นักเรียน ม.ปลายทั่วประเทศนับ 1,000 คน เข้าร่วมการแข่งขันวิชาการสาธารณสุข (Public Health Contest) "รอบชิงชนะเลิศ ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ" ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวิชาการสาธารณสุข (Public Health Contest) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย "รอบชิงชนะเลิศ ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ" ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา โดยมีนายศรีธรรม ราชแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานกล่าวเปิดงานและวางถ้วยประทานหน้าพระรูปศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ และคณะครู นักเรียน ม.ปลายจากโรงเรียนทั่วประเทศ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ ชั้น 9 ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผลการแข่งขันปรากฏว่า ผู้ที่สามารถคว้า "รางวัลชนะเลิศ ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ" ไปครองได้สำเร็จ พร้อมเกียรติบัตร เหรียญรางวัลและเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท ทั้ง 4 ประเภท มีดังนี้
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง คณบดีสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์กล่าวว่า "การจัดการแข่งขันวิชาการสาธารณสุข (Public Health Contest) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ประจำปี พ.ศ. 2567 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเกิดความตระหนักต่อความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวมทั้งการพัฒนาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะต่าง ๆ ด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ในฐานะสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขแห่งแรกในภาคใต้ ได้ตระหนักถึงบทบาทในการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีและถ่ายทอดความรู้นี้สู่เยาวชน เพื่อให้ดำรงความเป็นต้นแบบของการสร้างเสริมสุขภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และมีเยาวชนจากโรงเรียนทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 1,000 คน โดยการแข่งขันทั้ง 4 ประเภท ครอบคลุมประเด็นด้านสาธารณสุข ได้แก่ ด้านการป้องกันและควบคุมโรค ด้านการสร้างเสริมและดูแลสุขภาพในยุคดิจิทัล ด้านสุขภาพจิต และการป้องกันกลั่นแกล้ง (bullying) ด้านการออกกำลังกาย ด้านสิ่งแวดล้อม (อาหาร น้ำ อากาศ ขยะ) ด้านมลพิษอุบัติใหม่ ด้านสังคมผู้สูงอายุ ด้านความปลอดภัยทางถนน และความปลอดภัยในการทำงาน ด้านอุบัติภัยสาธารณะ ด้านบุหรี่ไฟฟ้า และสารเสพติด"