"โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของคนทั่วโลก" เป็นข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และยังมีประมาณการว่าในปี 2567 เป็นต้นไป โลกจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าปีละ 20 ล้านคน ขณะที่ในปี 2566 มีข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ในประเทศไทยจากกรมการแพทย์ พบว่ามีมากถึง 140,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 400 คนต่อวัน รวมถึงมีอัตราการเกิดมะเร็งในคนอายุน้อยเพิ่มขึ้น โดยสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการกินมากถึงร้อยละ 30-40
ด้วยความมุ่งมั่นของโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในการรักษาผู้ป่วยด้วยการบริการระดับพรีเมียม พร้อมประสิทธิภาพและเทคโนโลยีการรักษาพยาบาลขั้นสูงที่รวบรวมมาจากทั่วโลก เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคมะเร็งซึ่งคร่าชีวิตคนทั่วโลกจำนวนมากจึงได้มีการจัดตั้ง WMC New Frontier Cancer Center ศูนย์รักษามะเร็งทางเลือกใหม่ ที่ผสมผสานการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ขั้นสูง ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเพราะปัจจุบันมีผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเข้ารับการรักษาและกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนในครอบครัว
ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล กล่าวว่า การรักษาโรคมะเร็งทุกวันนี้ไม่ว่าจะรักษาดีแค่ไหนก็ตาม อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาก็ยังอยู่ที่ 1 ใน 6 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร ยังไม่รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ป่วยจำนวนมากที่รักษาโรคมะเร็งอาจเสียชีวิตเนื่องจากวิธีการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล เล็งเห็นความสำคัญของการแพทย์ทางเลือกและเชื่อว่าหากผสมผสาน 2 ศาสตร์การรักษาเข้าด้วยกันจะเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง รวมถึงยังเป็นการคิดค้นศาสตร์การรักษามะเร็งแบบใหม่ให้กับประเทศ และโรงพยาบาลฯ ยังมีการเสริมศักยภาพและทีมแพทย์มากความสามารถเพื่อความเป็นเลิศในการรักษาโรคมะเร็ง
ด้าน นพ.สมนึก ศิริพานทอง เลขาธิการสถาบันชีวโมเลกุลทางการแพทย์ ระบุว่า ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น โดยมีความพยายามในการวิจัยเพื่อหาคำตอบจากทาง มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา ซึ่งจากการศึกษามีการคาดการณ์ว่าผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะ Long COVID แทรกซ้อนขึ้นมา จะมีโอกาสในการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 ดังนั้น WMC New Frontier Cancer Center จึงจะเป็นที่เดียวที่จะตรวจภาวะ Long COVID ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อจะรักษาทั้งภาวะ Long COVID และโรคมะเร็งไปพร้อม ๆ กัน
ทั้งนี้ ในปัจจุบันโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในประชากรไทย ได้แก่ อันดับ 1 มะเร็งตับและท่อน้ำดี อันดับ 2 มะเร็งปอด อันดับ 3 มะเร็งเต้านม อันดับ 4 มะเร็งลำไส้และทวารหนัก อันดับ 5 มะเร็งปากมดลูก และหากมองภาพกว้างไปในประชาคมโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางถึงร้อยละ 70 คาดการณ์ว่าในปี 2573 ทั่วโลกจะมีคนตายจากโรคมะเร็ง ถึง 13 ล้านคนต่อปี หากทุกประเทศยังไม่มีมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ