พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ ดร.ลักษมณ สมานสินธุ์ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักปลัดกระทรวง อว. ประชุมร่วมกับ Ms. Mami Fukuchi, Director of Asia and Pacific Division, Trade Policy Bureau, Ministry of Economy, Trade and Industry (METI), Ms. Yumi Numajiri, Commercial Attache, Embassy of Japan in Thailand และคณะผู้แทน เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ความร่วมมือด้านพลังงานและอุตสาหกรรม วันที่ 28 มีนาคม 2567 ณ อาคารพระจอมเกล้า กระทรวง อว.
ในการนี้ พญ.เพชรดาว เป็นประธานกล่าวต้อนรับคณะผู้แทน พร้อมขอบคุณ สำหรับโครงการความร่วมมือในการพัฒนากำลังคนผ่านการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็นในประเทศไทย สามารถผลิตวิศวกรที่มีทักษะเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคต อีกทั้งสองฝ่ายยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนนโยบายสำคัญ ได้แก่
และ 3. อว. for EV ประกอบด้วยแผนงาน EV-HRD การพัฒนาทักษะกำลังคนเพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV-Transformation การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. และ EV-Innovation การสนับสนุนงบประมาณวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า กำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (EV Hub) สร้างอุตสาหกรรมใหม่ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โอกาสนี้ Ms. Mami นำเสนอความร่วมมือในอนาคตระหว่างอาเซียนและประเทศญี่ปุ่นด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยอาเซียนเป็นฐานการผลิตและศูนย์กลางการส่งออกรถยนต์ที่สำคัญของบริษัทเอกชนชั้นนำของญี่ปุ่น จากการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ได้มีการเห็นชอบแผน ASEAN-Japan Co-creation Initiative for the Next-Generation Automotive Industry พร้อมทั้งจัดทำกลยุทธ์ Strategic Master Plan โดยหน่วยงาน Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) มุ่งเน้น 3 เสาหลัก คือ 1) การก่อตั้ง Asia Zero Emission Center เพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบาย แผนงาน การดำเนินโครงการการลดคาร์บอน 2) การจัดตั้งเครือข่ายและบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากร และ 3) การวิเคราะห์แบบสำรวจและเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเพื่อลดคาร์บอนในห่วงโซ่คุณค่าทุกขั้นตอน สร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นและเชื่อถือได้ สำหรับการผลิตและส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า EV และรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด HEV
นอกจากนี้ในส่วนของ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. และ Ms. Yumi นั้นได้เคยร่วมหารือเรื่อง End-of-Life Vehicle (ELV) Circular System Project in Thailand ซึ่งเป็นโครงการการจัดการยานยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน เพื่อลดปริมาณของเสียจากยานยนต์ มีการบำบัดซากยานยนต์อย่างถูกวิธีและนำชิ้นส่วนยานยนต์กลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ตามสัดส่วนที่กำหนด มุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทั้งนี้ วว. โดยศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการอย่างครบวงจรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ครอบคลุมการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและยานยนต์ไฟฟ้า ทั้ง BEV และ EV-BUS การทดสอบและรับรองมาตรฐานชิ้นส่วนยานยนต์ รวมถึงการรีไซเคิลแบตเตอรี่ เพื่อสนับสนุนโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green (BCG) Economy Model