ใครที่มีอาการ..ปวดหัวข้างเดียว ปวดตุ้บ ๆ บางครั้งปวดมากจนไม่เป็นอันทำอะไร แถมมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หรือปวดขมับ กระบอกตา ท้ายทอย มีปวดคอ บ่า ไหล่ ร่วมด้วย อาการปวดศรีษะเหล่านี้เรียกว่า "ไมเกรนแท้" และ "ไมเกรนเทียม" ซึ่งมีเหตุปัจจัยที่มาแตกต่างกัน
- อาการปวดหัวไมเกรนแท้ มักมีอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดแบบตุ้บ ๆ เป็นจังหวะ มีอาการปวดค่อนข้างมาก มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย จะมีอาการนำมาก่อน เช่น เห็นแสงไฟระยิบระยับ เห็นภาพเบลอ ก่อนมีอาการปวดหัวประมาณ 10-30 นาที อาจมีสาเหตุจากความเครียด แพ้แสง แพ้กลิ่น แพ้เครื่องดื่มบางประเภท พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด คาดว่าจะเกิดจากสารสื่อประสาทให้สมอง
- อาการปวดศีรษะไมเกรนเทียม มีลักษณะการปวดคล้าย ๆ กัน คือ มีการปวดหัวข้างเดียว ปวดขมับ ปวดกระบอกตา ปวดท้ายทอย มักเป็นเวลาตื่นนอนตอนเช้า หรือ หลังจากนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือขับรถเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ มักมีอาการปวดคอบ่า ปวดหัวไหล่ มีการเคลื่อนไหวคอติดขัดร่วมด้วย สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อที่คอและบ่ามีความตึงตัวมากเกินไป จนเกิดอาการปวดร้าวขึ้นไปถึงบริเวณท้ายทอย หรือขมับ
ในทางการแพทย์แผนจีนมองว่า "การปวดศีรษะไมเกรน" มักมีสาเหตุมาจากภาวะตับร้อน เสมหะอุดกั้น และเลือดคั่ง
วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะทั้งสองแบบที่ได้ผลค่อนข้างดีมาก คือ "การฝังเข็มและการนวดทุยหนา" จะเลือกใช้จุดที่เส้นลมปราณถุงน้ำดี ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่มีการหดเกร็ง เพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดอาการปวดได้ดี กระตุ้นสมองให้หลั่งสารระงับอาการปวด รักษาควบคู่กับการใช้ "ยาสมุนไพร" จะช่วยปรับสมดุลอิน หยาง ระบายความร้อน ขับเสมหะ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทะลวงลมปราณ
นอกจากการรักษาแล้วเราก็ต้องเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงปัจจัยการเกิดโรคเพื่อไม่ให้กลับมามีอาการปวดอีก แพทย์จีนมีแนวทางมาแนะนำ
- ผู้ที่ปวดศีรษะไมเกรนแท้ ควรหลีกเลี่ยงเหตุปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการปวด ได้แก่ ความเครียด ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แจ้งมีแสงจ้า เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การสูบบุหรี่ การอดอาหาร เป็นต้น
- ผู้ที่ปวดศีรษะไมเกรนเทียม หลีกเลี่ยงการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือการขับรถเป็นระยะเวลานาน ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยยืดเหยียด คลายกล้ามเนื้อ ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
เมื่อมีอาการปวดศีรษะทั้งสองแบบ สามารถใช้การนวดคลึงด้วยตัวเองที่ จุดเฟิงฉือ (??) จุดไท่หยาง (??) และ จุดไป่ฮุ่ย (??) จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
- สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111
- เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
- LINE OA: @huachiewtcm
- Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic