Long Covid ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในมุมมองแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ข่าวทั่วไป Friday January 19, 2024 09:34 —ThaiPR.net

Long Covid ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในมุมมองแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทั่วโลกได้ประสบกับการระบาดติดเชื้อ COVID-19 หลังจากที่ผู้ป่วยติดเชื้อแล้วพบว่ามีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอาการมากน้อยเพียงใด ส่งผลกระทบต่อร่างกายหลาย ๆ ระบบในระยะยาว ทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ระบบเมตาบอลิซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนเป็นปัญหาสุขภาพจิตและยังกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมตลอดจนความสามารถในการทำงานอีกด้วย 

จากรายงาน อาการที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อ COVID-19  พบมากกว่า 200 อาการ และกว่า 91% ใช้เวลาในการฟื้นฟูตัวเองให้กลับสู่ปกตินานมากกว่า 8 เดือน  บางรายพบอาการหลังจากติดเชื้อยาวนานถึง 1 ปี  จากการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยติดเชื้อ COVID-19  ของกรมการแพทย์ ผ่านทางเว็บไซต์กรมการแพทย์ พบว่าส่วนใหญ่ยังมีอาการต่อเนื่องเล็กน้อยถึงปานกลาง คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทั่วไปลดลงจากก่อนป่วย โดยอาการที่พบบ่อย 10 อันดับแรก ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก/ หอบเหนื่อย  ไอ นอนไม่หลับ  ปวดศีรษะ ผมร่วง เวียนศีรษะ วิตกกังวล/เครียด ความจำสั้น และเจ็บหน้าอก

อาการนอนไม่หลับ เป็นปัญหาหนึ่งที่ผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิดกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน มีรายงานรวบรวมข้อมูลจากหลายพื้นที่พบว่า 78.6% ผู้ป่วยมักประสบปัญหาการนอนหลับ โดยพบได้ทั้งปัญหานอนไม่หลับ ตื่นบ่อย เข้านอนแล้วหลับยาก หายใจลำบากจนรู้สึกตัวตื่น หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ฝันเยอะ ฝันร้าย หรือตื่นไวกว่าปกติ รู้สึกไม่สบายขา เช่น ขากระตุก ขาปวดชาจนรบกวนการนอนหลับ เป็นต้น

การนอนหลับมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน  การนอนหลับไม่เพียงพอต่อเนื่องนานวันเข้าจะส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยล้า  มีผลให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานบกพร่อง เช่น สมองเบลอมึนงง คิดอะไรไม่ค่อยออก การจดจำ การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการใช้เหตุผลและการแก้ไขปัญหา สมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำได้ลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจและอารมณ์ ทำให้รู้สึกหงุดหงิดง่ายขึ้น  มีอาการหูแว่ว วิตกกังวล ความหวาดระแวง และซึมเศร้าได้

ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน อาการนอนไม่หลับ (?? ปู๋ เม่ย) เกิดจากสาเหตุอารมณ์แปรปรวนผิดปกติ  การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ปัจจัยก่อโรคภายนอก ความเหน็ดเหนื่อยหรือสบายเกินไป  และการเจ็บป่วยเป็นเวลานาน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานไม่ปกติ  ชี่และเลือด อินและหยางไม่สมดุล หยางไม่สามารถกลับเข้าสู่อินได้จึงทำให้นอนไม่หลับ ตำแหน่งของโรคอยู่ที่หัวใจเป็นหลัก สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 การแพทย์แผนจีนมองว่าได้รับปัจจัยก่อโรคจากเสียชี่ที่แปรปรวนไม่ปกติ ซึ่งเป็น "พิษความชื้น (?? ซือ ตู๋)" ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดลักษณะเด่น ๆ ได้ 2 รูปแบบ แม้ว่าจะหายจากการติดเชื้อไปแล้ว คือ

  • พิษที่เข้าสู่ภายในจะเกิดเป็นความร้อนก่อตัวภายใน เผาผลาญสารน้ำในร่างกาย เมื่อหลังจากหายจากการติดเชื้อแล้ว จึงทำให้เกิดภาวะชี่และอินพร่อง เมื่ออินพร่องมากทำให้เกิดไฟ ไฟโหมรบกวนหัวใจและเสิน ทำให้นอนไม่หลับ
  • พิษความชื้นที่เข้าสู่ภายในเกาะกุมม้ามและกระเพาะอาหาร ทำให้หลังจากหายจากการติดเชื้อแล้วนอกจากปอดพร่องแล้ว ม้ามและกระเพาะอาหารก็ยังไม่สามารถทำงานได้ปกติ ทำให้ย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารแยกขจัดของเสียได้ไม่ดี จึงทำให้เกิดเป็นความชื้นและเสมหะก่อตัวสะสมอยู่ภายใน อุดกั้นเส้นลมปราณ พอนานวันเข้าอาจก่อให้เกิดไฟ กลายเป็นเสมหะร้อนรบกวนหัวใจและเสินจนทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้เช่นเดียวกัน
  • อาการนอนไม่หลับ เนื่องจากตำแหน่งโรคอยู่ที่เสินในหัวใจ ดังนั้น ในการดูแลรักษาลำดับแรกต้องผ่อนคลายจิตใจ ควบคุมอารมณ์หงุดหงิดกังวลใจ  อาจหากิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจ เช่น ดูหนัง ฟังเพลงสบาย ๆ ไม่ทานอาหารอิ่มจนเกินไป หรืออาหารย่อยยากโดยเฉพาะของทอด ของมัน ของเผ็ดร้อน และเลี่ยงการดื่มชา กาแฟในตอนเย็น  ไม่ทำงานหรือออกกำลังเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป  ก่อนนอนฟังเพลงเบา ๆ หรือแช่เท้าด้วยน้ำอุ่น อาจใส่ดอกเก็กฮวยเล็กน้อย (6-8 ดอก) ประมาณ 15 นาที ดอกเก็กฮวยยังช่วยลดไฟภายใน ประกอบกับมีกลิ่นหอมจะช่วยให้รู้สึกหลับสบายขึ้นได้  หลังจากที่ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารและการใช้ชีวิตเบื้องต้นแล้ว ถ้ายังไม่ดีขึ้น ยังไม่สามารถเข้านอนหลับได้เป็นปกติแนะนำว่าให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา การทิ้งระยะไว้นานจะยิ่งรักษาได้ยาก การรักษาอย่างต่อเนื่องจะเป็นผลดีทำให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วและหายขาด

    ตัวอย่างกรณีการรักษา

    ข้อมูลผู้ป่วย : เพศหญิง อายุ 26 ปี

    อาการที่มารักษา : นอนไม่หลับ 3 อาทิตย์

    ประวัติอาการ : ผู้ป่วยเคยได้รับการยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 65 โดยเข้ารักษาโฮมไอโซเลต หลังจากที่เริ่มติดเชื้อ เริ่มมีอาการนอนไม่หลับต่อเนื่อง ร่วมกับอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย ยังไม่ได้ทานยาช่วยในการรักษามาก่อน

    อาการปัจจุบัน : ผู้ป่วยเข้านอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อย เหนื่อยอ่อนเพลีย ทำงานหรือเคลื่อนไหวแล้วเหนื่อยมากขึ้น  เวลาเหนื่อยจะยิ่งปวดศีรษะ ปากแห้งคอแห้ง กระหายน้ำเล็กน้อย กลางคืนมีอาการไอแห้ง ลำคอมีเสมหะเหนียวเล็กน้อย ปกติจะมีอาการใจสั่น ขี้หงุดหงิดง่าย  การหายใจปกติ ไม่มีแน่นหน้าอก ความอยากอาหารทั่วไป  การรับกลิ่นรับรสปกติ  ถ่ายเหลวหลังทานอาหารเผ็ด

    การตรวจลิ้นและชีพจร : ลิ้นสีแดง ฝ้าแตกคล้ายแผนที่ และแห้ง มีจุดเลือดคั่ง ชีพจรซี่ซั่ว (???)

    ประวัติโรคในอดีต : ไม่มี

    การวินิจฉัย         

  • นอนไม่หลับ (?? (U78.123)) / กลุ่มอาการ ชี่และอินพร่อง (????? (U79.218))
  • ภาวะลองโควิด (COVID-19 ???? (U09.9))
  • การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน 

    ใช้ตำรับยาเซิงม่ายส่าน (???) ร่วมกับ จู๋เย่สือเกาทัง (?????) เพิ่มลดตัวยา ใช้ยาที่มีสรรพคุณเสริมชี่บำรุงอิน ระบายร้อนสงบเสิน เพื่อช่วยลดระบายไฟที่ไปรบกวนหัวใจ รับประทานยาเช้า-เย็นหลังอาหาร

    ประเมินผลการรักษา         

    ครั้งที่ 1 (7/3/65)  ผู้ป่วยสามารถเข้านอนได้ง่ายขึ้น  มีแรงทำกิจกรรมได้ต่อเนื่องมากขึ้น อาการเหนื่อยอ่อนเพลียดีขึ้น ตอนกลางคืนอาการไอน้อยลง  ยังมีเสมหะเหนียวที่คอเล็กน้อย ทานอาหารได้มากขึ้น ไม่มีอาหารปวดศีรษะหรือเวียนหัว ถ่ายเหลวหลังทานอาหารเผ็ด ขับถ่ายวันละ 2-3 ครั้ง         

    ครั้งที่2  (14/3/65)  สามารถนอนหลับได้เป็นปกติ อาการเหนื่อยอ่อนเพลียดีขึ้นต่อเนื่อง ไม่มีอาการไอและเสมหะเหนียวที่คอลดลง ทานอาหารได้ปกติ มีอาการไข้ต่ำหลังบ่าย ขับถ่ายวันละ 2 ครั้ง เป็นก้อนมากขึ้น         

    ครั้งที่3  (1/4/65)  สามารถนอนหลับได้เป็นปกติ ไม่มีอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย ไม่มีอาการไอและเสมหะ ทานอาหารได้ปกติ ไม่มีไข้ต่ำ ขับถ่ายวันละ 2 ครั้ง เป็นก้อนมากขึ้น

    สรุปผลการรักษา         

    จากเคสกรณีศึกษาข้างต้น เห็นได้ว่าการรักษาด้วยยาสมุนไพรจีนตำรับ สามารถช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยที่มีอาการหลังจากติดเชื้อโควิด อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติอีกด้วย   

    • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 
    • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
    • LINE OA: @huachiewtcm
    • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic
    • Website: www.huachiewtcm.com

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ