ภาวะนอนไม่หลับ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนอนหลับเป็นปกติได้ มีความยากลำบากในการเข้านอน หลับไม่ต่อเนื่อง รวมไปถึงคุณภาพของการนอนหลับไม่ดี เช่น มีอาการเข้านอนยาก ตื่นบ่อยในช่วงเวลากลางคืน ฝันเยอะ ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงาน
จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยสถิติคนไทยที่เผชิญกับภาวะนอนไม่หลับมีมากถึง 40% ของประชากรทั้งหมด หรือราว 19 ล้านคน ซึ่งในปัจจุบันพบว่าภาวะนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ และไม่ได้พบเจอเฉพาะแค่ในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่สามารถพบเจอในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานได้มากขึ้น
ผลสืบเนื่องที่เห็นชัดเจนจากภาวะนอนไม่หลับ เช่น เกิดความง่วงตลอดทั้งวัน ไม่กระปรี้กระเปร่า เหนื่อยง่าย ขอบตาและใบหน้ามองคล้ำ ความจำและความสามารถในการทำงานลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อระบบของร่างกายในอีกหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เกิดการอักเสบหรือเป็นภูมิแพ้ผิวหนังง่ายขึ้น ระบบเผาผลาญและระบบย่อยอาหารผิดปกติ ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้มีโอกาสพบโรคอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง
ในมุมมองการแพทย์แผนจีนภาวะนอนไม่หลับมีชื่อเรียกว่า "ปู๋เม่ย (??)" "ปู้เต๋อว่อ (???)" "มู่ปู้หมิง (???)" มีตำแหน่งหลักของโรคอยู่ที่หัวใจ และมีความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตับ ถุงน้ำดี ไต และม้าม อย่างใกล้ชิด
อาการของโรค (????)
เข้านอนลำบาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นในระหว่างคืนง่าย ตื่นแล้วไม่สามารถเข้านอนต่อได้ หากรุนแรงอาจถึงขั้นไม่สามารถนอนหลับได้ทั้งคืน มักพบอาการฝันเยอะ กระสับกระส่าย ปวดหนักบริเวณศีรษะ ใจสั่น ขี้หลงลืม หรือรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรงร่วมด้วย เป็นต้น
สาเหตุของโรค (????)
การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความเหนื่อยล้า ร่างกายอ่อนแอ หรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายเสียสมดุล หยางไม่สามารถกลับเข้าสู่อินได้ ทำให้อิน-หยางในร่างกายเสียสมดุล และเกิดเป็นภาวะนอนไม่หลับ
การวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการ (????)
แนวทางการรักษาโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ใช้วิธีปรับการทำงานของอวัยวะภายใน ให้อิน-หยางในร่างกายกลับมาสมดุล ด้วยการฝังเข็ม
ในกลุ่มอาการพร่องจะเน้นการบำรุงในส่วนที่พร่อง กลุ่มอาการแกร่งจะเน้นการระบายในส่วนที่เกิน กลุ่มอาการที่มีทั้งพร่องและแกร่งปะปนกันจะเน้นใช้วิธีบำรุงร่วมกับการระบาย โดยการรักษาแบบระบายแกร่งบำรุงพร่อง และในขณะเดียวกันก็ใช้วิธีสงบเสินคุมจิตใจร่วมด้วย เช่น วิธีบำรุงเลือดสงบจิต ข่มจิตสงบเสิน ระบายไฟในหัวใจสงบเสินเป็นต้น ซึ่งเสินหมายถึงสมอง จิตใจ จิตวิญญาณรวมทั้งการแสดงออกต่าง ๆ ของร่างกาย
การนอนหลับที่ดีและมีคุณภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง ภาวะนอนไม่หลับจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาหรือป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับระบบอื่น ๆ ของร่างกายตามมาทีหลัง การฝังเข็มเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยรักษาและบรรเทาภาวะนอนไม่หลับได้ ซึ่งองค์การอนามัยโรค (WHO) ได้รองรับว่า "การฝังเข็มสามารถรักษาภาวะนอนไม่หลับได้ผลที่ดีอย่างชัดเจน" สามารถช่วยปรับอินหยางในร่างกายให้กลับมาสมดุล อีกทั้ง การฝังเข็มยังสามารถช่วยปรับสภาพจิตใจ คลายความวิตกกังวลและความเครียด ทำให้จิตใจผ่อนคลายขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยเหลือทางด้านจิตใจได้อีกทางหนึ่งด้วย
การป้องกันโรค(????)
- สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111
- เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
- LINE OA: @huachiewtcm
- Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic