SME ไทยเกือบ 40% เริ่มทำธุรกิจด้วยเงินทุนดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของทางเลือกทางการเงินอื่นๆ เพื่อช่วย SME บริหารจัดการกระแสเงินสดให้ดีขึ้น
Funding Societies แพลตฟอร์มการเงินดิจิทัลแบบครบวงจรสำหรับธุรกิจ SME ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานผลการศึกษาพฤติกรรมผู้ประกอบการ SME ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้ SME ในภูมิภาคฯ เริ่มทำธุรกิจด้วยเงินออมส่วนตัว และเงินทุนจากเพื่อนและครอบครัว ซึ่งเห็นได้ชัดในประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์
จาก SME ในภูมิภาคฯ ที่เหลืออีก 30% จำนวน 23% สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารแบบดั้งเดิมได้ ในขณะที่ 7% สามารถเลือกใช้บริการเงินทุนจากบริษัทฟินเทคต่างๆ ซึ่งผลรายงานบ่งชี้ว่า SME ในมาเลเซียสามารถเข้าถึงผู้ให้บริการสินเชื่อทางเลือกได้น้อยที่สุดที่ 3% ในขณะที่ SME ในประเทศเวียดนามและไทยสามารถเข้าถึงผู้ให้บริการสินเชื่อทางเลือกได้มากที่สุดที่ 25% และ 23% ตามลำดับ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นช่องว่างทางการเงินขนาดใหญ่
เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดของธุรกิจในภูมิภาคนี้ Funding Societies จึงได้จัดทำแบบสำรวจกับผู้ประกอบการ SME จำนวน 977 ราย (จำแนกเป็นลูกค้าของ Funding Societies 577 ราย) ใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งจากจำนวนผู้ร่วมตอบแบบสำรวจดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการ SME ขนาดเล็กจำนวน 722 ราย
ภาพรวมเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งสัญญาณที่เป็นบวกบนเส้นทางสู่การฟื้นตัวจากภาวะการหดตัวทางเศรษฐกิจในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้สถานการณ์เศรษฐกิจระดับมหภาคยังคงมีความผันผวนอยู่มาก แต่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงมากนักเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆของโลก สืบเนื่องจากช่วงสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดนวัตกรรมโซลูชันทางการเงินใหม่ๆ อย่างมากมาย เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ SME จากทั้งบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิมและแบบดิจิทัล ถึงแม้ทางเลือกจะมีมากขึ้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า SME จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย
คุณ เคลวิน เตียว ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม Funding Societies | Modalku กล่าว
"รายงานผลการศึกษาฉบับนี้ช่วยยืนยันและส่งเสริมความเข้าใจของเราที่มีต่อธุรกิจ SME เพื่อให้เราสามารถ มอบบริการที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น ผ่านการจัดหาเงินทุนที่มีความสะดวกสบาย และไปสู่การบริหารจัดการเงินสดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์ม Elevate ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา"
พฤติกรรมการชำระเงินของ SME: การพึ่งพาธนาคาร การทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ
การทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ยังคงเป็นวิธีการจ่ายเงินของ SME ที่มีความนิยมสูงสุด โดย SME ในภูมิภาคฯ กว่า 90% ทำการจ่ายเงินแก่ซัพพลายเออร์ด้วยวิธีนี้ และอีก 88% ของ SME ก็รับเงินจากลูกค้าด้วยวิธีนี้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการทำธุรกรรมต่างๆ ด้วยเงินสดยังคงมีนัยยะสำคัญอยู่ในหลายๆ ประเทศ:
- โดย SME ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศอินโดนีเซียบ่งชี้ว่า 51% ของพวกเขายังคงใช้เงินสดเพื่อชำระเงินแก่ซัพพลายเออร์ และรับการชำระเงินด้วยเงินสดจากลูกค้า
- SME ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศมาเลเซียบ่งชี้ว่า 63% ของพวกเขายังรับการชำระเงินด้วยเงินสดจากลูกค้า
- และ SME ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยบ่งชี้ว่า 40% ของพวกเขายังรับการชำระเงินด้วยเงินสดจากลูกค้า
ถึงแม้ธุรกรรมทางการเงินส่วนใหญ่ระหว่างลูกค้าและซัพพลายเออร์จะเกิดขึ้นในประเทศ แต่ผู้ตอบแบบ สอบถามจำนวนถึง 20% ระบุว่าการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนมีความสำคัญต่อพวกเขาด้วยเช่นกัน โดยทัศนคติดังกล่าวมีความเด่นชัดในประเทศสิงคโปร์และเวียดนาม ที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศมากกว่าประเทศอื่นๆ
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ ยังคงเป็นตัวเลือกลำดับแรกๆ ที่ SME นึกถึงเมื่อประสบปัญหาในการจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์
ผลจากการร่วมตอบแบบสอบถามของ SME ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกเลือกใช้มากที่สุดถึง 49% แต่อย่างไรก็ตามในประเทศสิงคโปร์และเวียดนามมีการเลือกใช้บริการจ่ายเงินที่แตกต่างออกไปคือการจ่ายผ่านทางบัตรเป็นหลักที่ 51% และ 49% ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมสภาวะทางการเงินของ SME ใน ภูมิภาคฯ นี้ จะพบได้ว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจยังคงเป็นกำลังสำคัญของ SME ที่อัตราส่วน 41% และตัวเลขของ SME ในอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีอัตราส่วนที่ 66% และ 63% ตามลำดับ ขณะเดียวกันสิงคโปร์แสดงให้เห็นถึงการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์กำลังหลักที่ 33% ในขณะที่ประเทศไทย มีอัตราการใช้สินเชื่อเพื่อธุรกิจเป็นผลิตภัณฑ์กำลังเป็นหลักอยู่ที่ 27% และแฟคตอริ่งที่ 20% ตามลำดับ
รายงานจากผลสำรวจยังชี้ว่า SME คำนึงถึงการจ่ายเงินให้ซัพพลายเออร์เป็นลำดับแรกๆ และ SME มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (รวมถึงสินเชื่อและบัตรเครดิต) และการชำระเงิน (ไปยังซัพพลายเออร์หรือผู้ขายที่อาจไม่มีทางเลือกในการชำระเงินที่ยืดหยุ่น) เป็นความกังวลลำดับที่รองลงมา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยความกังวลอื่นๆ อีกอาทิ
- การจ่ายบิลให้เจ้าหนี้เมื่อถึงกำหนดชำระ (Account payable)
- การได้รับการอนุมัติชำระเงินตามงวดงาน
- การจับคู่ใบแจ้งหนี้กับใบสั่งซื้อและใบเสร็จรับเงิน เพื่อใช้ขอสินเชื่อ
ในส่วนของ SME ที่ร่วมตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์บ่งชี้ว่า SME ให้ความสำคัญต่อการรับการชำระเงิน (account recievables) จากลูกค้ามากกว่าปัจจัยอื่นๆ
พฤติกรรมอื่นๆ ของ SME ที่พบจากผู้ตอบแบบสอบถาม
ค่าใช้จ่าย:
ผลจากผู้ตอบแบบสอบถามทั่วทั้งภูมิภาคฯ ชี้ว่าค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดของพวกเขาคือค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการรายวันเป็นสัดส่วนสูงถึง 32% และค่าสินค้าคงคลังและวัสดุสิ้นเปลืองอยู่ที่ 32% อย่างไรก็ตามสำหรับเวียดนามมีข้อสังเกตที่แตกต่างไปเล็กน้อยคือ ค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดของพวกเขาคือเงินเดือนพนักงาน ซึ่ง SME ทั้งในสิงคโปร์และเวียดนามก็มีความคิดเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
ความภักดีต่อแบรนด์และอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ:
กว่า 45% ของ SME จะเปรียบเทียบข้อเสนอของผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ เพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุด ในขณะที่ 55% มีความพอใจและความภักดีต่อแบรนด์ที่ให้บริการ ซึ่งผลรายงานแสดงให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ SME เปลี่ยนผู้ให้บริการทางการเงิน ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจนในสิงคโปร์ และยังเห็นได้ว่า SME ประมาณ 62% ในภูมิภาคนี้จะเปลี่ยนผู้ให้บริการถ้าไม่พึงพอใจในการรับการบริการ หรือได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในอินโดนีเซียและสิงคโปร์ ในขณะที่ SME ในมาเลเซียและเวียดนามมีแนวโน้มจะเปลี่ยนน้อยที่สุด เนื่องจากเกือบครึ่งพอใจกับประสบการณ์ของแบรนด์ผู้ให้บริการในปัจจุบัน
รายงานผลการศึกษาพฤติกรรมผู้ประกอบการ SME ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านการเงินดิจิทัลและการชำระเงิน (SME Digital Finance and Payments Behaviours: Southeast Asia Report 2023) ถูกจัดทำขึ้นมาเพื่อศึกษาพฤติกรรมและความท้าทายของวิสาหกิจขนาดย่อมและกลาง (SME) เกี่ยวกับการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์การจัดหาเงินทุนแบบดิจิทัล รวมถึงวิธีในการชำระเงินต่างๆ สามารถช่วยคว้าโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจได้อย่างไร