แม้ว่าความอ้วนจะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่ในทางคลินิกมักพบได้บ่อยในช่วงวัยกลางคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งบ่งชี้ว่าความอ้วนมีความเกี่ยวข้องกับอายุอย่างมีนัยสำคัญ
จากมุมมองในทางการแพทย์แผนจีนได้กล่าวไว้ว่า "???,??????,????????,??,??????" "เมื่ออายุ 40 ปี อินชี่ลดลงครึ่งหนึ่ง การดำรงชีวิตก็ถดถอย เมื่ออายุ 50 ปี น้ำหนักเกิน หูและตาไม่ชัดเจน" ในช่วงวัยกลางคน ความอุดมสมบูรณ์ของหยวนชี่ (??) ในร่างกายเริ่มพร่องลง การทำงานของระบบเผาผลาญจะค่อย ๆ ลดลง การขนส่งสารน้ำ สารอาหารติดขัด เกิดการสะสมของน้ำ ความชื้น เสมหะ และเลือดคั่ง ส่งผลให้ร่างกายบวมและอ้วน นอกจากนี้ เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว คนจะชอบอยู่นิ่ง ๆ ขยับตัวน้อยลง ออกกำลังกายน้อยลง และบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ จึงทำให้ร่างกายอ้วนขึ้น
ความอ้วนยังพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงหลังคลอดหรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความจริงที่ว่า ชี่ไต (??) ของผู้หญิงลดลงเร็วกว่าผู้ชาย การแพทย์แผนจีนเชื่อว่า "ชี่ไต (??) ที่ไม่เพียงพอ ทำให้ชี่ไม่มีแรงผลักดันน้ำ จึงนำไปสู่การสะสมเป็นความชื้นและเสมหะ และนำไปสู่ความอ้วนในที่สุด"
การรับประทานอาหารมัน หรือหวานมากเกินไปก็ส่งผลทำให้อ้วนได้ง่าย???-????? :"??????,???????" กล่าวว่า "อาหารมัน ทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในร่างกาย และของหวานทำให้รู้สึกจุกแน่น" ดังนั้น หากรับประทานอาหารมัน และหวานมากเกินไป แคลอรี่ส่วนเกินจะถูกแปลงเป็นไขมันและสะสมในร่างกาย ซึ่งความเข้าใจในเรื่องนี้ทั้งในทางการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนจีนมีความเห็นที่สอดคล้องกัน
จากการวินิจฉัยในทางคลินิกพบว่า กลไกการเกิดโรคส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับ ความชื้น (?) เสมหะ (?) น้ำ (?) เลือดคั่ง (?) และไขมันตกค้างในร่างกาย (?) และลักษณะของโรคนี้มักเป็นกลุ่มอาการพร่อง (??) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชี่พร่อง (??)
วิธีการรักษา
ปัจจุบันนี้มีความเข้าใจผิดบางประการว่าในการลดน้ำหนักจะต้องใช้ยาระบาย โดยไม่สนใจว่าสาเหตุของความอ้วนนั้นแตกต่างกัน วิธีระบายมักถูกใช้เพื่อรักษาโรคอ้วน ผลที่ตามมากลับพบว่าไม่เพียงแต่คุณจะล้มเหลวในการลดน้ำหนัก แต่ยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย
ทั้งนี้ สาเหตุและกลไกการเกิดโรคจะอยู่ที่ม้ามและไตเป็นหลัก และส่วนใหญ่เป็นลักษณะชี่พร่อง (??) แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเกี่ยวข้องกับตับและถุงน้ำดี และมีลักษณะชี่พร่องร่วมกับเลือดคั่ง (????)
ดังนั้น ในด้านการรักษา แนะนำให้รักษาโดยพิจารณาจากการวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการนั้น ๆ ซึ่งสามารถแบ่งการรักษาออกเป็น 8 วิธี คือ
ซึ่งการรักษาทั้ง 8 วิธีข้างต้น สามารถใช้ร่วมกันได้ ตัวอย่างเช่น การเสริมม้ามและขจัดความชื้น (?????) การอุ่นบำรุงหยางและการขับน้ำ (?????) สามารถใช้ร่วมกันได้ แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการและเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
วิธีการรักษาด้วยหลักการแพทย์แผนจีน นอกจากการแยกวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดโรคอ้วนแล้ว ยังมีการใช้ยาสมุนไพรจีน ซึ่งมีสรรพคุณในการลดความอ้วน ขจัดไขมัน รวมถึงการฝังเข็มด้วยเทคนิคต่าง ๆ อันเป็นลักษณะเด่นของการแพทย์แผนจีนอย่างหนึ่ง ซึ่งมีประสิทธิผลในการรักษาที่ดี
- สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111
- เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
- LINE OA: @huachiewtcm
- Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic