มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ "Frontier area-based research for sustainable development goals" เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติ ในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการศึกษาของไทย โดยการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ การจัดงานครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 160 ผลงาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 26 มกราคม 2567 ณ อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มหาวิทยาลัยพะเยา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ว่า มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 13 เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ได้แก่ งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีเป้าหมายสูงสุดคือการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางสังคม สิ่งแวดล้อม ให้เกิดความยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ในการแข่งข้นกับนานาอารยประเทศ การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13 นี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "Frontier area-based research for sustainable development goals" ซึ่งจะเป็นเวทีทางวิชาการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการศึกษาของไทย โดยการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ต่อไป
นายกสภามหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13 กล่าวว่า การจัดการประชุมวิชาการพะเยาวิจัยในทุก ๆ ปี นับเป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษา จากหลายสถาบัน ได้มานำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งผลงานเหล่านั้นจะนำไปสู่การสืบสานปณิธานของมหาวิทยาลัยพะเยาที่ ว่า "ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน" และการพัฒนาประเทศสู่ระดับสากล การจัดงานภายใต้หัวข้อ"Frontier area-based research for sustainable development goals" จะเป็นกลไกหนึ่งที่มีส่วนขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการเป็นสู่การเป็น "Frontier area-base University" โดยเกิดการเสริมพลังจากการบูรณาการ การทำงานจากหลากหลายสถาบันที่ เกิดจากเครือข่ายความร่วมมือในการประชุมวิชาการนี้ รวมทั้งนำไปสู่การนำงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้เกิดความยั่งยืนให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustain development goals) ตามแนวทางของสหประชาชาติต่อไป
มหาวิทยาลัยได้มีการจัดรูปแบบการนำเสนอผลงานในการประชุม วิชาการฯ ให้เป็นลักษณะ Hybrid โดยมีทั้งการนำเสนอแบบ Onsite Conference ณ มหาวิทยาลัยพะเยา และ Online Conference การจัดงานครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 160 ผลงาน ประกอบด้วย
มีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ นิทรรศการของมหาวิทยาลัยพะเยา การประกวดนิทรรศการ 1 คณะ 1ชุมชนนวัตกรรม การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Innovation for Smart City) เมืองต้นแบบเทศบาลตำบลแม่ เหียะ" การประชุมสัมมนาวิชาการย่อย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นการจัด ครั้งที่ 1 และการมอบรางวัลให้กับนักวิจัยเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักวิจัยของมหาวิทยาลัย 4 รางวัล ได้แก่