งานหลักในภูมิภาค อันได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ความร่วมมือจะมุ่งเป้าไปที่การ ดึงจุดแข็งและความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่าย เพื่อส่งมอบโอกาสและประสบการณ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น ให้กับวงการอุตสาหกรรม
คุณเพตรา คัลแมน กรรมการบริหาร เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เผย "ความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นการต่อยอดพันธมิตรทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมายาวนานในภูมิภาค การรวมงานแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกและยาง ให้ครอบคลุมประเทศไทยและอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป พร้อมยกระดับประสบการณ์ใหม่แก่ลูกค้า โอกาส และการเติบโตทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่ออุตสาหกรรมต้องเผชิญกับเป้าหมายความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียนของอุตสาหกรรม"
ด้วยความเชี่ยวชาญเชิงลึกในภูมิภาคและเครือข่ายของ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผสานด้วยความเชี่ยวชาญด้านภาคอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกและยางระดับโลก ของ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ พร้อมด้วย งาน K Fair ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าสำหรับพลาสติกและยาง อันดับ 1 ของโลก ที่จัดขึ้น โดย เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย จะช่วยขยายและทำให้งานเป็นที่รู้จักในภูมิภาค พร้อมตอบโจทย์การบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ "งานพลาสติกแอนด์รับเบอร์ จึงพร้อมเดินหน้า สู่เวทีระดับภูมิภาคที่ดีที่สุด สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกและยางที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในตลาดศักยภาพสูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" คุณเพตรา คัลแมน กล่าวปิดท้าย
คุณสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย เผยวัตถุประสงค์ความร่วมมือ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ใหม่แก่นักอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดย่อม ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในการผลิตพลาสติกและยางอย่างครบครัน ตลอดจนองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อเสริมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการลดมลพิษจากกระบวนการผลิตตามแนวคิดแห่งความยั่งยืน
อุตสาหกรรมพลาสติกและยางในประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวียดนามมีบทบาทสำคัญในตลาดโลก ประเทศไทยนับเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกและยางชั้นนำในตลาดสำคัญ ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และภูมิภาคอาเซียน ในขณะที่อินโดนีเซียและเวียดนามเป็นผู้เล่นที่สำคัญ ในภาคส่วนนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคและระดับโลก // การร่วมมือในครั้งนี้ พร้อมปักหมุดประเทศไทย พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2024: Plastic & Rubber Thailand 2024" วันที่ 15 ถึง 18 พฤษภาคม 2567 ณ ไบเทค กรุงเทพฯ รวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตพลาสติกและยาง อาทิ การขึ้นรูป วัตถุดิบและเคมีภัณฑ์ การเตรียมผิวชิ้นงาน ระบบอัตโนมัติ อีกทั้งยังเป็นเวทีจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทั้งในไทยและต่างประเทศ เกิดเครือข่ายอุตสาหกรรม อาทิ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ทางการแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุอาคารและก่อสร้าง เทคโนโลยีพลังงานสะอาด
พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2024 จัดร่วมกับงานอินเตอร์แมค งานแสดงเทคโนโลยีและเครื่องจักรเพื่อการผลิต และงานซับคอน ไทยแลนด์ ซึ่งรวบรวมผู้รับช่วงการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ พบกับนักอุตสาหกรรมกว่า 47,000 ราย จากหลากหลายอุตสาหกรรม // "เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของนวัตกรรม การทำงานร่วมกัน และการเติบโตร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของเราในการพัฒนาอุตสาหกรรมและภูมิภาคให้ก้าวหน้า" คุณสรรชาย กล่าวปิดท้าย
ในช่วงเสวนา "ผลกระทบจาก CBAM กับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมพลาสติกและยางไทย" โดย คุณวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก และคุณศิริภัทร โกเอี้ยน ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มงานบริหารบุคคลและความยั่งยืนองค์กร บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง อุตสาหกรรมพลาสติก ปริมาณการผลิตโดยรวมของพลาสติกทุกชนิดในปี 2021 มีถึง 390.7 ล้านตัน ซึ่งที่ผ่านมาพลาสติกถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สำหรับการก่อสร้าง กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับความปลอดภัย และ เครื่องมือทางการแพทย์ สำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกภายในประเทศมีมูลค่ารวมถึง 1.3 ล้านล้านบาท หรือ 6.74% ของ GDP ของประเทศ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับอุตสาหกรรมยางถือเป็นอีกหนึ่งวัสดุสำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์ โดยประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติรายใหญ่รายหนึ่งของโลก ขณะเดียวกันก็มีการผลิตยางสังเคราะห์เพื่อใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออกการใช้ยางทั้ง 2 ประเภท ได้ถูกนำไปทำผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อาทิเช่น ยางรถยนต์ ถุงมือยาง และท่อยาง สำหรับผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไทยมีมูลค่ารวมถึง 4,674 กิโลตัน จึงเห็นได้ว่าทั้ง 2 วัสดุยังคงมีปริมาณความต้องการใช้ที่สูงขึ้น และมีแนวโน้มต่อการนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญมาก
การมาถึงของ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) กับการเตรียมความพร้อมรับมือในอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง //การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ มุ่งสู่ "อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ" และสอดรับตามเป้าหมาย "Net Zero" ของประเทศไทย จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ประกอบการ ในการปรับตัวเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต และที่สำคัญการสร้างมูลค่าทางผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานพลาสติกแอนด์รับเบอร์ไทยแลนด์ www.plasticsrubberthailand.com