Rock Thailand Batch 5 (ครั้งที่ 5) "Co-Creation of Japan-Thailand: Empowering Growth in ASEAN"

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 6, 2023 15:26 —ThaiPR.net

Rock Thailand Batch 5 (ครั้งที่ 5)

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและเจโทร กรุงเทพฯร่วมมือกับกลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (เมติ หรือ METI) และ True Digital Park จัดงาน Rock Thailand Batch 5 (ครั้งที่ 5) ซึ่งเป็นอีเว้นท์ที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพร่วมพิช (Pitch) เพื่อแนะนำสตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าและล้ำสมัยแก่ประเทศไทย ครั้งนี้ตอกย้ำแนวคิด "การร่วมสร้างสรรค์ (co-creation)" ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยเพื่อการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ๆ ในขณะเดียวกันปีนี้ครบรอบ 50 ปีแห่งมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น (50th Anniversary of ASEAN-Japan friendship and cooperation) งานครั้งนี้ถือเป็นการร่วมเฉลิมฉลองและประชาสัมพันธ์ความร่วมมือสาธิตระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นซึ่งเป็นศูนย์กลางความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น

สตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่ร่วมงาน Rock Thailand Batch 5 (ครั้งที่ 5) มีความใฝ่ฝันที่จะเปลี่ยนแปลงโลกด้วยเทคโนโลยีที่มีนวัตกรรม และไอเดียในหลากหลายสาขา เช่น การผลิต, AI, ลดการปล่อยคาร์บอน (decarbonization), ไบโอเทคโนโลยี และ digital transformation หรือ DX

ครั้งนี้มีบริษัทสตาร์ทอัพญี่ปุ่นเข้าร่วม 10 บริษัท ได้แก่ Extra Bold Inc., CADDI (THAILAND) Co., Ltd.,  Recursive Inc., Quwak Inc., Spiber (Thailand) Ltd., Thermalytica Inc., TOWING Inc.. Plant Life Systems Co., Ltd., KAICO LTD., Bacchus Bio innovation Co., Ltd.

ในขณะเดียวกัน บริษัท corporate venture capitals (CVCs/VCs/Corporate Innovations) และ Accelerators ภายใต้เครือบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยร่วมนำเสนอวิสัยทัศน์ ความต้องการ ความคาดหวังจากประเทศญี่ปุ่น

บริษัท corporate venture capitals (CVCs/VCs/Corporate Innovations) ที่ร่วมงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย CPF, True Digital, True Incube, PTT ExpresSo, INNOPOWER, AddVenturesbySCG

งานครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายนิชิมูระ ยาสุโตชิ (H.E. NISHIMURA Yasutoshi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry (METI)) กล่าวเปิดงาน ว่า Rock Thailand นับเป็นความริเริ่มบุกเบิกเพื่อสร้างนวัตกรรม โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี 2562และปีนี้ถือเป็นครั้งที่ 5เพื่อส่งเสริมพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่มีนวัตกรรมหลากหลายและเครือบริษัท (conglomerate) ของประเทศไทย

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (เมติ หรือ METI) ดำเนินมาตรการสนับสนุนรวมทั้ง การอุดหนุน เงินกู้ มาตรการทางภาษี และ ระบบเพื่อรองรับแนวคิด "การร่วมสร้างสรรค์ (co-creation)" ระหว่างสตาร์ทอัพญี่ปุ่นและเครือบริษัทของประเทศไทย งาน Rock Thailand ก็ก่อให้เกิด "การร่วมสร้างสรรค์ (co-creation)"

ยกตัวอย่าง เมติกำลังส่งเสริมให้สตาร์ทอัพญี่ปุ่นขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศผ่านมาตรการที่หลากหลาย เช่น งบประมาณมูลค่า 25 พันล้านบาทที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาโครงการของสตาร์ทอัพในต่างประเทศ สาขา deep tech และงบประมาณอีก 5 พันล้านบาทที่สนับสนุนและขยายการลงทุนในต่างประเทศโดยร่วมมือกับบริษัทventure capitalทั้งในและต่างประเทศ

นายคุโรดะ จุน ประธาน เจโทร กรุงเทพฯ (Mr. KURODA Jun, President of JETRO Bangkok) รู้สึกยินดีที่จัดงานนี้ขึ้นมา เพราะประเทศไทยมีความสำคัญในฐานะหุ้นส่วนเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมายาวนานและมีบริษัทญี่ปุ่นประมาณ 6,000 บริษัทดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ประเทศไทยยังคงเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทญี่ปุ่นในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย

นายคุโรดะกล่าวเพิ่มเติมว่า เจโทรยังคงสนับสนุนสตาร์ทอัพ บริษัทขนาดใหญ่ accelerators เพื่อความเป็นหุ้นส่วนไทย-ญี่ปุ่นและเปิดตลาดในประเทศญี่ปุ่นโดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดสัมมนา การจับคู่และเจรจาธุรกิจ การร่วมงานแสดงสินค้า และการให้บริการข้อมูลข่าวสาร

ตั้งแต่ดำเนินกิจกรรม "Rock Thailand" ที่ผ่านมามีบริษัทสตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จ เช่น บริษัท Umitron, Liberaware และ Neural Group กำลังทำงานร่วมกับเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ในการวิเคราะห์ดาต้าที่ได้จากดาวเทียม โดรน และเซ็นเซอร์ที่ได้ติดตั้งตามสถานที่ต่างๆ สาขาธุรกิจฟาร์มสัตว์น้ำ (aquaculture) ปศุสัตว์และการขนส่ง และบริษัท Sagri ซึ่งให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลภาคการเกษตร อยู่ในระหว่างพูดคุยกับเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์

นอกจากนี้บริษัท Regional Fish และ Zero Boardได้ดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัทในประเทศไทยจากการที่เข้าร่วมงาน "Rock Thailand" ที่ผ่านมา โดยได้พัฒนาธุรกิจใหม่ๆ เช่น ฟาร์มสัตว์น้ำ (aquaculture) ซึ่งใช้เทคโนโลยี gene editing และ ระบบ visualization เพื่อลด GHG (greenhouse gas emission) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ