เอสเอสไอประกาศนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มบริษัทเอสเอสไอ โดยกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และแนวทางการดำเนินงาน มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของกลุ่มบริษัท สอดคล้องกับนโยบายของประเทศและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล็ก นวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงการใช้ พลังงานสะอาด ตอกย้ำการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมเหล็กในอนาคต
นายวิน วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ กล่าวว่า เอสเอสไอในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต กลุ่มบริษัทฯ จึงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการดูแลสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ และข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้มีการประกาศนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มบริษัทเอสเอสไอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มบริษัทเอสเอสไอเกิดการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ดังนี้
นอกจากนี้ เอสเอสไอได้มีการดำเนินงานเพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ และความมุ่งมั่นด้านลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง 1) ด้านผลิตภัณฑ์ เอสเอสไอได้กำหนดเป้าหมายภายในปี 2025 ที่จะยกระดับ 11 ผลิตภัณฑ์เหล็ก ซึ่งปัจจุบันได้มาตรฐานฉลากสิ่งแวดล้อมประเภท 2 ตาม ISO14021 เป็นฉลาก ECO PLUS ที่รับรองโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีเป้าหมายที่จะพัฒนา 9 ผลิตภัณฑ์เหล็กให้ได้ EPD (Environmental Product Declaration) 2) ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน เอสเอสไอใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ทรัพยากรน้ำและของเสียจากกระบวนการผลิตถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ทั้งหมด 100% 3) ด้านพลังงานสะอาด เอสเอสไอกำลังศึกษาการใช้พลังงานหมุนเวียน
เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เชื้อเพลิงชีวมวล และก๊าซชีวภาพ โดยเน้นการใช้ศักยภาพของท้องถิ่นและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดยมีเป้าหมายนำเข้ามาทดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิลทั้งหมด 100% นอกจากนี้ ได้มีการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานสะอาด ได้แก่ Green hydrogen ที่ไม่มีการปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศ รวมทั้งมีบทบาทผลักดันการพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนทั้งห่วงโซ่คุณค่า
"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในความท้าทายระดับโลกที่ส่งผลกระทบในทุกๆ ด้าน ครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และผู้คน การนำนโยบายมาสู่การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนควรตระหนัก และเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขหรือลดผลกระทบตลอดห่วงโซ่คุณค่า พร้อมร่วมผลักดันการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต" นายวิน กล่าว