Bitcoin Halving ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติในโลกของ Bitcoin กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า จากการคำนวณคาดว่าจะเกิดขึ้นวันที่ 20 เมษายน 2567 เวลาประมาณตี 3 โดยวันและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความเร็วในการปิด Block บน Bitcoin Blockchain
แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนสนใจคงไม่ใช่เรื่องในเชิง Technical แต่เป็นเรื่องของผลกระทบในเชิงราคาว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อราคาของ Bitcoin ได้มากน้อยขนาดไหนและมีโอกาสจะเห็นตลาดกลับมาเป็นขาขึ้นเต็มตัวแบบ Cycle ก่อน ๆ ได้หรือไม่
ซึ่งก่อนจะไปถึงบทวิเคราะห์ ทีม Cryptomind Research ขอให้รายละเอียดของ Bitcoin Halving ว่าBitcoin Halving คือเหตุการณ์ที่จำนวนรางวัลจากการขุด Bitcoin ใหม่จะลดลงครึ่งหนึ่งทุก ๆ 4 ปี เหตุการณ์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมอุปทานของ Bitcoin ให้มีจำนวนจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น
โดยใน Source Code ของ Bitcoin ถูกกำหนดให้รางวัลในส่วนของ Block Subsidy ที่ Miner จะได้รับในช่วงแรกไว้ที่ 50 BTC ต่อ Block และจะมีสิ่งที่เรียกว่า "Bitcoin Halving" หรือการลดจำนวน Block Subsidy ลง "ครึ่งหนึ่ง" ทุก ๆ 210,000 Block โดยแต่ละ Block จะใช้เวลายืนยันธุรกรรมโดยเฉลี่ยประมาณ 10 นาที ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่าทำไม Bitcoin Halving จะเกิดขึ้นทุก ๆ ประมาณ 4 ปี ซึ่งหากนับตั้งแต่ที่ Bitcoin เกิดขึ้นมาได้เกิด Bitcoin Halving มาแล้วทั้งหมด 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 : เกิดขึ้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2012 โดย Block Subsidy ลดลงจาก 50 BTC เป็น 25 BTC
ครั้งที่ 2 : เกิดขึ้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2016 โดย Block Subsidy ลดลงจาก 25 BTC เป็น 12.5 BTC
ครั้งที่ 3 : เกิดขึ้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2020 โดย Block Subsidy ลดลงจาก 12.5 BTC เป็น 6.25 BTC
และครั้งที่กำลังจะมาถึงนี้จะเป็นครั้งที่ 4 ที่ Block Subsidy จะลดลงจาก 6.25 BTC เป็น 3.125 BTC
โดยหากนำตัวเลขทั้งหมดข้างต้นมาคำนวณแล้วนำมาสร้างกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Block Subsidy (เส้นสีแดง) และ จำนวน Bitcoin ในระบบ (BTC Circulating Supply) เทียบกับเวลา จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกปริมาณ Bitcoin ที่เพิ่มเข้ามาในระบบนั้นสูงมากแต่ก็จะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเกิด Bitcoin Halving
และถ้าคำนวณไปเรื่อย ๆ ตาม Code จน Invalid ก็จะทำให้ Bitcoin ไม่สามารถถูกผลิตเพิ่มขึ้นมาได้อีก ซึ่งตัวเลขสุดท้ายที่ได้เมื่อ Code ถูกรันไปจนสุดแล้วก็คือประมาณ 21,000,000 จึงเป็นที่มาของที่ว่าทำไม Bitcoin ไม่สามารถมีปริมาณเกิน 21,000,000 BTC ได้นั่นเอง และที่สำคัญระยะเวลากว่า BTC จะถูกขุดครบก็คือปี 2140 หรืออีกประมาณ 116 ปีข้างหน้า
โดยในขณะที่เขียนบทความนี้จำนวน Bitcoin ได้ถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนกว่า 19,685,375 BTC หรือคิดเป็นประมาณ 93.7% เรียบร้อยแล้ว
และเมื่อเกิด Bitcoin Halving ครั้งที่ 4 ที่ Block Subsidy จะลดลงเหลือ 3.125 BTC จะทำให้สามารถคำนวณได้ว่าในระยะเวลาประมาณ 4 ปีก่อนเกิด Bitcoin Halving ครั้งถัดไปจะมี Bitcoin ถูกผลิตออกมาใหม่อีกประมาณ 657,000 BTC หรืออีกประมาณ 3.13% เท่านั้น (ปีละ 0.7825% ของ Max Supply)
การเคลื่อนไหวของราคา Bitcoin หลัง Bitcoin Halving แต่ละครั้ง
เหตุผลที่หลายคนรอคอยและจับตามอง Bitcoin Halving นั้นก็เพราะหากมองกลับไปดูการเคลื่อนไหวของราคา BTC หลังจากการเกิด Bitcoin Halving แล้วก็จะเห็นการเพิ่มขึ้นของราคาอย่างบ้าคลั่งซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจนักลงทุนได้อย่างดี
จากกราฟด้านบนแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมราคาภายหลัง Bitcoin Halving ทั้ง 3 ครั้ง ที่หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยการปรับตัวขึ้นของราคาอย่างรุนแรง โดยหากพิจารณาราคาจากวันที่เกิด Bitcoin Halving แต่ละครั้งเทียบกับราคา All time high ในแต่ละ Cycle จะเห็นว่ามีการปรับตัวด้านราคาดังนี้
1st Bitcoin Halving : ราคาปรับตัวขึ้นประมาณ 9,600%
2nd Bitcoin Halving : ราคาปรับตัวขึ้นประมาณ 2,856%
3rd Bitcoin Halving : ราคาปรับตัวขึ้นประมาณ 687%
และถ้าหากนับจากจุดต่ำสุดของแต่ละรอบที่มักจะเกิดก่อน Bitcoin Halving นั้นก็จะได้ตัวเลขที่น่าตกใจมากกว่านี้หลายเท่า อย่างไรก็ตามจากสถิติข้างต้นนั้นเป็นตัวอย่างเพียง 3 ครั้งเท่านั้นซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยในเชิงสถิติ ทำให้หลัง Bitcoin Halving นี้อาจเกิดเหตุการณ์ที่แตกต่างจากเดิมได้ ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบ
และที่สำคัญราคาของ Bitcoin ไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงภายหลัง Bitcoin Halving ทันทีโดยถ้าพิจารณา Halving ครั้งที่ 2 และ 3 แล้ว กว่าราคาจะกลับไปทำ All time high ได้ก็ใช้เวลา 231 วันและ 196 วันตามลำดับโดยระหว่างนั้นราคาเป็นการเคลื่อนไหวแบบ Sideway up แต่สำหรับ Halving ครั้งที่ 4 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ราคาของ Bitcoin ได้ปรับตัวขึ้นทำ All time high ไปก่อนแล้วทำให้เป็นสิ่งที่น่าจับตาดูอย่างมากว่า Cycle นี้จะแตกต่างจาก Cycle ก่อน ๆ มากน้อยแค่ไหน สาเหตุเพราะมีหลายปัจจัยที่แตกต่างจาก Cycle ก่อน ๆ อยู่พอสมควรโดยเฉพาะเรื่องของ Spot ETF ที่เป็นสะพานเชื่อมเม็ดเงินมหาศาลเข้ามาสู่ Bitcoin ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
วิเคราะห์ภาวะตลาดหลังการเกิด Bitcoin Halving
หลายคนอาจจะพูดถึงในเชิงที่ผลกระทบจาก Halving ไม่ได้ส่งผลอะไรมากขนาดนั้นเพราะในปัจจุบันปริมาณ Bitcoin ในระบบ (Circulating Supply) มีอยู่เกือบ 94% เรียบร้อยแล้วและในเชิงตัวเลขที่ลดลงไม่ได้ดูเยอะเหมือนกับ Halving รอบก่อน ๆ ที่ลด Block Subsidy อย่างมีนัยสำคัญอย่างเช่น Halving ครั้งแรกที่ลดจาก 50 BTC เหลือ 25 BTC ที่ทำให้ดูหายากขึ้นกว่าแบบมาก ๆ แต่ใน Halving รอบที่ 4 นี้ลดจาก 6.25 BTC เหลือ 3.125 BTC เท่านั้น
ทีม Cryptomind Research มองว่าในจุดนี้สามารถมองได้อีกมุมหนึ่งคือความเข้าใจและความต้องการใน Bitcoin เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นจากการเติบโตมาตลอด 15 ปีที่มูลค่าตลาดสูงขึ้นมาตลอด ด้วยเหตุนี้เองการที่ Supply ของ Bitcoin อยู่ในจุดที่ค่อนข้างคงที่แล้วแต่ความต้องการ (Demand) ในเชิงมูลค่ากลับมากขึ้นตามในสัดส่วนที่สัมพันธ์กันก็จะสามารถทำให้ราคาค่อย ๆ ขยับขึ้นได้อยู่ดี แต่ต้องใช้เวลาและปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน โดยใน Cycle นี้มีปัจจัยบวกหลายอย่างที่ส่งเสริมดังนี้
ที่พูดมาทั้งหมดนี้เป็นช่วงที่ Bitcoin Halving ยังไม่ได้เกิด นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐยังไม่ผ่อนคลาย แถมยังมีเรื่องสงครามและความไม่สงบต่าง ๆ เข้ามาประกอบกันด้วย ซึ่งถ้าทุกอย่างเริ่มคลี่คลายและผ่อนคลายมากขึ้น ตลาดเริ่มกลับมาเปิดความเสี่ยง (Risk On) มากกว่านี้ ทางทีม Cryptomind Research คาดว่าจะได้เห็นเม็ดเงินไหลเข้ามาที่ Bitcoin ได้อีกมากไม่ว่าจะผ่าน Spot ETF หรือเข้าผ่าน Centralized Exchange โดยตรงและทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นได้ แต่ในระยะสั้นอาจมีการปรับตัวลงได้เนื่องจากความไม่แน่นอนต่าง ๆ ดังกล่าวและที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ก็ขึ้นมาเยอะพอสมควรแล้ว ถ้าจะมีการปรับฐานบ้างก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
สำหรับมุมมองในระยะสั้น BTC ได้มีการปิดแท่งแดงลงมาใต้กรอบ Triangle ประกอบกับ RSI ที่ทำ Lower High อย่างต่อเนื่องเป็นเครื่องบ่งบอกได้ว่า Momentum ของ BTC นั้นอ่อนแรงลงและอาจจะย่อตัวในระยะสั้นได้ สิ่งที่น่าจับตามองคือ แนวรับที่ $60,000 ซึ่งเป็นแนวรับทางจิตวิทยาที่ถ้าหากหลุดลงไปอีกก็อาจจะลงไปทดสอบแนวรับที่ $52,000 ได้ แต่ถ้าราคายังรักษาตัวอยู่ในกรอบระหว่าง $60,000 - $73,777 ได้ก็อาจเป็นการ Sideway ไปอีกสักพักเพื่อรอเลือกทาง ส่วนระยะยาวยังคงมองบวกเหมือนเดิมดังเหตุผลที่กล่าวไปข้างต้น