ทั้งสูบเองหรือการรับควันบุหรี่มือสอง ก็สามารถเสี่ยงมะเร็งปอดได้ โรคมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการและไม่มีสัญญาณใด ๆ กว่าจะรู้ก็เป็นระยะที่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ทำให้รักษาได้ยากและมีโอกาสเสียชีวิตสูง อีกทั้งการตรวจเอ็กซเรย์ปอดทั่วไป และค่ามะเร็งในเลือดในเลือดก็ไม่จำเพาะกับโรค ซึ่งบทความให้ความรู้โดย นพ.วิกรม เจนเนติสิน อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาและเคมีบำบัด ศูนย์มะเร็งและโรคเลือด โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปอด เพื่อจะได้สังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากตรวจพบมะเร็งปอดได้ตั้งแต่ในระยะแรก นำไปสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้
แล้วใครบ้าง? ที่ควรได้รับการตรวจ
- อายุ 50 ปี ขึ้นไป
- สูบบุหรี่จัดอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย1ซองต่อวัน เป็นระยะเวลา10 ปี ขึ้นไป หรือหยุดสูบบุหรี่น้อยกว่า 15 ปี หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่
- มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด
- ได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น PM 2.5 การได้รับควันบุหรี่ สารกัมมันตรังสี ฝุ่นไอระเหยจากโลหะต่าง ๆ
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดที่ถูกต้อง คือการตรวจคัดกรองด้วย เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดแบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (LOW DOSE CT) ซึ่งมีข้อดีดังนี้
- ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบจุดหรือก้อนเนื้อที่อยู่ในปอดได้ เนื่องจากบางครั้งจุดในปอดเล็กเกินกว่าที่จะมองเห็นด้วยวิธีเอกซเรย์ปอดธรรมดา
- ช่วยในการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ซึ่งช่วยให้สามารถรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่มะเร็งจะกระจายไปทั่วร่างกาย ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปอด
- เป็นการตรวจที่ใช้ปริมาณรังสีต่ำ ป้องกันอันตรายที่จะได้รับจากรังสี
วิธีการเตรียมตัวและการตรวจ
โดยส่วนมากโรคมะเร็งปอดผู้ป่วยจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรค เมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้นแล้ว ดังนั้นควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปี และตรวจคัดกรองมะเร็งปอดอย่างถูกวิธี ซึ่งหากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์มะเร็งและโรคเลือด (Oncology & Hematology Center) โรงพยาบาลนวเวช โทร. 1507 Line: @navavej