- โรคงูสวัดส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนมากถึง 1 ใน 3 คน โดยทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อน ปวดเหมือนมีเข็มมาทิ่มแทงหรือรู้สึกเหมือนไฟช็อต
- ผลสำรวจออนไลน์พบว่า ผู้ใหญ่จำนวนมากประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดต่ำกว่าความเป็นจริง โดยมากกว่า 1 ใน 4 (28%) เชื่อว่า โรคงูสวัดเป็นโรคที่ "ไม่อันตราย"
- ข้อมูลที่เผยแพร่ในช่วงสัปดาห์การรณรงค์โรคงูสวัด ประจำปี 2567 ชี้ว่า หลายคนขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคงูสวัด และความเสี่ยงของโรคงูสวัดที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต
จากการสำรวจทั่วโลกล่าสุด ซึ่งสนับสนุนโดย GSK พบว่า ผู้คนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคงูสวัดในกลุ่มผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่ อายุ 50 ปีขึ้นไปจาก 12 ประเทศ จำนวน 3,500 คน เรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับโรคงูสวัด สิ่งกระตุ้น และผลกระทบของโรคงูสวัดต่อคุณภาพชีวิต พบว่า ผู้ใหญ่จำนวนมากไม่เข้าใจความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัด โดย 86% ประเมินความเสี่ยงโรคงูสวัดต่ำกว่าความเป็นจริง โดยคนจำนวน 1 ใน 4 (26%) หรือประมาณ 1 ใน 100 คน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัดได้ตลอดชีวิต จำนวน 1 ใน 5 (17%) คิดว่าโรคงูสวัดอาจเกิดขึ้นใน 1 ใน 1000 คน และเกือบครึ่ง (49%) เชื่อว่า พวกเขาไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัด
ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่ที่อายุ 50 ปีขึ้นไปมีเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคงูสวัดอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว และเชื้อไวรัสอาจกลับมาแผลงฤทธิ์เมื่ออายุมากขึ้น โดยโรคงูสวัดเกิดจากการกลับมาเป็นซ้ำของไวรัส varicella-zoster (VZV) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่ออายุมากขึ้นภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อจะลดลง ส่งผลให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปจึงมีความเสี่ยงสูงขึ้น
ผลสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงอาการปวดที่เกิดจากโรคงูสวัด ซึ่งจะมีอาการเป็นผื่นแดง และมีตุ่มน้ำใส สร้างความเจ็บปวดบริเวณหน้าอก ท้อง หรือใบหน้า ทำให้ปวดแสบร้อน ปวดเหมือนมีเข็มมาทิ่มแทงหรือรู้สึกเหมือนไฟช็อต โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1 ใน 10 คนไม่ทราบถึงอาการของโรคงูสวัด และมากกว่า 1 ใน 4 (28%) เชื่อว่า โรคงูสวัดจัดอยู่ในโรคที่ "ไม่อันตราย"
หลังจากผื่นที่เกิดจากงูสวัดทุเลาลงไป ผู้ป่วยโรคงูสวัดบางคนอาจประสบกับอาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด ซึ่งเป็นอาการปวดเส้นประสาทเรื้อรังที่อาจกินเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนและบางครั้งอาจคงอยู่นานหลายปี ทั้งนี้ มีผลการศึกษาต่าง ๆ พบว่า อาการปวดตามแนวเส้นประสาทเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคงูสวัด โดยพบใน 5-30% ของผู้ป่วยโรคงูสวัด
GSK เผยแพร่ผลสำรวจโรคงูสวัดนี้เนื่องในสัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัด ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นแคมเปญที่จัดโดย GSK ร่วมกับสหพันธ์ผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (IFA) มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคงูสวัด เพื่อแก้ปัญหาการขาดความรู้ด้านความเสี่ยงและผลกระทบของโรคงูสวัด
นางมาเรีย คริสติช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า "ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า เรามีความจำเป็นต้องเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและผลกระทบของโรคงูสวัด ในฐานะตัวแทนของผู้สูงอายุทั่วโลก เรามีความภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในความพยายามระดับโลกในครั้งนี้ในการยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคงูสวัด เพื่อช่วยให้ผู้ใหญ่วัยกลางคนตระหนักถึงความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคงูสวัด ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวด"
การสำรวจครั้งนี้ยังได้สอบถามเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพ พบว่า ผู้ใหญ่จำนวนมากที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจะเลือกค้นหาข้อมูลสุขภาพที่ไม่ใช่วิธีดั้งเดิม โดย 90% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ใช้เครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต เช่น กูเกิล ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่า ผู้คนต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคงูสวัดและแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้ โดยในการสำรวจการค้นหาข้อมูลทั่วโลกจากกูเกิล ระยะเวลา 12 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 พบว่า มีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารเกี่ยวกับโรคงูสวัดมากขึ้น โดยวัดจากผลการค้นหาออนไลน์ มีความสนใจค้นหาเกี่ยวกับ "ระยะอาการของผื่นที่เกิดจากโรคงูสวัด" เพิ่มขึ้นถึง 600% สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในโรคงูสวัดที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการมีแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น
พญ. บุษกร มหรรฆานุเคราะห์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "GSK เล็งเห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับสหพันธ์ผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (IFA) เพื่อยกระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคงูสวัดสำหรับผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 50 ปี ผลการวิจัยใหม่นี้แสดงให้เห็นถึงการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคงูสวัดและกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคดังกล่าว โรคงูสวัดเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องในสัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัด เราต้องการให้ทุกคนปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคงูสวัดที่สร้างความทุกข์ทรมานและอาจส่งผลกระทบต่อเราตลอดชีวิต"
เกี่ยวกับสัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัด (Shingles Awareness Week)
สัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัด (26 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2567) เป็นสัปดาห์รณรงค์โรคงูสวัดที่จัดขึ้นทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาด้านการขาดความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคงูสวัด ภายใต้ความร่วมมือของสหพันธ์ผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (IFA) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพูดคุยและหารืออย่างจริงจังระหว่างผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคงูสวัด
ข้อมูลอ้างอิง