คุณเคยสับสนในตัวเองไหม ...ทุก ๆ เช้าที่ตื่นขึ้นมาจะไปทำงาน สภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกที่เป็น เป็นอาการของ burn out หรือจริง ๆ เราแค่ขี้เกียจกันแน่ ?
ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน นั่นก็คือ "ภาวะ burn out" หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดจากการเผชิญกับความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานาน ๆ มักเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานหนัก มีภาระหน้าที่ที่มากเกินไป มีความคาดหวังจากบุคคลอื่นสูง หรือขาดการสนับสนุนจากผู้อื่นจนเกิดอาการทางร่างกาย เช่น สมาธิลดลง อารมณ์ไม่ดี มุมมองต่อตนเองแย่ลง จนเกิดผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์
อาการสามารถแบ่งได้ 3 ด้าน
แยกความต่างกันสักนิด !!
ในทางการแพทย์ ภาวะ burn out มักมีผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ
ในขณะที่ "ความขี้เกียจ" มักส่งผลต่อแค่ความตั้งใจที่จะทำอะไรสักอย่างเท่านั้น
อาการของภาวะ burn out มักมีอาการบ่งชัอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่
- รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- เบื่อหน่าย หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ
- ขาดแรงจูงใจในการทำงาน
- ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
- ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและครอบครัวแย่ลง
- มีปัญหาในการนอนหลับ รับประทานอาหาร
- ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
การป้องกันการเกิดภาวะ burnout
ภาวะ burnout เป็นเรื่องไม่ไกลตัว หากรู้ตัวหรือคนรอบข้างสังเกตได้เร็ว ทำให้การจัดการทำได้ง่าย อาจเป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตนเอง ต่องาน จัดการเวลาในการทำงานและพักผ่อนให้เหมาะสม หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกไปทำกิจกรรมที่ชอบ พบปะเพื่อนที่สนิทใจ พูดคุยและรับแรงสนับสนุนกำลังใจจากคนรอบข้างหรือครอบครัว คุยกับหัวหน้างานในเรื่องที่รู้สึกอึดอัด เพื่อช่วยกันจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น จะช่วยให้อาการบรรเทาลงได้ แต่หากทำตามวิธีดังกล่าวแล้วยังรู้สึกไม่ดี มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง เริ่มมีอารมณ์หงุดหงิดที่คุมได้ยาก จัดการปัญหาไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล Bangkok Mental Health Hospital : BMHH