โซลูชันเสริมสร้างความรู้ความปลอดภัยไซเบอร์ของ Kaspersky เปิดตัวโมเดล on-premises รองรับการอบรมภายในองค์กรแบบไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต
บริษัทจำนวนมากทั่วโลกได้นำนโยบายความปลอดภัยที่เข้มงวดมาใช้ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ไม่อนุญาตให้ใช้โซลูชันการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์บนคลาวด์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบและข้อปฏิบัติ หรือระดับความลับของข้อมูลภายในองค์กร เพื่อช่วยลูกค้ากลุ่มนี้ยกระดับทักษะด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้พนักงาน แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้เปิดตัวโมเดล on-Premises ของแพลตฟอร์ม Kaspersky Automated Security Awareness Platform (ASAP) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับรางวัล จุดเด่นของโมเดลนี้ คือ การทำงานโดยไม่ต้องใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้บริษัทสามารถควบคุมข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ผลการศึกษาล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ชี้ให้เห็นว่า บริษัททั่วโลกกว่า 77% เคยประสบเหตุการณ์ทางไซเบอร์อย่างน้อย 1 ครั้งภายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้านบุคลากร สำหรับแนวทางป้องกันเหตุการณ์ทางไซเบอร์ในอนาคต ผลสำรวจระบุว่า บริษัทต่าง ๆ มองว่า การฝึกอบรมพนักงานเฉพาะทาง โดยแบ่งเป็นการฝึกอบรมพนักงานฝ่าย IT (37%) และพนักงานในแผนกอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ IT (31%)
Kaspersky Automated Security Awareness Platform (ASAP) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาทักษะด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับพนักงานองค์กร ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ในกว่า 75 ประเทศทั่วโลกเลือกใช้แพลตฟอร์มนี้ ซึ่งช่วยยกระดับทักษะด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับพนักงานแล้วมากกว่า 2 ล้านคน ผลสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าแคสเปอร์สกี้เผยว่า ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมด้วย ASAP จำนวนมากกว่า 85% ระบุว่า พฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ของตนเองมีความรอบคอบและระมัดระวังมากขึ้น
แคสเปอร์สกี้เปิดตัวโมเดล on-premises ของโซลูชัน ASAP ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถติดตั้งโซลูชันภายในโครงสร้างพื้นฐานของลูกค้าเองได้ โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ของลูกค้า ส่งผลให้ไม่มีใครจากภายนอก แม้แต่นักพัฒนาที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลขององค์กรได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ตอบโจทย์องค์กรที่รักษาความลับขั้นสูงสุดโดยเฉพาะ เช่น เทคโนโลยีการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต การสาธารณสุข และหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น
นอกจากนี้ ด้วยโซลูชัน ASAP ที่ครอบคลุมหัวข้อสำคัญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ทั้งหมด รวมถึงความปลอดภัยไซเบอร์ในภาคอุตสาหกรรม และความปลอดภัยสารสนเทศสำหรับการทำงานระยะไกล ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดทางกฎหมาย เช่น NIS2 Directive ในยุโรป เป็นต้น สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากข้อกำหนดดังกล่าวระบุชัดเจนว่า พนักงานทุกคน รวมถึงผู้บริหารระดับสูง ต้องได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์เป็นประจำ
โซลูชันเสริมสร้างความรู้ด้านดิจิทัลจากแคสเปอร์สกี้คว้ารางวัลอันดับต้นๆ จากการประเมินอย่างต่อเนื่อง ในรายงานล่าสุดเรื่อง '2024 Security Awareness & Training Tools Emotional Footprint' โปรแกรมเสริมสร้างความรู้ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky Security Awareness program) ได้รับการยกย่องเป็นผู้นำ (Champion) อีกครั้ง โดยได้รับคะแนน Net Emotional Footprint สูงถึง 90% บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์นี้สร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานในระดับความรู้สึก และมีฟีเจอร์ที่ผู้ใช้งานชื่นชอบเป็นพิเศษ ได้แก่ การจำลองสถานการณ์โจมตี (Simulated attacks) และเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายหัวข้อ (Topic breadth) รวมทั้งรองรับการบริหารจัดการโดยทีมไอทีภายในองค์กรได้สะดวก ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบฝึกอบรมได้ตลอดเวลา โซลูชันเสริมสร้างทักษะที่มีคุณภาพ (Quality of skill-enhancing solutions) ด้วยเนื้อหาฝึกอบรมที่ได้รับการออกแบบอย่างมีคุณภาพ ช่วยพัฒนาทักษะด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับผู้ใช้งาน
นางสาวแทตยาน่า ชูเมโลวา ผู้จัดการอาวุโสด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ Kaspersky Security Awareness กล่าวว่า "การพัฒนาระดับความรู้ทางดิจิทัลสิ่งจำเป็นแก่พนักงานองค์กรทุกขนาดและทุกอุตสาหกรรม เราให้ความสำคัญกับการที่พนักงานจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือในการเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลได้ แม้แต่ในองค์กรที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสูง เพื่อให้พนักงานสามารถระบุและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ และด้วยโมเดล on-premises ของแพลตฟอร์มฝึกอบรม Kaspersky Automated Security Awareness Platform จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงฟังก์ชันการใช้งานได้เทียบเท่ากับคลาว์เวอร์ชัน และยังมีจุดเด่นเพิ่มเติม คือ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาฝึกอบรมได้ แม้ไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต"