ทำไม?... ผู้หญิงถึงเสี่ยงเป็น "มะเร็งเต้านม"
สาเหตุหลัก ที่ผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนเพศหญิงนี้ทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ในเนื้อเยื่อเต้านมแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนขึ้น
ดังนั้นเซลล์เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนดังนั้น ถ้าเต้านมใครมีระยะเวลาการอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจนนาน ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม เช่น คนที่มีประจำเดือนครั้งแรกเร็วกว่าปกติ คือมีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี และหมดช้ากว่าอายุ 55 ปี คนที่ไม่มีลูก หรือมีลูกหลังอายุ 30 ปี จะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านม
อย่างไรก็ตาม มะเร็งเต้านมสามารถรักษาได้ หากพบและรักษาเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ดังนั้นการรู้ตัวก่อนว่ามีก้อนมะเร็งอยู่ในเต้านมจึงเป็นเรื่องสำคัญ การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อทำความคุ้นเคยกับเต้านม จะทำให้เราสามารถค้นพบสิ่งผิดปกติได้ง่าย แนะนำให้คุณผู้หญิง
- อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรสังเกตความผิดปกติและตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ
- อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ควบคู่กับการตรวจเต้านมโดยแพทย์ และตรวจเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์อย่างน้อยปีละครั้ง
การตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาหาย และป้องกันไม่ให้โรคร้ายลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ...
วิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเองและแมมโมแกรมเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม คลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/251
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลรามคำแหง >> https://bit.ly/3vzY4Xrโทร. 1512 ต่อ 2220, 2229Line Official : @ramhospital