นางกลอยตา ณ ถลาง รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธาน Carbon Markets Club รับเชิญร่วมเสวนาเพื่อขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาวะภูมิอากาศใน 2 เวที หัวข้อ "ทางออกสู่การรับมือและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Carbon Neutral & Climate Justice)" ในงานสัมมนา Social Value Thailand Forum 2024 เร่งเป้า SDG Impact ร่วมสร้างภาคีพันธมิตรด้วยพลังภาคการศึกษา) และหัวข้อ "How Carbon Markets Support Thailand's Energy Transition" ในงาน Bank of America Economic Seminar 2024 - Thailand Global Outlook
ในงาน Social Value Thailand Forum 2024 นางกลอยตา ได้กล่าวถึงทิศทางของกลุ่มบริษัทบางจากในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผน BCP 316 NET เพื่อไปสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050 ของบางจากฯ ซึ่งครอบคลุมการปรับปรุงประสิทธิภาพต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต การลงทุนในนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การสร้างสมดุลทางระบบนิเวศ การดูดซับคาร์บอนด้วยธรรมชาติ การเพิ่มสัดส่วนธุรกิจสีเขียว รวมถึงการสร้างระบบนิเวศสำหรับสังคมคาร์บอนต่ำ
สำหรับการสร้างภาคีพันธมิตรด้วยพลังภาคการศึกษานั้น กลุ่มบริษัทบางจากให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา ผ่านโครงการต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ และมูลนิธิใบไม้ปันสุข เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงด้วยการพัฒนาเยาวชนทั้งในด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการอ่านออกเขียนได้ อันเป็นพื้นฐานหลักที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านต่าง ๆ สำหรับการต่อสู้กับวิกฤตสภาวะภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากในขณะนี้ ได้ร่วมมือกับ
ภาคการศึกษา ในโครงการต่าง ๆ อาทิ การศึกษาการดักจับ ใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียศึกษาเทคโนโลยีและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การศึกษาวิจัยในการเพิ่มมูลค่าของเอทานอลจากการเปลี่ยนเป็นแก๊สโซฮอล์เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคาอาคารเป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ Smart University ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการทำความเย็นจากส่วนกลาง เพื่อประหยัดพลังงาน District Cooling รวมถึงสนับสนุนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แหล่งหญ้าทะเลเพื่อกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบ Blue Carbon เป็นต้น และได้กล่าวถึงโอกาสในการร่วมงานกับภาคการศึกษาในการทำวิจัยและพัฒนา หรือพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมาย Net Zero
ในงาน Bank of America Economic Seminar 2024 - Thailand Global Outlook นางกลอยตาและผู้ร่วมเสวนาจากบริษัท บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด และ Bank of America ได้ร่วมเสวนาถึงตลาดคาร์บอนในประเทศไทยซึ่งยังเป็นภาคสมัครใจ ทำให้ราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศ รวมถึงความต้องการในการซื้อขายคาร์บอนเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนจากภาคธุรกิจยังไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับตลาดภาคบังคับ เช่นในทวีปยุโรปหรือประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ อย่างไรก็ดี ด้วยบริบทของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและวิกฤตสภาวะภูมิอากาศที่รุนแรงในปัจจุบัน ทำให้ทุกฝ่ายต้องเร่งการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดกฎหมาย คือ (ร่าง) พระราชบัญญิตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นกลไกควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการนำภาษีคาร์บอนมาใช้ และกล่าวถึงมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน อาทิ CBAM ของสหภาพยุโรป ฯลฯ โดยนางกลอยตายังได้กล่าวถึงความสำคัญของตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ความต้องการมาตรฐานคาร์บอนเครดิตในระดับสากลที่ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้และไม่เป็นการฟอกเขียวทางเศรษฐศาตร์ (greenwashing) และการดำเนินงานของบางจากฯ ในการส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและการส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ผ่าน Carbon Markets Club
นอกจากนี้ บนทั้ง 2 เวที นางกลอยตายังได้เชิญชวนให้ผู้สนใจจากภาคการศึกษา ภาคเอกชน ทั้งหน่วยงานและบุคคล ฯลฯ สมัครเป็นสมาชิก Carbon Markets Club เพื่อร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับวิกฤตสภาวะภูมิอากาศ และสามารถใช้บริการตลาดคาร์บอน รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ ในเว็บไซต์ เช่นเครื่องมือประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ ที่กำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งการสมัครสมาชิกและการทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับสมาชิก ในเว็บไซต์ www.carbonmarketsclub.com ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ