BCG in Collaboration ตัวช่วย ธุรกิจยั่งยืน ยุคโลกร้อน

ข่าวทั่วไป Wednesday May 29, 2024 09:03 —ThaiPR.net

BCG in Collaboration ตัวช่วย ธุรกิจยั่งยืน ยุคโลกร้อน

การทำธุรกิจในยุคที่ต้องเอาจริงกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน ลดก๊าซเรือนกระจก ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ธุรกิจไทยไม่ว่าใหญ่หรือเล็กต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด และเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ส่วนจะทำอย่างไร

หลักสูตรอบรม ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 14 Leadership for Change LFC#14 : "BCG in Collaboration : เพิ่มคุณค่าธุรกิจ ช่วยเศรษฐกิจยั่งยืน" ซึ่งจัดโดยมูลนิธิสัมมาชีพ ถือเป็นอีกหลักสูตรที่จะให้ไอเดีย มุมมอง ไปปรับใช้ เพื่อจะได้รับมือกับความเสี่ยง ผลกระทบที่เข้มข้นขึ้น

ด้วยการนำแบบอย่างองค์ความรู้ด้าน BCG Economy หรือ Bio Economy, Circular Economy, และ Green Economy ขององค์กรธุรกิจตั้งแต่องค์กรชั้นนำของประเทศอย่างไทยเบฟ เอสซีจี มิตรผล บางจาก ไปจนกระทั่งตัวอย่างจากเอสเอ็มอี เอสอี ชุมชนท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จด้าน BCG  มาถ่ายทอดแนวคิด กลยุทธ์ ให้ได้ทราบกัน

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอัพเดทเกี่ยวกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงด้านธุรกิจ สิ่งแวดล้อม เทรนด์ใหม่ๆ ที่เร่งให้ทั้งโลกต้องขับเคลื่อนด้าน Green ด้าน BCG  มาให้ทราบกัน

ผู้เข้าอบรมยังจะมีโอกาสลงมือปฏิบัติจริงด้าน BCG กับพื้นที่ชุมชน ได้เรียนรู้ถึงหลักคิดสัมมาชีพ เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตการทำงาน

หลักสูตร ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 14 หรือ LFC14  นี้ ประกอบด้วย  9 โมดูล โดยโมดูลที่ 1 จะให้ภาพรวมของหลักสูตร ตั้งแต่หลักคิดสัมมาชีพจาก คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสัมมาชีพ ซึ่งจะปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "วิถีสัมมาชีพ สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่"

ปาฐกถาพิเศษ "Thailand in the New Global Landscape: BCG as Thailand New Growth Engine" โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ริเริ่มหลักคิดเรื่อง BCG  และเห็นว่า  BCG นี่แหละ คือทางรอดของประเทศไทย เพราะมิใช่แค่เรื่องการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดวิกฤติสิ่งแวดล้อม แต่ BCG ยังมีมิติทางสังคม การลดความเหลื่อมล้ำต่างๆ อีกด้วย

การบรรยายในประเด็น "โลกเดือด: ความหลากหลายทางชีวภาพที่หายไป" โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจะให้ภาพเหตุการณ์ปัจจุบันด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งถูกกระทบหนักหน่วง  และแน่นอนว่า ผลกระทบนี้จะย้อนกลับสู่ผู้คนบนโลกอย่างแน่นอน

อีกเนื้อหาสำคัญของหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง คือ การจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สำเร็จได้ ผู้นำจะต้องมีวิธิการอย่างไร ประเด็นนี้ คุณวิเชฐ ตันติวานิช ประธานคณะกรรมการสถาบันผู้นำ - นำการเปลี่ยนแปลง จะเป็นผู้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "Great Leader = Great Change"

Module 2 จะเป็นประเด็น "Leadership for Social Collaboration" หรือการรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับสังคม เริ่มด้วยปาฐกถาพิเศษ "สานพลัง สร้างชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจไทยแข็งแรง" โดย คุณเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองประธานกรรมการมูลนิธิสัมมาชีพ ซึ่งจะให้ภาพการพัฒนาชุมชน สร้างเศรษฐกิจไทยให้แข็งแรง เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย

คุณกฤษณ์ รุยาพร CEO Asia Pacific Innovation Center Co-Founder University of Happiness บรรยายพร้อมเวิร์คช็อปในหัวข้อ "Leadership for Social Collaboration" เพื่อให้เหล่าผู้นำได้หลอมรวมความแตกต่างมาสร้างเป้าหมายในการทำงานให้บรรลุ การจุดไฟความคิดด้าน BCG ไปจนถึงกิจกรรมที่จะสร้างความยั่งยืน และความสุข

ในเซสชั่นนี้ ยังมี คุณต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ กรรมการผู้จัดการและกรรมการบริหาร บริษัท ซี.เอ.ไอ. (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด หรือ C asean จะปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "Thaibev Sustainability:  Enabling Sustainable Growth" เพื่อให้เห็นกรณีศึกษาของไทยเบฟที่ผนวกการทำธุรกิจ งานชุมชน จนสร้างความยั่งยืนได้

โมดูลที่ 3 จะก้าวสู่เนื้อหา Bio Economy กับหัวข้อ Bio Economy : นวัตกรรมสร้างมูลค่า จากฐานชีวภาพ โดยจะเริ่มจากปาฐกถาพิเศษของ คุณมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิสัมมาชีพ ในหัวข้อ "BCG Economy : สร้างสัมมาชีพใส่ธุรกิจ" เพื่อให้มุมมองการประกอบอาชีพอย่างมีสัมมาชีพกับเศรษฐกิจ BCG ซึ่งแท้จริงแล้ว คือเรื่องเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีปาฐกถาพิเศษ "มิตรผล : จากฐานเกษตร สู่ Bio-based มูลค่าสูง" โดยคุณคมกริช นาคะลักษณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานองค์กรสัมพันธ์และบริหารองค์กร เพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล ที่จะบอกเล่าเส้นทางธุรกิจของมิตรผลจากอ้อย น้ำตาล มาสู่ธุรกิจที่เป็น New S curve ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานทดแทน อาหารสุขภาพ ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น

ตามด้วยการบรรยาย "สร้างป่า สร้างรายได้ สร้างสุข" โดย ดร.กิตติศักดิ์ โชติกิติพัฒน์  ผู้ก่อตั้งบริษัท แบมบูรีฟอร์ม จำกัด ซึ่งทำธุรกิจตั้งแต่ปลูกป่าไผ่ ไปจนถึงการต่อยอดแปรรูปไผ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย

โมดูลที่ 4 Participative BCG Project Management หรือการทำแผนพัฒนาธุรกิจด้าน BCG ซึ่งในคอร์สนี้ รศ.ดร.พัทรียา หลักเพ็ชร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย และอาจารย์ประจำคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จะบรรยายในหัวข้อดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังจะมีกิจกรรม BCG Matching ระหว่างชุมชนกับผู้อบรม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทำแผนพัฒนาด้าน BCG ก่อนลงพื้นที่จริง โดยชุมชนเหล่านั้นล้วนได้รับรางวัลต้นแบบสัมมาชีพของมูลนิธิทั้งสิ้น ประกอบด้วย จ.ส.ต.อนุวัช อินปลัด ผู้ก่อตั้ง บริษัท ไทยทิชชูคัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เจ้าของรางวัลเอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ ประจำปี 2566 คุณสมยศ ปาทาน  ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต วิสาหกิจชุมชนต้นแบบสัมมาชีพ ประจำปี 2566 คุณก่อคเณศ รุ้งสันเทียะ ปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบสัมมาชีพ ประจำปี 2566 และ คุณวิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เทิร์นทูอาร์ต จำกัด เอสเอ็มอีต้นแบบสัมมาชีพ ประจำปี 2566

ส่วนโมดูลที่ 5 จะเป็นการลงพื้นที่ปฏิบัติการด้าน BCG ณ ชุมชนบ้านคลองป่าไม้ หมู่ที่ 6 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งชุมชนเจ้าของพื้นที่ คือ สถาบันการเงินชุมชนบ้านคลองป่าไม้ ก็เป็นเจ้าของรางวัลวิสาหกิจชุมชนต้นแบบสัมมาชีพ เมื่อปี 2562 และในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมก็จะได้ร่วมกันวิเคราะห์ทุนชุมชน พร้อมวางแผนพัฒนาร่วมกันต่อไป

โมดูลที่ 6 จะเป็นประเด็น "Circular Economy : สู่โอกาสเศรษฐกิจใหม่" ที่จะผู้นำองค์กรต่างๆ จะมาบอกเล่าถึงแนวทางพัฒนาธุรกิจหมุนเวียนของตนเอง ประกอบด้วย คุณพงษ์ศักดิ์ จึงรุ่งเรืองวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป จำกัด ซึ่งจะบรรยายในหัวข้อ "PET Hero เปลี่ยนผู้ร้ายกลายเป็นพระเอก" คุณธรรมรัตน์ ประยูรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น ปาฐกถาพิเศษ "เชื้อเพลิงเครื่องบิน จากน้ำมันพืชใช้แล้ว" และ คุณสรศักดิ์ กีรติโชคชัยกุล Climate Affair Director บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย ปาฐกถาพิเศษ "Green Construction ก่อสร้าง ไม่สูญเสีย"

โมดูลที่ 7 "Green Economy : ธุรกิจยั่งยืน ยุคโลว์คาร์บอน" ในยุคที่การดำเนินธุรกิจแนวกรีนได้เกิดขึ้นหลากหลาย และมีความตื่นตัวสูง นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด เป็นอีกหนึ่งกรณีที่จะให้ข้อมูลในหัวข้อ "นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติ รักษ์สุขภาพ รักษ์โลก" ขณะที่ คุณเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ก็จะให้ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มโอกาสจากธุรกิจคาร์บอนเครดิต ในหัวข้อ "คาร์บอนเครดิต ธุรกิจกู้โลกร้อน"

โมดูลที่ 8 "ต่อยอด BCG ด้วยดิจิทัลและดีไซน์" เป็นอีกประเด็นที่จะช่วยเสริมต่อยอดให้ธุรกิจ BCG เป็นอย่างดี โดย คุณอำพน แปลงไธสง ผู้ก่อตั้ง LoCom และ Director of Strategy and Innovation AES-A Marketing Branding and Communication Service Provider และ คุณวิศิษฐ เจียปิยะสกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง LoCom, ที่ปรึกษาการสื่อสารการตลาด และสร้างแบรนด์ Reach Thailand จะร่วมกันบรรยาย พร้อมเวิร์คช็อปในหัวข้อ "Green Design/ BCG"

อาจารย์สุดถนอม รอดสว่าง หัวหน้าหลักสูตรการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนท์และสื่อคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ จะบรรยาย "Storytelling and Social Media Tools" เพื่อให้ทั้งชุมชนองค์กรธุรกิจสามารถนำองค์ความรู้ด้านสื่อดิจิทัล มาเพิ่มความไฮเทคให้กับธุรกิจตลอดจนการเล่าเรื่องราว

ส่วนโมดูลที่ 9 จะเป็นการนำเสนอแผนพัฒนาพื้นที่ต่อคณะกรรมการ พร้อมการให้ข้อเสนอแนะโดย คุณมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิสัมมาชีพ คุณลักคนา อนุพันธ์ ที่ปรึกษาด้านการเงิน SME D Bank และ รศ.ดร.สุภาวดี ขุนทองจันทร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและประกันคุณภาพ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นอกจากนี้ ยังจะมีปาฐกถาพิเศษ "ร่วมสร้างประเทศไทยให้ยั่งยืน Sustainable Thailand" โดย คุณสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก่อนจะก้าวสู่พิธีการรับประกาศนียบัตร

ในช่วงระหว่างการอบรมในระยะเวลาเดือนเศษนี้ ผู้เข้าอบรมยังจะมีโอกาสรับฟังเรื่องราวจากรุ่นพี่ LFC จากหลากหลายวงการ ในช่วง LFC Talks ไม่ว่าจะเป็น คุณประวิทย์ จิตนราพงศ์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด ประธานชมรมและสมาชิกผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง  LFC รุ่น 2 คุณมนทิรา เข็มทอง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย LFC รุ่น 3 คุณสมชาย อาภรณ์พงษ์ LFC10 ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และ SME Start up  ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.นครราชสีมา LFC  รุ่น 11 คุณอาทิตย์ เคนโสม Business Development Manager บริษัท นีโอพาวเวอร์เมด จำกัด LFC รุ่น 3 ดร.วิศรา ไชยสาลี นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร  สำนักงานพัฒนานาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ LFC 13 คุณสิทธิชัย พูลเอียด Planning and Performance Monitoring Foundation บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) EGCO Group LFC รุ่น 9

รวมไปถึงกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง LFC เรื่องของ BCG Economy อาจจะฟังดูเหมือนเกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดใหญ่เป็นหลัก แต่เมื่อกติกาการค้าโลกมาถึงบ้าน ไม่ว่าธุรกิจจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก กระทั่งชุมชนก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน

เรียนรู้จากกรณีศึกษา และร่วมมือกันทำ นี่คือ สิ่งที่หลักสูตร LFC14 มุ่งหวัง หลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 31 พ.ค. นี้ และเริ่มเรียน 15 มิ.ย. เป็นต้นไป


แท็ก โลกร้อน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ