จิตตะ ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี แก้วิกฤตการเงินคนไทย ออมและลงทุนได้อัตโนมัติ

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday March 14, 2024 14:57 —ThaiPR.net

จิตตะ ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี แก้วิกฤตการเงินคนไทย ออมและลงทุนได้อัตโนมัติ

จิตตะ (Jitta) สตาร์ทอัปด้านการลงทุนของไทย พร้อมเดินหน้าสู่ปีที่ 12 อย่างมั่นคงและมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยี AI ด้านการวิเคราะห์หุ้นแนวเน้นคุณค่าอย่าง "Jitta" ที่มีผู้ใช้งานกว่า 80 ประเทศทั่วโลก พิสูจน์ด้วยผลตอบแทนรวมที่ชนะตลาดอย่างยาวนาน รวมถึงเป็น บลจ. ที่มีจำนวนกองทุนส่วนบุคคลมากที่สุดในประเทศ บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ สร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนหลังวิกฤตสูงถึง 2 เท่า พร้อมต่อยอดสร้างระบบนิเวศการเงินที่ช่วยให้คนไทยได้ จ่าย-ออม-ลงทุน แบบอัตโนมัติ สร้างพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแรงให้คนไทยและสังคมไทยยั่งยืน

นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จิตตะ ดอท คอม จำกัด สตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยที่เติบโตอย่างแข็งแรงมาถึง 12 ปี เปิดเผยว่า ตลอดช่วง 12 ปีที่ จิตตะ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเงินไทย เรายังคงเติบโตบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า ตามพันธกิจ (Mission) ที่ว่า "ช่วยนักลงทุนสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า ด้วยวิธีการที่ง่ายกว่า"  (Help investors create better returns through simple investment methods) 

ด้วยความเชื่อมั่นในหลักการลงทุนระยะยาวที่พิสูจน์มาตลอดระยะ 12 ปี รวมถึงเทคโนโลยี AI ที่ได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นทั่วโลก รวมถึงพอร์ตการลงทุนที่เราได้บริหารจัดการมากว่า 6 ปี มั่นใจว่าแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ได้พัฒนาจะเป็นหนึ่งในการร่วมแก้วิกฤตด้านการเงินส่วนบุคคลของคนไทย สร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ด้วยการสร้างระบบนิเวศทางการเงิน ที่ช่วยส่งเสริมวินัยจากการ จ่าย-ออม-ลงทุน ด้วยการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ ผ่านกระบวนการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่จะทำให้คนไทยมีเงินเก็บได้จริง ซึ่งการมีเงินออมจะเป็นพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแรงและนำไปสู่จุดเริ่มต้นการลงทุนได้อย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความรู้การเงินและหลักการลงทุนระยะยาวที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารจัดการพอร์ตลงทุนได้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง เพื่อสร้างผลตอบแทนได้อย่างยั่งยืน  

จุดเริ่มต้นปี 2555  แพลตฟอร์มวิเคราะห์หุ้น Jitta ที่พัฒนามาเพื่อตอบโจทย์นักลงทุนระยะยาว ตามหลักการแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) จากวอเรน บัพเฟตต์ นักลงทุนระดับโลกที่ "ลงทุนในหุ้นดี ราคาถูก" ปัจจุบันได้ช่วยให้นักลงทุนจากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ไต้หวัน ญี่ปุ่น  มาเลเซีย และบราซิล เป็นต้น ได้เข้าถึงข้อมูลวิเคราะห์หุ้นที่มีมากถึง 48,000 บริษัท ซึ่งครอบคลุม 90% ของหุ้นทั้งโลก 

ในแต่ละวันเทคโนโลยีของ Jitta มีการวิเคราะห์ข้อมูลงบการเงินของหุ้นร่วม 1,000 ล้านชุดข้อมูล และมีการพิสูจน์ผลตอบแทนของอัลกอริทึมที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 12 ปี อย่าง Jitta Ranking Top 30 ที่ทำผลงานได้ดีมาก สามารถสร้างผลตอบแทนโดยรวมเฉลี่ยชนะตลาด 15.75% เทียบกับดัชนี 5.84% 

6 ปีต่อมา ปี 2561 บริษัทได้รับอนุญาตจากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ให้เป็น บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด (บลจ.) ซึ่งเป็น WealthTech รายแรกของประเทศไทย ที่ใช้เทคโนโลยีมาให้บริการและบริหารกองทุนส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าทั่วไป ตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะช่วยให้คนเข้าถึงการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนระยะยาวที่ดี ได้อย่างสะดวกสบาย และเป็นธรรมด้วยค่าธรรมเนียมต่ำ เพียง 0.5% ต่อปีเท่านั้น รวมถึงพยายามลดเงินลงทุนเริ่มต้นจากเดิมลงทุนขั้นต่ำที่ 1 ล้านบาทลงมาอยู่ที่ 10,000 บาทในปัจจุบัน ทำให้ จิตตะ เวลธ์ มีการบริหารกองทุนส่วนบุคคลจำนวนกว่า 65,000 บัญชีมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีแผนที่จะลดขั้นต่ำลงไปอีก เพื่อช่วยให้คนไทยได้เข้าถึงการลงทุนที่ดีกว่าด้วยเทคโนโลยีได้มากยิ่งขึ้น

โดย จิตตะ เวลธ์ ได้นำอัลกอริทึ่ม Jitta Ranking ที่ใช้ AI คัดเลือกหุ้นดีราคาถูกมากระจายความเสี่ยงจัดการลงทุนและปรับพอร์ตอัตโนมัติ ในหุ้นประเทศต่างๆ เช่น ไทย อเมริกา เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นเหนือตลาดถึง 2 เท่าหลังวิกฤติ โดยเฉพาะ Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ ที่ทำผลตอบแทนแซงหน้าดัชนีไปเกือบเท่าตัว เฉลี่ย +40.83% ในขณะที่ S&P 500 ทำผลตอบแทนไปได้เพียง +24.73%

นอกจากนี้ จิตตะ เวลธ์ ยังเป็นผู้บุกเบิกการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะ ETF ที่เป็นการลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ของโลกที่กำลังเติบโตสูง เช่น ETF เซมิคอนดักเตอร์ เมตาเวิร์ส และไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เป็นต้น โดยมีเทคโนโลยี AI ในการบริหารจัดการเลือกและลงทุนอัตโนมัติที่เรียกว่า Thematic Optimize และยังมีแผนการลงทุน Global ETF ที่เน้นจัดพอร์ตกระจายในสินทรัพย์ทั่วโลกตามทฤษฎีรางวัลโนเบล Modern Portfolio Theory เหมาะกับการลงทุนในทุกช่วงตลาด และยังสร้างผลตอบแทนได้สม่ำเสมอตามระดับความเสี่ยงที่เลือกได้

ปัจจุบันคนไทยกำลังเผชิญวิกฤตด้านการเงิน จากข้อมูลการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า คนไทยมีเงินออมไม่เพียงพอ ทั้งเงินออมที่ต้องใช้ในระยะสั้นภายใน 6 เดือน ที่มีไม่ถึง 1 ใน 4 และระยะยาวเกิน 6 เดือนที่มีเพียง 23% เทียบกับประเทศพัฒนาแล้วในแถบเอเชียอย่างฮ่องกงที่มีถึง 55% ซึ่งการมีเงินออมไม่พอมีผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศและสังคมในภาพรวม เป็นตัวเร่งของหนี้ครัวเรือน และเพิ่มภาระในการเลี้ยงดูยามชรา 

นายตราวุทธิ์กล่าวว่า เพื่อปลดล็อกอุปสรรคใหญ่ของคนไทยบริษัทจึงได้พัฒนา Jitta Card มาแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน การไม่มีเงินออม และขาดความรู้ด้านการลงทุน รวมถึงการไม่มีวินัยที่ดีพอ Jitta Card จึงเป็นเทคโนโลยีการเงินปรากฏการณ์ใหม่ จ่าย-ออม-ลงทุน แบบไม่รู้ตัว โดยผู้ใช้งานสามารถใช้จ่ายเงินผ่านแอปหรือบัตร Visa Card ได้อย่างสะดวกสบายทั่วโลก ทุกการใช้จ่ายระบบจะเก็บเงินทอน (Round up) ไว้ในกระเป๋าเงินออมให้โดยอัตโนมัติ รวมถึงมีโบนัสเงินออมหรือ Cashback จากการช็อปออนไลน์กับร้านค้าที่เป็นพันธมิตรมากมาย ซึ่งเงินออมทั้งหมดจะถูกส่งต่อไปยังกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ผู้ใช้ได้เลือกนโยบายการลงทุนไว้ เป็นการจัดการเงินในชีวิตประจำวันที่ไม่ต้องฝืน ทำได้ทันที สร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ มีพอร์ตการลงทุนที่เติบโตในระยะยาวตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อเป้าหมายสูงสุดให้คนไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้นในอนาคต โดย Jitta Card (Beta) เปิดให้ทดสอบใช้งานแล้ว ผู้สนใจสามารถลงชื่อเพื่อขอใช้งานได้ที่ www.jittacard.com   

"ตลอดระยะเวลา 12 ปี เราได้พิสูจน์แล้วว่า Jitta ยังคงเดินหน้าทำตามพันธกิจอันยิ่งใหญ่ของเรา และเดินหน้าสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ เพื่อปลดล็อกอุปสรรคทางการเงินของคนไทย ให้ทุกคนเข้าถึงสุขภาพทางการเงินที่แข็งแกร่ง เรียบง่าย ในทุกๆ มิติของชีวิต"นายตราวุทธิ์กล่าว

ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง 12 ปี จิตตะ ได้มีแคมเปญเพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีวินัยในการลงทุน โดยนักลงทุนสามารถสะสมยอดการลงทุนเพื่อรับของที่ระลึกคอลเลคชันพิเศษ J12  ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม - 15 พฤษภาคม 2567 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook.com/jittawealth 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ