สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มีการเรียนการสอนระดับปริญญาโท ระยะเวลาการศึกษา 2 ปีปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา " Master of Music Program (M.M.) "มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในดนตรีอย่างลึกซึ้ง มีความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาดนตรีทั้งในฐานะศาสตร์และศิลป์ มีศักยภาพในการค้นคว้า วิจัย และสร้างความรู้ใหม่รวมทั้งสามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์ดนตรีเชิงนวัตศิลป์ที่มีคุณค่า และสอดคล้องกับบริบทของความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ในปัจจุบัน โดยสามารถประยุกต์ใช้ดนตรีในเชิงบูรณาการ เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ อีกทั้งยังสามารถใช้ความรู้ทางด้านดนตรีเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาศาสตร์ทางด้านดนตรีในอนาคต?จะมาเรียนปริญญาโทที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาได้ไหม?
>> หากคุณชอบเล่นดนตรี ชอบใช้เวลาส่วนใหญ่กับการซ้อม แต่ไม่ถนัดสร้างสรรค์บทเพลงใหม่ๆ หรืออยากทำงานข้ามศาสตร์อะไรมากนักคำตอบคือได้ เพราะเราเชื่อว่าการเล่นดนตรีได้ดี เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์ ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การประพันธ์ หรือการบูรณาการกับศาสตร์อื่น แต่เกิดจากการคิดและตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำอยู่ การตีความบทเพลง การค้นพบสิ่งที่นักประพันธ์ซ่อนไว้ในบทเพลง วิธีการเล่นที่สูญหาย เครื่องดนตรีที่ถูกลืม สิ่งเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างสรรค์ ที่คนยุคปัจจุบันจะตามหาความคิดที่แยบคายของคนในอดีต และต่อยอดไปสู่การทำงานของคนในอนาคต
>> หากคุณหลงรักดนตรีคลาสสิก ชอบความปราณีตบรรจงและความงดงามตามขนบ แต่ไม่อินกับบทเพลงสมัยใหม่ เสียงแปลกๆ และ noise สารพัดสิ่งคำตอบคือมาเลยย เพราะเรามีอาจารย์และเครื่องดนตรีที่พาผู้เรียนไปสัมผัสดนตรีในยุคต่างๆ ได้ แต่เราจะขอให้คุณค้น คิด คุย ถึงการมีอยู่ของมันในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงสร้างสรรค์วิธีใหม่ๆ ในการนำพาให้ดนตรีคลาสสิกที่งดงาม ให้ไปมีพื้นที่และวิถีของการสื่อสารที่ยิ่งจะพาให้คนมาหลงรักดนตรีคลาสสิกที่คุณชื่นชอบได้มากขึ้น>> ไม่คุ้นกับงานวิชาการ อ่านพอได้ แต่ไม่ชอบการเขียนแบบเป็นแบบแผน และไม่อยากทำวิทยานิพนธ์เป็นเล่มๆ แบบที่ไม่มีใครอ่านเข้าใจ จะเรียนปริญญาโทได้ไหมคำตอบคืออย่ากังวล เพราะเราเชื่อว่าดนตรีเป็นส่วนสำคัญของงาน เราจึงไม่จำกัดการสื่อสารว่าจะมีเพียงแค่การเขียนเล่มเท่านั้นที่จะเป็นผลงานการวิจัย แต่เราให้พื้นที่กับสื่อร่วมสมัยอื่นๆ อาทิ Blog, Documentary, Website, Online Exhibition รวมถึงช่องทางอื่นๆ ที่จะช่วยรวบรวมความคิดของคุณไปให้ผู้อ่านได้เข้าใจแนวคิดของคุณ ให้มามีบทบาทอยู่ในรูปเล่มของคุณได้หากมีข้อสงสัย และไม่แน่ใจกับสิ่งที่ได้ยิน สอบถามได้โดยตรงที่ 02 447 8594 ต่อ 3111หรือฟังข้อมูลเพิ่มเติมจากประสบการณ์ศิษย์เก่าป.โท ได้จาก https://bit.ly/3xM8PESดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pgvim.ac.th/postgrad/#PGVIM