ปวดหลัง ร้าวลงขา ชา อ่อนแรง?... ระวัง "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท"

ข่าวทั่วไป Wednesday April 24, 2024 13:27 —ThaiPR.net

ปวดหลัง ร้าวลงขา ชา อ่อนแรง?... ระวัง

ปวดหลัง ร้าวลงขา ชา อ่อนแรง?... ระวัง "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท"

จริงอยู่ที่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมักพบในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันไม่ว่าใครก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ เพราะสาเหตุหลักของโรคนี้คือ ความเสื่อมของกระดูกตามอายุที่มากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานกระดูกสันหลังผิดวิธี เช่น การก้มๆ เงยๆ ขณะทำงาน ยกของหนักเป็นประจำ นั่งทำงานหรือขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไปต่างก็มีโอกาสที่หมอนรองกระดูกจะเสื่อมสภาพ และเสี่ยงกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

เมื่อเส้นประสาทที่ไขสันหลังถูกกดทับ เส้นประสาทจะเกิดการอักเสบส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังนี้

  • ปวดหลังหรือสะโพกร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดมักจะรุนแรงขึ้นเมื่อ ไอ จาม ก้มตัว ยกของหนัก
  • ชาหรืออ่อนแรงขาและอาจมีอาการชาเท้าร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่ม หรือรู้สึกเสียวที่ขา
  • หากรุนแรงจะมีอาการของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก
  • ในระยะที่รุนแรงขึ้น อาการปวด ชา และอ่อนแรงจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนเส้นประสาทบาดเจ็บเสี่ยงทำให้พิการได้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ทำได้หลายวิธีแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยดูหลายอย่างตั้งแต่ตำแหน่ง ความรุนแรงของการกดทับ ความเสื่อมของตัวกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูกสันหลังของผู้ป่วย การรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่การทานยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัด หรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในโพรงประสาท เพื่อลดอาการปวด ในผู้ป่วยบางคนที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา และยังมีอาการปวดมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด "การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป" ข้อมูลเพิ่มเติม >> https://bit.ly/4bFzdCe

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ถ้ารีบมาพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ อาจรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าอาการรุนแรงและจำเป็นต้องผ่าตัดจริงๆ ปัจจุบันด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมถึงความเชี่ยวชาญของแพทย์ จึงช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการบาดเจ็บ ลดการนอนโรงพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามคำแหง >> https://bit.ly/4bEFVID โทร. 1512 ต่อ 1160, 1168,1169Line Official : @ramhospital


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ