มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในผู้หญิง สถิติปัจจุบันพบ 30-40 คนต่อประชากร 100,000 คน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายพบได้เพียง 1% ของมะเร็งในผู้ชาย และพบมากในช่วงอายุ 45-50 ปี สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันทั้งกรรมพันธุ์ และความผิดปกติอื่นที่เกิดขึ้นเองภายหลัง บทความให้ความรู้โดย พญ.ชุตินันท์ วัชรกุล แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษาของเต้านม แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลนวเวช ได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นสาระความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจเต้านม และประโยชน์ข้อดีของการตรวจคัดกรองเต้านม ที่จะสามารถทำให้รู้ได้ว่าคุณมีโอกาสหรือความเสี่ยงที่อาจจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
- ปัจจัยเสี่ยง
- ความผิดปกติที่ควรรีบพบแพทย์
ในความเป็นจริงแล้วกว่าจะพบความผิดปกติดังกล่าว ก้อนมักจะมีขนาดใหญ่หรือลุกลาม ทำให้การรักษาล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้นที่มีขนาดเล็กมาก หรือยังไม่แสดงอาการ
- แนวทางการตรวจเต้านม
- วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- การตรวจเต้านม
ข้อดีของการตรวจด้วยแมมโมแกรม 3 มิติ
- คุณภาพสูง คมชัดกว่า
เพิ่มความแม่นยำ และความละเอียดสูง คมชัด ทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่มีความผิดปกติของเต้านมได้อย่างชัดเจน และมีความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยมากกว่า
- เจ็บน้อยกว่า
แผ่นกดเต้านม ที่โค้งเว้าตามลักษณะของเต้านม จึงช่วยลดแรงกดทับบีบกดที่เต้านมทำให้รู้สึกสบายขึ้นและเจ็บน้อยลง ระยะเวลาในการบีบกดไม่ถึง 1 นาที ทั้งนี้ต้องขึ้นกับขนาดและความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมในแต่ละคนด้วย
- เร็วกว่า
เมื่อไม่มีการถ่ายซ้ำ ทำให้ระยะเวลาการตรวจลดลง และลดจำนวนครั้งในการรับปริมาณรังสีทำให้ผู้รับบริการ ได้รับปริมาณรังสีที่ไม่มากเกินความจำเป็น
- ตรวจเจอได้เร็วกว่า
ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้มากขึ้นและขนาดเล็กลง ทำให้แพทย์สามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จึงมีโอกาสรักษาหายขาดและรอดชีวิตได้สูงขึ้น
- ความปลอดภัย
การทำแมมโมแกรมมีการใช้รังสีเอกซเรย์ก็จริง แต่ปริมาณรังสีที่ได้รับเมื่อทำแมมโมแกรมในแต่ละครั้งนั้นมีปริมาณน้อยมาก ๆ (ปริมาณรังสีที่ได้รับในการทำแมมโมแกรมเฉลี่ยประมาณ 0.4 milliSeverts โดยถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายขึ้น ปริมาณนี้เทียบเท่ากับรังสีที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อรอบตัวในชีวิตประจำวันเราประมาณ 7 สัปดาห์) และมีมาตรฐานการควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่ปลอดภัย ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ต้องกังวล เรื่องการก่อให้เกิดมะเร็งจากการตรวจ
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
การแปลผลการตรวจแมมโมแกรมหรืออัลตราซาวน์
เป็นการแผลผลความเสี่ยงที่จะกลายเป็นมะเร็งเต้านม โดยแปลเป็น BI-RADS 1-6 เพื่อง่ายต่อการติดตามและดูแลผู้ป่วยแต่ละกลุ่มของแพทย์ ไม่ใช่ระยะโรค
1 หมายถึง ไม่พบสิ่งผิดปกติเลย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี
2 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็งเต้านมควรตรวจติดตามทุกปี
3 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 2% ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน
4 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความน่าสงสัย เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ 3-95% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม
5 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมค่อนข้างสูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม
6 หมายถึง ได้รับการวินิจฉัยชิ้นเนื้อแล้วว่าเป็นมะเร็ง
"การป้องกันที่ดีที่สุด คือการตรวจค้นพบและรักษาให้เร็วที่สุด"