เม็กซิโก ทลายกลุ่ม BRIC (Brazil, Russia, India, China) กลายเป็น1 ใน 4 ตลาดเติบโตเร็วที่สุดในโลก ขณะที่ไทยติดอันดับ 8

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 8, 2008 15:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 พ.ค.--ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล
จากรายงานธุรกิจนานาชาติ (IBR) จัดทำโดยแกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล เม็กซิโกแซงหน้าบราซิลในด้านโอกาสการลงทุนและพัฒนา ดัชนีการเติบโตของตลาดโดยใช้การคำนวณตามค่าความสำคัญของปัจจัยหลัก* แสดงให้เห็นว่า จีน อินเดีย และรัสเซีย ยังคงอยู่ใน 3 อันดับแรก ตามมาด้วยเม็กซิโกและบราซิลเป็นลำดับที่ 4 และ 5 การที่เม็กซิโกอยู่ในอันดับ 4 แสดงให้เห็นมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ (เมื่อรวมการส่งออกและนำเข้าแล้วเป็นที่สองรองจากจีนเท่านั้น) และมาตรฐานการครองชีพที่ค่อนข้างสูง ใน 5 ตลาดเติบโตเร็วที่สุดนั้น เม็กซิโกมีผลิตภัณฑ์รวมในประเทศต่อหัว (GDP) สูงเป็นที่สองรองจากรัสเซีย ตามด้วยจีน อินเดีย และบราซิล จีนและอินเดียยังคงโดดเด่นในฐานะตลาดเติบโตเร็วด้วยโอกาสทางธุรกิจที่ดีที่สุด เนื่องจากผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ จำนวนประชากร โอกาสในการเติบโต และปริมาณการนำเข้าจำนวนมาก การที่เม็กซิโกอยู่ในอันดับที่ 4 นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับ มร. เฮคเตอร์ เปเรซ กรรมการผู้จัดการ แกรนท์ ธอร์นตัน เม็กซิโก “เศรษฐกิจของเม็กซิโกมีความมั่นคงมากในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา เงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนเงินเปโซก็มีเสถียรภาพ นอกจากนี้เรายังมีข้อตกลงการค้าเสรี 12 ฉบับกับ 43 ประเทศ การส่งออกจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เม็กซิโกมีแรงงานคุณภาพ ทั้งยังมีอุตสาหกรรมการผลิตและประกอบชิ้นส่วนที่แข็งแรง การที่ประเทศตั้งอยู่ใกล้สหรัฐอเมริกาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอีกด้วย” ในการกำหนดดัชนี การสำรวจรายงานธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน ยังพบว่าจำนวนธุรกิจเอกชนทั่วโลกที่มีการส่งออก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35 ในปี 2003 เป็นร้อยละ 37 ในปี 2008 อย่างไรก็ดี ตัวเลขนี้มีความแตกต่างในแต่ละภูมิภาค ประเทศสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49 เป็นร้อยละ 53 และประเทศในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 39 ซึ่งแสดงจำนวนการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ ประเทศเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) มีการส่งออกลดลงจากร้อยละ 31 เป็นร้อยละ 30 เศรษฐกิจขาขึ้นในเขตเงินยูโรในปี 2006-2007 รวมถึงการค้าภายในสหภาพยุโรปที่มีความมั่นคงช่วยให้ประเทศในภูมิภาคนี้อยู่ในอันดับต้นๆ ส่วนในประเทศไทยการสำรวจพบว่าร้อยละ 51 ของธุรกิจเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากการส่งออก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 48 ในปี 2006 ร้อยละ 68 ของธุรกิจไทยทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาทำการส่งออก ตัวเลขบวกนี้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจ โลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน ไทยติดอันดับ 8 ตลาดเติบโตเร็ว ผลการสำรวจตลาดเติบโตเร็ว ซึ่งพิจารณาทั้งขนาด ความร่ำรวย และความเป็นไปได้ในการเติบโตของตลาด แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 8 ตลาดเติบโตเร็วเพื่อการลงทุนของโลก เทียบเท่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย และล้ำหน้ากว่าฟิลิปปินส์และเวียดนามเล็กน้อย มร. ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กรรมการบริษัทแกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทยกล่าวว่า “ประเทศไทยมีโอกาสการลงทุนที่ดึงดูดมานานหลายปีและเรายังคงเห็นลูกค้ามากมายที่สนใจลงทุนในการผลิตเพื่อการส่งออกและการพัฒนาตลาดในประเทศ ประเทศไทยผสมผสานโครงสร้างต้นทุนที่เหมาะสม สภาวะเศรษฐกิจที่มั่นคง แรงงานที่มีความเชี่ยวชาญ กฏระเบียบที่ยอมรับได้ และแรงจูงใจในการลงทุนที่น่าสนใจ ความจริงแล้วปัญหาเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นตลาดการลงทุนที่น่าสนใจมากแห่งหนึ่งของโลก” การลงทุนในตลาดเติบโตเร็ว การสำรวจยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าบริษัททั่วโลกเห็นความสำคัญของขนาดตลาดและความเป็นไปได้ในการเติบโตมากกว่าปัจจัยอื่นเมื่อมีการวางแผนการลงทุน โดยถือเป็นร้อยละ 56 ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันในทุกภูมิภาคยกเว้นภูมิภาคลาตินอเมริกาที่พิจารณาความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจมากกว่า ความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับธุรกิจในสหภาพยุโรปและในสหรัฐอเมริกา ผลการสำรวจบ่งชี้ว่าธุรกิจในเขตเศรษฐกิจเติบโตเต็มที่มักจะวางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงการเมืองและเศรษฐกิจโดยรวม ในขณะที่ธุรกิจในตลาดเติบโตเร็วจะเน้นปัจจัยทางการเมืองและกฏระเบียบมากกว่า มร.ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กรรมการบริษัทแกรนท์ ธอร์นตันในประเทศไทย สรุปว่า “เป็นอีกครั้งที่ผลสำรวจรายงานธุรกิจนานาชาติแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนในตลาดโลกได้นั้น เสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ