อาการไอ อาจไม่ใช่แค่เป็นหวัด โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ข่าวทั่วไป Wednesday October 18, 2023 09:17 —ThaiPR.net

อาการไอ อาจไม่ใช่แค่เป็นหวัด โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

โดยทั่วไปเรามองอาการไอ ว่าเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่เข้ามารบกวนบริเวณลำคอ หรือทางเดินหายใจ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท

  • อาการไอเฉียบพลัน มีอาการไอต่อเนื่องในช่วง 2-3 สัปดาห์
  • อาการไอเรื้อรังอาจยาวนานต่อเนื่องถึง 8 สัปดาห์ หรือนานกว่า
  • โดยส่วนมากอาการไอมักเป็นอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หลอดลมอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการไอ ได้แก่ การอักเสบเรื้อรังในปอด เช่น วัณโรค หลอดลมอักเสบเป็นหนองเรื้อรัง  ฝีในปอด และมะเร็งในปอด เป็นต้น รวมถึงภาวะลองโควิดที่พบได้มากขึ้นในปัจจุบัน

    ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน อาการไอ (?? เขอ โซ่ว) ถูกแยกออกมาจากโรคไข้หวัดต่าง ๆ อาจเป็นอาการต่อเนื่องหลังจากเป็นไข้หวัดหรือปัจจัยอื่น ๆ อาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมก็ได้ ในมุมมองของการแพทย์แผนจีนมีสาเหตุเกิดจาก ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ทำให้กลไกการทำหน้าที่ของปอดไม่สามารถควบคุมชี่ขึ้นลงเข้าออก ทำให้ชี่ปอดย้อนกลับ  กลุ่มอาการที่พบได้บ่อย มีดังนี้ คือ

  • สาเหตุจากปัจจัยภายนอก
  • กลุ่มอาการลมเย็นกระทบปอด (????) : มักมีอาการไอเสียงทึบ หายใจเร็ว มีเสมหะใสขาว คันคอ ร่วมกับคัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว กลัวลมเย็น มีไข้ ไม่มีเหงื่อเป็นต้น ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรลอย หรือลอยตึง (?????)
  • กลุ่มอาการลมร้อนเข้าสู่ปอด (????) : มีอาการไอเสียงกังวาน ขากเสมหะยาก เสมหะเหนียวหรือเสมหะมีสีเหลือง เจ็บคอคอแห้ง ร่วมกับกลัวลม มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว น้ำมูกเหลืองเหนียว กระหายน้ำ เป็นต้น ฝ้าลิ้นเหลืองบาง ชีพจรลอยและเร็ว หรือลอยและลื่น (??????)
  • กลุ่มอาการลมแห้งทำร้ายปอด (????) : มีอาการไอแห้ง คันคอ เสมหะน้อยหรือไม่มีหรือเหนียวคอ ขากไม่ค่อยออก หรืออาจมีเลือดปนเสมหะ เจ็บคอคอแห้ง ปากแห้งจมูกแห้ง ร่วมกับคัดจมูก ปวดศีรษะ เป็นต้น ลิ้นแดงแห้งไม่ชุ่มชื้น ฝ้าลิ้นเหลืองบางหรือขาวบาง ชีพจรลอย (??)
  • สาเหตุจากปัจจัยภายใน
  • กลุ่มอาการเสมหะความชื้นสะสมที่ปอด (????) : มักมีอาการไอเป็น ๆ หาย ๆ ไอมากโดยเฉพาะช่วงเช้า มีเสมหะเยอะสีขาว หรือเสมหะเหนียวเป็นก้อนๆ รู้สึกแน่นหน้าอก เมื่อขากเสมหะออกแล้วอาการบรรเทา ร่วมกับมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย ท้องอืดแน่นท้อง ถ่ายเหลว เป็นต้น ฝ้าลิ้นขาวเหนียว ชีพจรนุ่มลื่น (???)
  • กลุ่มอาการเสมหะร้อนอุดกั้นปอด (????) : มีอาการไอหอบ หายใจเร็ว มีเสียงเสมหะในลำคอ เสมหะเยอะเหนียวหรือเสมหะมีสีเหลือง ขากเสมหะไม่ค่อยออก หรือเสมหะอาจมีกลิ่นคาว หรืออาจมีเสมหะปนเลือด แน่นหน้าอกและสีข้าง หรือไอแล้วเจ็บหน้าอก ไอจนใบหน้าแดง หรือรู้สึกตัวร้อน ปากแห้งกระหายน้ำ เป็นต้น ฝ้าลิ้นเหลืองบางเหนียว ลิ้นแดงชีพจรลื่นและเร็ว (???)
  • กลุ่มอาการไฟตับทำร้ายปอด (????) : มีอาการไอถี่เป็นระลอก ๆ เวลาไอใบหน้าแดง มักจะมีเสมหะเหนียวติดคอ ขากเสมหะออกยาก เวลาที่ไอรู้สึกเจ็บเสียดหน้าอกและสีข้าง คอแห้งปากขม อาการกำเริบหรือบรรเทาโดยมักจะสัมพันธ์กับอารมณ์ ลิ้นแดงหรือปลายลิ้นแดง ฝ้าลิ้นเหลืองบางหรือไม่ชุ่มชื้น ชีพจรตึงและเร็ว (???)
  • กลุ่มอาการอินของปอดพร่อง (????) : มีอาการไอแห้ง ไอเสียงสั้น ๆ เสมหะเหนียวขาว หรืออาจมีเสมหะปนเลือด เสียงแหบหาย ปากแห้งคอแห้ง ร่วมกับมีอาการตัวร้อนช่วงหลังบ่าย ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน เหงื่อออกกลางคืนขณะหลับ ลิ้นแดงและไม่ชุ่มชื้น ชีพจรเล็กและเร็ว (???)
  • จากกลุ่มอาการข้างต้นจะเห็นได้ว่าอาการไอ อาจไม่ได้มาจากปอดอย่างเดียว อาจมีสาเหตุมาจากอวัยวะอื่นได้เช่นกัน ในคัมภีร์ซู่เวิ่น ยังมีกล่าวว่า "อวัยวะตันทั้งห้าและอวัยวะกลวงทั้งหกล้วนแล้วแต่ทำให้ไอได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเกิดจากปอดเพียงอย่างเดียว" ซึ่งหมายความถึงหากอวัยวะอื่น ๆ ทำงานผิดปกติไปอาจส่งผลกระทบต่อปอดแล้วทำให้เกิดอาการไอได้  นอกจากนี้หากอาการไอเรื้องรังไม่หายจะส่งผลต่ออวัยวะกลวงที่เป็นคู่เปี่ยวหลี่อินหยางกันด้วย

    • เกิดจากปอด ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัจจัยก่อโรคจากภายนอกกระทบปอดโดยตรง เช่น จากไข้หวัดจากลม ความเย็น ความร้อน มักมีอาการไอร่วมกับอาการเปี่ยวคือ กลัวลม กลัวหนาว มีไข้ น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยเนื้อตัว เป็นต้น  นอกจากนี้อาจมาจากโรคของปอดต่างๆ เช่น หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด วัณโรคปอด เป็นต้น ซึ่งอาจพบอาการหอบหืด เป็นมากอาจมีไอเป็นเลือดปนกับเสมหะ หากเป็นนานไม่หายจะกระทบลำไส้ใหญ่ จะมีไอร่วมกับอุจจาระกลั้นไม่อยู่
    • เกิดจากตับ ซึ่งมักเกิดจากอารมณ์โกรธโมโหก่อเกิดไฟตับทำร้ายปอด ไฟทำร้ายสารจิน (สารน้ำ) และหล่อหลอมสารจินหรือสารน้ำของเหลวจนกลายเป็นเสมหะ ทำให้เกิดอาการไอ ซึ่งเส้นลมปราณตับวิ่งผ่านบริเวณสีข้าง ดังนั้นหากไอจากตับ มักมีอาการไอร่วมกับเจ็บเสียดสีหน้าอกและสีข้างร่วมด้วย หากเป็นนานไม่หายจะกระทบถุงน้ำดี จะมีไอร่วมกับอาเจียนน้ำดี
    • เกิดจากม้าม เมื่อรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ชอบทานของทอดของมัน มักทำให้ม้ามสูญเสียการย่อย ดูดซึมสารอาหารและการขับแยกของเสีย ทำให้ก่อตัวเป็นเสมหะอุดกั้นสะสมที่ปอด ทำให้เกิดอาการไอ มักมีอาการปวดท้องด้านขวา และอาจปวดร้าวไปที่ช่วงไหล่และหลัง ขยับตัวแล้วเป็นมากขึ้น หากเป็นนานไม่หายจะกระทบกระเพาะอาหาร จะมีไอร่วมกับอาเจียน
    • เกิดจากหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบว่ามีภาวะชี่ของหัวใจพร่อง ทำให้เลือดที่หัวใจติดขัดอุดกั้น ซึ่งหัวใจอาศัยปอดในการลำเลียงเลือดส่งไปทั่วร่างกาย เมื่อเลือดคั่งทำให้สารจินหยุดนิ่งก่อตัวเป็นอิ่นหรือของเหลวที่หนืด เป็นผลให้ชี่ปอดติดขัดย้อนขึ้นและเกิดอาการไอได้ มักมีอาการไอร่วมกับเจ็บหน้าอก หรือจุกแน่นในลำคอ ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันอาจตรวจพบว่าเป็นโรคของหัวใจ เช่น โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว หากเป็นนานไม่หายจะกระทบลำไส้เล็ก จะมีไอร่วมกับผายลม
    • เกิดจากไต ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง ทำให้ไตพร่อง ชี่ไตไม่สามารถเหนี่ยวรั้งกักเก็บชี่ได้ ส่งผลให้ปอดไม่สามารถควบคุมชี่ได้ปกติ ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง มักไอแล้วทำให้มีอาการปวดร้าวบริเวณเอวและหลัง เสมหะมาก หากเป็นนานไม่หายจะกระทบกระเพาะปัสสาวะ จะมีไอร่วมกับปัสสาวะเล็ด

    จะเห็นได้ว่าอาการไอ มีหลากหลายสาเหตุ หากเราดูแลด้วยตัวเองแล้ว ยังมีอาการอยู่ไม่ควรปล่อยทิ้งไวให้เรื้อรังเพราะอาจจะยิ่งทำให้อาการเป็นมากขึ้นไป ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ยิ่งรู้สาเหตุเร็วรักษาเร็วก็ไม่เรื้อรัง

    • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 
    • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
    • LINE OA: @huachiewtcm
    • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ